วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมทางต่างระดับอุดร-หนองคายเสร็จก่อนปีใหม่

ทางต่างระดับอุดร-หนองคายเสร็จก่อนปีใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2562 ถึงความคืบหน้าการก่อสร้าง ทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี (ด้านเหนือ) หรือทางแยกต่างระดับอุดรธานี-หนองคาย ทางแยกสามระดับ ปกติ-อุโมงค์-ทางข้าม แห่งแรกในภาคอีสาน วงเงิน 1,048 ล้านบาท ระยะเวลา 900 วัน ที่จะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 30 กันยายน 2562 โดยผู้รับจ้างขอขยายสัญญา 2 ส่วน คือ 2. คำสั่งหยุดงานในช่วงเทศกาล 48 วัน และ 2. การย้ายสิ่งสาธารณูปโภคล่าช้า

นายสุเทพ บุณตะโก นายช่างควบคุมโครงการฯ กรมทางหลวง เปิดเผยว่า การก่อสร้างมีความคืบหน้า ต่ำกว่าแผนงานเล็กน้อย โดยในส่วนของงานโครงสร้าง ความคืบหน้าเกินกว่าแผน ส่วนการก่อสร้างและตกแต่ง มีความล่าช้าในหน้างาน แต่มีการเตรียมกาลไว้แล้ว โดยผู้รับจ้างได้ขอขยายเวลา 2 ส่วน ซึ่งกรมฯอยู่ระหว่างพิจารณา ยังไม่มีคำสั่งให้ขยายเวลา หากมีการขายเวลาเชื่อว่า งานจะเสร็จใช้งานได้ช่วงฉลองปีใหม่แน่นอน

“ สำหรับการปรับรูปแบบสถาปัตยกรรม และประติมากรรม ให้สอดรับกับศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของท้องถิ่น คณะทำงานตั้งโดยผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ได้ประสานกันอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดลงตัวแล้วในบางส่วน อาทิ ผนังภายในอุโมงค์ ได้ส่งไปตรวจการซับเสียง และแสงสะท้อน ไม่น่ามีปัญหา ที่ยังคงต้องรอสรุปแบบ คือ ปติมากรรมไหนบ้านเชียงตามเสา และเสาไฟแสงสว่างสะพานข้าม ส่วนปติมากรรมทางเข้าออกอุโมงค์ จะมีการก่อสร้างภายหลัง ”

นายธนัชชัย สามเสน อดีตประธานหอการค้า จ.อุดรธานี ในฐานะ หน.คณะทำงานกลุ่มศิลปินอาสาอุดรธานี เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้พร้อมกับกลุ่มศิลปินจิตอาสา ได้ลงไปดูพื้นที่จริงสถานที่ก่อสร้าง เพื่อเตรียมสรุปงานก่อนการประชุมใหญ่ 19 กรกฎาคมนี้ โดยที่สรุปไปแล้ว คือ ผนังภายในอุโมงค์จะเป็น ลายขันหมากเบ็งในผ้าขิด ส่วนที่เหลือรอแบบสมบูรณ์ คือ ผนังก่อนเข้าอุโมงค์ จะต้องเพิ่มเติมด้วย “ปติมากรรมดอกจาน” เช่นเดียวกันโคมไฟในทางข้าม

“ สำหรับเสาสะพานทางข้าม จะนำเอกลักษณ์ไหบ้านเชียงมาใช้ ได้ออกแบบแล้วแต่ยังไม่สรุป น่าจะสรุปได้เร็วๆนี้ และส่วนที่สำคัญคือ ปติมากรรมเด่น 2 จุด บริเวณทางขึ้น-ลงอุโมงค์ ฝั่งนครอุดรธานี และฝั่งตรงข้าม ที่แบบร่างจะเป็นท้าวเวสสุวัณ องค์เทพปกปักรักษาอุดรธานี ยังไม่ลงตัวจะใช้รูปลักษณ์ใด และอีกด้านที่จะเป็นปติมากรรมบ้านเชียงร่วมสมัย สรุปรูปแบบแล้วแต่รอความสมบูรณ์ จังหวัดเห็นว่าให้กำหนดจุดที่ตั้ง โดยจะสร้างขึ้นภายหลัง ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments