วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรขอทางรถไฟความเร็วสูงข้ามเมือง 6 กม.

อุดรขอทางรถไฟความเร็วสูงข้ามเมือง 6 กม.

รถไฟความเร็วสูงควง 8 บ.ที่ปรึกษา ชี้แจงชาวอุดรธานีศึกษาออกแบบ หลังลงตัวรับเฉพาะผู้โดยสาร ความเร็วลดจาก 300 เหลือ 250 กม./ชม การเวนคืนที่ดินลดลง ไม่ติดขัดคาดเดินรถได้ปี 70 ขณะผู้ว่าฯนำเสนอแนะ 8 ข้อ

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ห้องประชุมสบายดี ชั้น 4 อาคาร 2 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมพบปะเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้น โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย จากนายสุวัฒน์ กันภูมี หน.แผนกบริหารทั่วไป ศูนย์บริหารโครงการพิเศษ การรถไฟแห่งประเทศไทย นำคณะ 8 บริษัทที่ปรึกษาชี้แจง มีผู้บริหาร อปท. , หอการค้า , สภาอุตสาหกรรม และหน่วยงานภาครัฐ ร่วมรับฟังและซักถาม

นายวรนิติ ช่อวิเชียร ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ นำคณะที่ปรึกษาชี้แจงว่า โครงการนี้ สนง.นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น และทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ.) ไปแล้ว ขณะที่จีนก็เข้ามาศึกษาออกแบบเช่นกัน จนต้นปี 2561 ได้นำเอาผลการศึกษาทั้ง 2 ฝ่ายมาพิจารณา แล้วนำผลที่ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา มาศึกษาออกแบบรายละเอียด ประมาณค่าก่อสร้าง ทำเอกสารประมูล ทำ อีไอเอ. และสำรวจจัดทำ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน

โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. ขนาดทาง 1.435 ม. (Standard Gauge) มี 5 สถานี คือ บัวใหญ่ , บ้านไผ่ , ขอนแก่น , อุดรธานี และหนองคาย มีหน่วยซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง คือ บ้านมะค่า , บ้านไผ่ , โนนสะอาด และหนองคาย , โรงซ่อมบำรุงเบา สถานีขนถ่ายสินค้า สถานีหนองคาย รูปแบบบริการเฉพาะโดยสาร ด้วยความเร็วสูง 250 กม./ชม. ความยาวขบวน 200 ม.ความจุสูงสุด 600 คน

การออกแบบคันทางรถไฟ เป็นคันทางดินตัด คันทางดินถม สะพานรถไฟช่วงสั้น-ปานกลาง-ยาว การออกแบบจุดตัดเป็น สะพานรถไฟข้ามถนน , สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ , ทางลอดทางรถไฟ และถนนบริการข้างทางรถไฟ โดยย่านชุมชนจะยกทางขึ้นสูง สำหรับงานออกแบบ 5 สถานี ตัวอาคารและการใช้ประโยชน์จะเหมือนกันทุกแห่ง แต่จะแตกต่างที่สถาปัตยกรรม อาทิ สถานีอุดรธานีที่จะสร้างใกล้จุดเดิม จะเป็นลวดลายดินเผาบ้านเชียง

จากรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิม และความเร็วลดลงจาก 300 กม./ชม. เป็น 250 กม./ชม. สามารถปรับลดรัศมีโค้ง 14 แห่ง เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชน และลดค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดิน โดยช่วงผ่านอุดรธานีมี 6 จุด ประกอบด้วย อ.โนนสะอาด 1 จุด , อ.กุมภวาปี 3 จุด , อ.เมือง 1 จุด อ.เพ็ญ 1 จุด (ไม่มีรายละเอียด) ส่วนการศึกษาทำ อีไอเอ. จะยึดแนวทางของ อีไอเอ.เดิม ในรัศมี 500 ม. หากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบก็จะทำเพิ่มเติม เป้าหมายจะสามารถใช้งานได้ปี 2570

ผู้เข้าร่วมรับฟังคำชี้แจง ได้เสนอหลายประเด็น 1.ขอให้อนุรักษ์สถานีเดิมไว้ , 2.ขอการมีส่วนร่วมในการออกแบบสถานี โดยแบบร่างยังไม่ตอบโจทย์ , 3.ขอให้ยกระดับทางรถไฟข้ามเมืองอุดรธานี ระยะทางราว 6 กม. , 4.ขอชี้แจงรายละเอียดการเวนคืนที่ดิน 6 จุด ในการประชุมครั้งต่อไป , 5.ขอให้ดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ระหว่างและหลังก่อสร้าง โดยการตรวจสุขภาพประชาชน ก่อนจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง พร้อมเฝ้าระวังสุขภาพแรงงานนำเข้า , 6.ขอให้มีการศึกษาออกแบบพื้นที่พีดเดอร์ รองรับขนส่งมวลชนที่ สนข.ได้ศึกษาไว้แล้ว และ 7.ขอให้โครงการสื่อสารกับพื้นที่มากขึ้น

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวตอนท้ายว่า ประชาชนภาคอีสานตอนบน 5 จว. ได้เสนอต่อการประชุม ครม.สัญจร อยากให้การก่อสร้างไม่ใช่เพียงจากต้นทางมาปลายทาง แต่อยากจะให้ก่อสร้างจากปลายทาง ย้อนกลับไปต้นทางพร้อมๆกัน ซึ่งจะส่งผลดีกับเศรษฐกิจชายแดนไทย-ลาว ที่ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวชาวจีน เดินทางเข้ามาประเทศไทย ผ่าน สปป.ลาวมากขึ้น หากไม่มีปัญหาทางเทคนิค ก็อยากให้ดำเนินการ….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments