วันอังคาร, ธันวาคม 3, 2024
Google search engine
หน้าแรกการเมืองเอกชนอุดรฯพร้อมดันทุกโครงการเสนอ “นายก”ระหว่างลงพื้นที่อีสานบน 8 – 9 ก.ย.

เอกชนอุดรฯพร้อมดันทุกโครงการเสนอ “นายก”ระหว่างลงพื้นที่อีสานบน 8 – 9 ก.ย.

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 6 กันยายน 2566 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตต์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายศรัณย์ศักดิ์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 มีนายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จ.อุดรธานี ร่วมประชุม โดยมีรองผู้ว่าฯ ประธานหอการค้า สภาอุตสาหกรรม จ.หนองบัวลำภู , เลย , หนองคาย และบึงกาฬ ร่วมประชุมผ่านระบบทางไกล

นายศรัณย์ศักดิ์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี แจ้งว่า มีกำหนดการนายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีหลายท่าน เดินทางลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายนนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ก็กำลังเตรียมข้อมูล ซึ่งอุดรธานีก็ตั้งทีมงานมาเช่นกัน รวมทั้งข้อมูลของภาคเอกชน ที่เคยเสนอผ่านช่องทาง กรอ. โดยเฉพาะการเตรียมงาน “มหกรรมพืชสวนโลก” 1 พ.ย.69-14 มี.ค.70 ที่ภาคเอกชนริเริ่มเสนอขึ้นมา จนรัฐบาลให้กรอบวงเงินมา ก็มีคนมาทักท้วงเรื่องใช้เงินไป 6-700 ล้าน ทั้งที่มีเพียงว่าจ้างที่ปรึกษาไป 50 ล้านบาทเศษเท่านั้น

นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า เราขับเคลื่อนงานมหกรรมพืชสวนโลก มาตั้งแต่ก่อนสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะจ้างที่ปรึกษามาทำเอกสาร รูปแบบงาน ประมาณการงบประมาณ ผลทางเศรษฐกิจจะได้รับ และอื่น ๆ โดยเอกชนก็ร่วมลงขันกับหลายฝ่ายกว่า 500,000 บาท ขณะที่การเดินทางไปเสนอขอจัดงานที่ต่างประเทศ ภาคเอกชนก็ใช้เงินส่วนตัวทั้งสิ้น การออกมาตั้งข้อสังเกต และการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ท่านฯผู้อภิปรายมีข้อมูลไม่ถูกต้องนัก รู้สึกไม่สบายใจมากในเรื่องนี้

ซึ่งที่ประชุมรายงานว่า การขอใช้พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด อ.เมืองอุดรธานี 1,005 ไร่ มีระเบียบขั้นตอนปฏิบัติพิเศษ การจะขอใช้พื้นที่จะต้องขอ “ยกเว้นระเบียบ” จากคณะรัฐมนตรี ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทำรายงาน การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (ไออีอี.) ระหว่างนี้ได้ขอเข้าสำรวจพื้นที่ เพื่อออกแบบและทำแผนปฏิบัติการณ์ ขณะที่ที่ปรึกษาออกแบบผังแม่บท ได้ตรวจรับมอบงานไป 1 งวด และจะตรวจงวดที่ 2 สิ้นเดือนนี้ เมื่อผ่านการตรวจงานงวด 3 จะใช้ผลงานไปขอรับงบประมาณได้ ทั้งหมดเตรียมรายงานให้นายกฯและ รมต.ทราบ

ทั้งนี้คณะกรรมการจากภาคเอกชน ขอให้ที่ประชุมติดตามความคืบหน้า มติคณะรัฐมนตรีนอนสถานที่ จ.เพชรบูรณ์ และหนองคาย โครงการเพิ่มศักยภาพสนามบิน จ.อุดรธานี และสนามบิน จ.เลย ที่ไม่มีความคืบหน้ามานานแล้ว ไม่รู้ว่าอุปสรรคเกิดขึ้นจากอะไร ระหว่างอาคารผู้โดยสาร หรือการขยายรันเวย์ ขอให้ที่ประชุมสรุปความคืบหน้า รายงานให้นายกรัฐมนตรีฯ และ รมว.คมนาคม ในโอกาสเดินทางมาในพื้นที่ด้วย

พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ได้รับการประสานจาก ส.ส.ในพื้นที่ ภาคเอกชนอุดรธานีจะได้ร่วมเดินทางไปกับ “ขบวนรถไฟ” จากสถานที่อุดรธานีไปสถานีหนองคาย และจะมีโอกาสนำเสนอโครงการ หรือแผนงาน กับนายกรัฐมนตรี รวมทั้งรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ ซึ่งเรื่องจะเสนอจะเป็นเรื่องเดิม ที่เคยเสนอผ่านช่อทาง กรอ.ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับ

“ เริ่มจากสนามบินอุดรธานี ตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีข่าวการถ่ายโอนการบริหาร จากกรมท่าอากาศยานไปเป็น บ.ท่าอากาศยานไทย จก.(มหาชน) สนามบินอุดรธานีไม่ได้งบเพิ่มศักยภาพ แผนการพัฒนาหยุดชงักไปหมด มีเพียงงบการบริหารเท่านั้น ทำให้อุดรธานีเสียโอกาสมาก จากที่เราติดตามศึกษา และการประชุมกับภาคธุรกิจการบิน เห็นได้ชัดว่าการโอนการบริหาร ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดของสนามบินอุดรฯ อยากจะให้กลับมาเริ่มใหม่ ศึกษากันอย่างเปิดเผย ”

ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี กล่าวต่อว่า เรื่องรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง จะต้องเร่งรัดมากขึ้น โดยเสนอโครงการรถไฟทางคู่ ขอนแก่น-หนองคาย ให้สร้างจาก 2 ทางพร้อมกัน คือจากขอนแก่นมาอุดรธานี และจากหนองคายมาอุดรธานี ส่วนปัญหา “ทางพาดรถไฟบ้านจั่น” หรือตัดกับถนนทางหลวง 216 ที่ภาคเอกชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคประชาชน คัดค้านรูปแบบของการรถไฟ ที่รถไฟทางคู่ยังคงอยู่บนดิน โดยอยากให้ยกขึ้นเหมือนรถไฟความเร็งสูง

พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี กล่าวด้วยว่า อยากจะเสนอให้กระจายอำนาจ ในส่วนของกรมการขนส่งทางบก ออกมาในส่วนภูมิภาคมากขึ้น ในประเด็นการกำหนดเส้นทางเดินรถโดยสาร ที่อำนาจยังคงอยู่ที่ส่วนกลาง การจะแก้ไขปรับปรุงล่าช้าไม่ทันกาล ยกตัวอย่างที่อุดรธานี แผนศึกษารถเมย์ปรับอากาศของ สนข. 6 สาย ขั้นตอนแรกอุดรฯทำเส้นทาง-ผ่าน กก.ระดับจังหวัด-ส่งเข้าไปให้ส่วนกลางพิจารณา-พิจารณาแล้วส่งกลับมาให้จังหวัดทำประกาศ-ส่งไปให้ส่วนกลางประกาศราชกิจจา-จังหวัดจึงจะประกาสหาผู้ลงทุนได้-และหากปรับปรุงเส้นทาง ก็ต้องทำตามขั้นตอนเดิมอีก…

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments