วันพุธ, พฤษภาคม 1, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมเปิดแผนแบ่งน้ำ“ห้วยหมากแข้ง”แก้น้ำท่วมนครอุดรฯ

เปิดแผนแบ่งน้ำ“ห้วยหมากแข้ง”แก้น้ำท่วมนครอุดรฯ

กรมโยธาธิการ ว่าจ้าง 2 ที่ปรึกษาออกแบบ ระบบป้องกันน้ำท่วม และระบบระบายน้ำหลัก บรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน และพัฒนาเมืองซับน้ำ พื้นที่นครอุดรธานี ไม่รู้ว่าเสียงบไปเท่าไหร่ ซึ่งทั้งสองก็เกี่ยวกัน “น้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ 47.7 ตร.กม.” โดยที่ปรึกษาที่ 1 เสนอแผนแบ่งน้ำห้วยหมากแข้ง ระบายออกไปคลองป้องกันน้ำท่วมตะวันออก

(3ก.ค.66) ที่ห้องประชุมเวสสุวัณ อาคารพัชรกิตติยาภา ทน.อุดรธานี นายพรเทพ ศรีวรานันท์ โยธาธิการและผังเมืองอุดรธานี เปิดประชุมชี้แจงครั้งที่ 2 การจ้างออกแบบงานก่อสร้างศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบรายละเอียดระบบป้องกันน้ำท่วม และระบบระบายน้ำหลัก เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง , จนท.ทน.อุดรธานี และผู้นำชุมชนใน ทน.อุดรธานี เข้าร่วมประชุม

รศ.ชัยวัฒน์ ฉลองการนาวี วิศวกรชลศาสตร์และแหล่งน้ำ บ.ที่ปรึกษา ชี้แจงรายละเอียดว่า นครอุดรธานีเคยเกิดน้ำท่วม และมีการแก้ไขแต่นานมาแล้ว โดยการจัดการน้ำภายนอกยังใช้ได้ดี จึงทำการศึกษาเฉพาะน้ำภายใน เป้าหมายคือจะทำอย่างไร น้ำภายในไม่ล้นลำห้วย โดยลำห้วยหลายจุด มีสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ โดยการศึกษาเบื้องต้น มีทั้งการก่อสร้างระบบ และการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะได้นำมาเสนอรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำไปพิจารณา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คำนวนมาจากมีปริมาณน้ำฝนตก 60 มม.ต่อ ชม.

ส่วนแรกการศึกษาออกแบบการระบายน้ำหลักที่ จะไม่ไปแตะพื้นที่หนองประจักษ์ฯ และโดยรอบ ที่มีหลายส่วนงานเข้าไปทำอยู่แล้ว แผนที่ 1 เป็นการคิดร่วมกับ ทน.อุดรธานี การแบ่งน้ำจากห้วยหมากแข้ง บริเวณสะพานใกล้อนุสาวรีย์ บนถนนศรีสุข จะเจาะอุโมงค์น้ำขนาด 2.60 ม. ผ่านอนุสาวรีย์ฯ-มาตามถนนโภคานุสรณ์-เลี้ยวขวามาตามถนนโพศรี-เลี้ยวซ้ายเข้าหนองบัววังมัจฉา ทั้งแบบสูบ และไม่สูบ (คุณภาพน้ำเจือจางลง 5 เท่า ) -วางท่อจากหนองบัวฯต่อไปที่หนองเหล็กขนาด 2.40 ม.-สูบน้ำออกไปลงคลองป้องกันน้ำท่วมตะวันออก ขนาด 3 ลบม./วินาที 3 เครื่อง

แผนที่ 2 แบ่งน้ำจากห้วยหมากแข้ง บริเวณสะพานกลางซอยจินตคาม ไหลมาตามท่อมาที่ปากซอยด้านถนนทหาร-เลี้ยวขวาตามตามถนนทหาร-เลี้ยวซ้ายเพื่อลงไปยังห้วยมั่ง ขนาด 2.40 ม. (ผ่านทางเลือก อาทิ ซอยปานใจ , ซอยมหามิตร และซอยบุญยังอุทิศ)-สร้างประตูควบคุม เพื่อบริหารจัดการน้ำไหลย้อนกลับไป-วางท่อตามซอยสมิตตะโยธิน ไปลงคลองระบายน้ำขนานทางรถไฟ (เปลี่ยนรางคางหมูเป็นรางยู)-ส่งต่อไปยังหนองบัววังมัจฉา

ส่วนที่สองศึกษาออกแบบ การระบายน้ำรองแก้ปัญหาเฉพาะจุด ที่ผู้ศึกษาจะศึกษาความเป็นไปได้ ออกแบบประมาณการงบประมาณ แต่ ทน.อุดรธานี ซึ่งเป็น อปท.ขนาดใหญ่ จะต้องงบประมาณของตนเองก่อน ประกอบด้วย ถนนพิบูลย์ , ชุมชนมิตรประชา , ชุมชนมธุรส , หมู่บ้านแวน์ซาย , หมู่บ้านกรีนแลนด์ , ชุมชนหนองเล็ก 6 , ชุมชนหนองบัว 6 , ชุมชนวัดดงอุดม , ชุมชนเลียบทางรถไฟ , ซอยวุฒิอนันท์ , ซอยบุตรสมบัติ และ รร.บ้านม่วง

ขณะที่มีข้อทักท้วงจาก สนง.ชลประทาน จ.อุดรธานี และ ทน.อุดรธานี ในเรื่องของระดับน้ำสูง-ต่ำ จากถนนศรีสุข ผ่านอุโมงค์น้ำ-หนองบัววังมัจฉา-หนองเหล็ก-คลองระบายน้ำรอบเมือง มีความแตกต่างน้อยการระบายน้ำจะล่าช้า และการระบายน้ำออกจาก ทน.อุดรธานี เพื่อแก้ไขน้ำท่วมในชุมชน น่าจะต้องศึกษาออกแบบการแก้ไข น้ำที่ไหลบออกไปจะต้องไม่กระทบ อปท.ข้างเคียง และเสนอให้ผู้ศึกษาพิจารณาเรื่อง “บ่อหน่วงน้ำ” ที่ปรึกษารับจะนำไปพิจารณา

แผนการแบ่งน้ำจากห้วยหมากแข้ง ให้ระบายออกจาก ทน.อุดรธานี ในช่องทางอื่นเพิ่มเติม หากระบายได้จริงสูงสุด 9 ลบม./วินาที น่าจะเร่งระบายน้ำจากผิวถนน ลงไปสู่ลำห้วยหมากแข็งได้เร็วขึ้น แต่ก็ยังมีความเป็นห่วงว่า ระดับน้ำที่ห้วยหมากแข้ง กับปลายที่หนองบัววังมัจฉา กับหนองเหล็ก จะเป็นอุปสรรคหรือไม่ รวมไปถึงการต้องตัดสินใจเลือก แผน 1 หรือ แผน 2

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments