วันจันทร์, ธันวาคม 2, 2024
Google search engine
หน้าแรกธุรกิจซีพี ออลล์ ปักหมุดลงทุนในนิคมอุตอุดร

ซีพี ออลล์ ปักหมุดลงทุนในนิคมอุตอุดร

ผู้ว่าการ กนอ.จูงมือบอร์ดฯ ดูนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี พบ“ซีพี ออลล์”ซื้อพื้นที่แปลงใหญ่ 40 ไร่แล้ว มั่นใจระบบขนส่งทางรางสดใส เชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง-ลาว-จีน

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นำคณะกรรมการฯ พร้อมนายวิริศ อัมระปาน ผู้ว่าการ กนอ. เดินทางติดตามความคืบหน้า “นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี” ต.โนนสูง อ.เมือง อุดรธานี ดำเนินการโดย บ.เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จก. มีนางอรพิณ พิพัฒน์วิไลกุล รองประธานกรรมการ และนายพิสิษฐ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการ ร่วมประชุมให้ข้อมูลและเดินทางดูพื้นที่จริง

นายพิสิษฎ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการฯ ชี้แจงว่า นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีมีพื้นที่ 2,219 ไร่ พัฒนาระยะแรก 1,325 ไร่ กำลังเริ่มพัฒนาระยะที่สอง ล่าสุด กนอ.เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลง เขตอุตสาหกรรมทั่วไปเป็นเขตอุตสาหกรรมเสรี 267 ไร่ เพื่อขอจัดตั้งเป็นเขตปลอดภาษี พื้นที่มีศักยภาพสูง ติดกับทางรถไฟที่จะพัฒนาเป็นรถไฟทางคู่ และความเร็วสูง ใกล้กับถนนมิตรภาพ และห่างจากสนามบินเพียง 13 กม.

“ การพัฒนาสิ่งสาธารณูปโภคไปมากกว่า 90 % มีสถานีไฟฟ้าย่อยของ กฟภ.ขนาด 115 เควี. , ปักเสาพาดสายติดตั้งไฟส่องสว่าง ไปตามถนนสายหลัก-สายรอง เหลือเพียงถนนสายย่อย มีการวางท่อประปา ท่อน้ำฝน และท่อน้ำเสีย แยกจากกันขนานกับถนน , สถานีผลิตน้ำประปา 8,500 ลบม./วัน พร้อมบ่อหน่วงน้ำ 1 ล้าน ลบม. , ระบบบำบัดน้ำเสีย 5,500 ลบม./วัน และกำลังก่อสร้างอาคารบริการครบวงจร ”

นายพิสิษฎ์ พิพัฒน์วิไลกุล กล่าวต่อว่า นอกจากพื้นที่อุตสาหกรรมทั่วไป , ยังมีพื้นที่เพื่อสร้างโรงงานขนาดเล็กให้เช่า , พื้นที่ฟรีโซนปลอดภาษี , ศูนย์รับส่งสินค้า (CY) อาคารแวร์เฮ้าส์ ลานวางตู้คอเทเนอร์ จุดชาร์ทเพื่อควบคุมอุณหภูมิ และ ICD เชื่อมกับการขนส่งระบบราง ที่การรถไฟได้รับงบกลางจากรัฐบาล 75 ล้านบาท สร้างจากสถานีหนองตะไก้ มาจ่อทางเข้านิคมฯ ส่วนรางภายในเอกชนดำเนินการเอง คาดจะแล้วเสร็จต้นปี 67

นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ พร้อมผู้บริหารของ กนอ.ตั้งใจเดินทางมาที่อุดรธานี เพื่อติดตามนิคมอุตสาหกรรมฯ ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน ว่ามีกลยุทธหรือแนวทางสอดรับกับแนวทาง การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนืองรัฐบาลหรือไม่ รวมทั้งมาดูว่าการพัฒนาไปถึงไหนแล้ว ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่ต้องการให้ กนอ.ช่วยเหลือด้านใดบ้าง โดยเฉพาะเรื่องระดับนโยบายที่ยังค้างอยู่

“ ที่ภาคเอกชนร้องขอก็มีอยู่ 5-6 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิประโยชน์ , การฝึกอบรมเทคโนโลยีใหม่ๆ , ระบบโลจีสติก รวมไปถึงเรื่องสมาร์ทแอร์เรีย ซึ่งกำลังเป็นเทรนใหม่ในทุกวงการ ด้วยการใช้เทคโนฯที่เหมาะสม ให้ประชาชนร่วมตรวจสอบ เรื่องของสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะมองไม่เห็นผลตอนแทนตรง แต่จะเป็นผลตอบแทนจากทางอ้อมมากกว่า บางเรื่อง กนอ.สามารถช่วยได้ทันที บางเรื่องจะได้ประสานไปยังหน่วยที่รับผิดชอบโดยตรง ”

ประธานกรรมการ กนอ. กล่าวต่ออีกว่า แผนการพัฒนาของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ครอบคลุมค่อนข้างเยอะ เป็นทั้งการประกอบอุตสาหกรรม , ไอซีดี. , ลานคอนเทเนอร์ , บรรจุ , ขนส่ง โดยเฉพาะระบบราง ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแผนจะสร้างรางรถไฟเข้ามาแล้ว ส่วนตัวคิดว่าระบบขนส่งทางรางถือเป็นจุดสำคัญ ที่จะเชื่อมไปยัง สปป.ลาว ประเทศจีน หรือแม้แต่ท่าเรือ ได้โดยง่ายและประหยัดค่าขนส่งได้ดี

“ เราเคยศึกษาการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม จากท่าเรือแหลมฉบับผ่านขึ้นมาถึงอุดรธานี หนองคาย เราก็อยากจะเห็นนิคมอุตสาหกรรม อยู่สองข้างรายทางขึ้นมา รวมไปถึงการทำท่าเรือบก ก็คล้ายของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ซึ่งในระยะกลางไปจนถึงยาว ที่นี่ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ วันนี้พัฒนาไปแล้ว 90 % ยังไม่เปิดขายเป็นทางการ แต่ก็มีลูกค้าเข้ามาจับจอง 6 ราย รวมทั้งรายใหญ่ “ซีพี ออลล์” ซึ่งก็เชื่อว่าจะมีรายใหญ่อื่นตามกันมา กนอ.จะเข้ามาช่วยการตลาด ร่วมกับเอกชนไปโรดโชว์ เป็นนิคมอุตสาหกรรมเดียวในภาคอีสาน ที่สามารถขายพื้นที่ได้แล้ว…

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments