วันพุธ, ธันวาคม 4, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมรพ.อุดรลุยเปิด“สมาร์ท อีอาร์”ก่อนสงกรานต์

รพ.อุดรลุยเปิด“สมาร์ท อีอาร์”ก่อนสงกรานต์

เลขาฯ สปสช.นำสื่อมวลชนดู รพ.ศูนย์ฯอุดรธานี ลดความแออัดคนไข้ด้วย คลินิกนอกเวลา-ร้านยาใกล้บ้าน และสมาร์ทห้องฉุกเฉิน แห่งแรกในประเทศไทย พร้อมเปิดให้บริการก่อนสงกรานต์ เหมือนได้ดูแลญาติในห้องฉุกเฉิน

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 8 มกราคม 2563 นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สนง.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) , ทพ.กวี วีระเศรษฐกุล ผอ.สนง.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 (สปสช.8) พร้อมคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลาง ติดตามผลการดำเนินโครงการ ลดความแออัดผู้มารับบริการ และห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน ของ รพ.ศูนย์อุดรธานี มี นพ.ณรงค์ ธาดาเดช ผอ.โรงพยาบาลฯ พร้อมคณะแพทย์พยาบาล นำดูพื้นที่จริงก่อนชี้แจงและตอบข้อซักถาม

นพ.ณรงค์ ธาดาเดช ผอ.โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เปิดเผยว่า โรงพยาบาลฯได้ดำเนินโครงการ เพื่อลดความแออัดผู้มาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการเปิด “คลินิกนอกเวลา” ในช่วงวันธรรมดา เวลา 16.00-20.00 น. ทำให้ผู้มารับบริการที่ติดภารกิจ นิยมมาใช้บริการแทนการต้องมารอ รวมทั้งมีกลุ่มข้าราชการ และกลุ่มอื่นมาใช้บริการเพิ่มขึ้น ลดความแออัดการมาใช้บริการได้ในระดับหนึ่ง

“ สำหรับโครงการร้านยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจ ผู้ป่วยในกลุ่มโรคเบาหวาน ความดัน หอบหืด มีร้านยาร่วมโครงการ 5 ร้าน ดำเนินการเมื่อ 1 ต.ค.62 โดยผู้ป่วยจะรับการตรวจจากแพทย์ รพ.อุดรธานี ก่อนที่จะมีใบสั่งยาราว 6 เดือน ผู้ป่วยจะมารับยาจากร้านใกล้บ้าน 1-2 เดือนต่อครั้ง มีผู้สนใจติดต่อมา 150 ราย แต่เมื่อมีการคัดกรองแล้วเหลือเพียง 50 ราย การติดตามสอบถามพึงพอใจ และยังพบผู้ป่วยจะได้ผลดีมากกว่ามารับยาที่ รพ. แต่ยังติดหลายเรื่องจึงใช้บริการน้อย ”

ผอ.โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี กล่าวด้วยว่า รพ.ได้แยกผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน มาตั้งวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา เป็นผู้ป่วยอาการหนัก หรือสีแดง รองลงมาก็เป็นสีชมพู และสีเหลือตามลำดับ ตามสภาพของห้องที่มีอยู่แล้ว เพื่อรอการปรับปรุงทั้งระบบ พร้อมอุปกรณ์การแพทย์เฉพาะ ที่จะเริ่มในวันที่ 17 มกราคมนี้ เพื่อใช้งานให้ทันในวันที่ 1 เมษายนนี้ หรือให้ทันกับเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะเป็น “สมาร์ท อีอาร์” แห่งแรกในประเทศไทย

“ รพ.อุดรธานี ใช้ค่าบำรุง 17 ล้านบาท ปรับปรุงห้องฉุกเฉินเดิม แบ่งสัดส่วนของห้องให้ชัดเจน ด้วยสีตามประเภทผู้ป่วย ห้องผู้ป่วยสีแดงมี 8 เตียง มีประตูทะลุไปสู่ห้องผ่าตัด ซึ่งเฉลี่ยมีผู้ป่วยวันละ 40 ราย , ห้องผู้ป่วยสีเหลืองมี 10 เตียง ซึ่งมีผู้ป่วยเฉลี่ยวันละ 48 ราย และห้องผู้ป่วยสีเหลืองมี 5 เตียง มีผู้ป่วยเฉลี่ยวันละ 81 ราย พร้อมกับประตูระบบ 2 ชั้น จัดห้องพักคอยญาติ ไม่อนุญาตให้เข้าไปในห้องฉุกเฉิน ”

นพ.ณรงค์ ธาดาเดช ผอ.โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เปิดเผยอีกว่า รพ.ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ ที่เราเรียกว่า “สมาร์ท อีอาร์” โดยข้อมูลของผู้ป่วย การตรวจรักษา ความคืบหน้าอาการ และอื่นๆ จะถูกเก็บไว้ในระบบเพื่อการรักษา ติดตามอาการผู้ป่วยตลอดเวลา และมีข้อมูลสำหรับญาติผู้ป่วย ที่สามารถมารับคิวอาร์โค้ด เปิดติดตามอาการทางสมาร์ทโฟนได้ เหมือนกับได้ดูแลญาติในห้องฉุกเฉิน ยังลดการเผชิญหน้าของสองฝ่ายด้วย

ผอ.โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เปิดเผยด้วยว่า ปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบาล เกิดขึ้นมาในสถานพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งก็เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ทั้งผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ใช้ความรุนแรงจากความไม่พอใจ หรือการตามมาทำร้ายร่างกาย หรือล้างแค้นในโรงพยาบาล หลายเดือนก่อนเกิดขึ้นติดต่อกัน 6 ครั้ง จากการขอความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทำให้มีการตั้ง “สถานีตำรวจชุมชน รพ.อุดรธานี” มีตำรวจแวะเวียนมาต่อเนื่อง ไม่เคยเกิดความรุนแรงแม้แต่ครั้งเดียว

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า นโยบายรัฐบาลต้องการให้ประชาชน ได้รับบริการด้วยความพึงพอใจ จากการสำรวจเราพบว่าประชาชน “รู้สึก” แออัด รอนาน อยากได้ความสะดวก ระบบบริการนอกโรงพยาบาล โครงการร้านยาใกล้บ้าน ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาก่อน ที่ตัวเลขยังต่ำกว่าเป้าหมาย และยังมีอีกหลายโครงการจะตามมา อาทิ แล๊ป , คลีนิกพยาบาล , กายภาพบัด หรืออื่นๆ ซึ่งจะต้องรอความชัดเจน

“ โครงการแยกผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน เพราะที่ผ่านมาไม่มีการแยก จึงมาเริ่มกันก่อนที่ รพ.ศูนย์ทั่วประเทศ ผู้ป่วยอาการหนัก ปานกลาง และไม่รุนแรง ก็จะถูกแยกออกเพื่อการดูแลรักษา ซึ่งรัฐบาลก็ให้งบตามที่ สปสช.ขอรายละ 150 บาท โดยมีการกำหนดมาตรฐานแล้ว ก็มีหลายโรงพยาบาลขอเบิกขึ้นมาแล้ว ติดขัดอยู่บ้างยังไม่ ส่วนเรื่องสถานที่และอุปกรณ์ ส่วนกลางจะเป็นผู้พิจารณาให้ ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments