วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมผอ.รพ.อุดรธานีแจงไม่ทิ้งคนไข้แค่เข้าใจผิด

ผอ.รพ.อุดรธานีแจงไม่ทิ้งคนไข้แค่เข้าใจผิด

ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี รับบทหนัก หลังรับตำแหน่งไม่ถึงเดือน นัดสื่อชี้แจงเหตุปฏิเสธคนไข้ เป็นเพียงเรื่องเข้าใจผิดเท่านั้น ยืนยันรับผู้ป่วยตกสิทธิทุกราย เฉลี่ยปีละ 100 ราย วงเงิน 2 ล้านบาท ส่วนรายที่มีปัญหาผ่าตัดแล้ว 2 แสนเศษ พักรักษาอีก 2 เดือน รพ.ควักกระเป๋าจ่ายให้

นายแพทย์ณรงค์ ธาดาเดช ผอ.โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ได้โพสข้อความลงในเฟสบุ๊คตัวเอง ระบุว่าโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ปฏิเสธรับคนไข้เข้ารับการรักษา ทำให้หลายฝ่ายไม่สบายใจ และมีการตรวจสอบพบว่า เป็นการเข้าใจผิดจึงชี้แจงผู้โพสจนเข้าใจ และนำได้นำข้อความออกจากระบบไปแล้ว แต่เมื่อสองวันก่อน มีเพจข่าวหนึ่งของอุดรธานี นำข้อมูลเดิมไปเผยแพร่ซ้ำ จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริง และขอให้ตรวจสอบข้อมูลก่อน เพราะ รพ.อุดรธานี เป็นของชาวอุดรธานีทุกคน

ผอ.โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี กล่าวต่อว่า มีผู้ป่วยเป็นชาย อายุ 60 ปี มีอาการ “เนื้อแห้งตาย” ที่นิ้วเท้าซ้าย เข้ารับการรักษาที่ รพ.ชุมชนแห่งหนึ่งใน จ.อุดรธานี โดยเป็นผู้ป่วยคนไทยตกสิทธิ ไม่มีหลายเลขประจำตัว 13 หลัก ที่น่าจะเกิดจากไม่เข้ารับการเกณฑ์ทหาร ส่งต่อมาตรวจรักษาต่อที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี 2 ครั้ง ซึ่ง 2 ครั้งได้ตรวจรักษา แต่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน จนมาครั้งที่ 3 ประมาณกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา สรุปว่าเกิดจาก “เส้นเลือดขาตีบ” จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ใส่เส้นเลือดเทียม โดยอาการยังไม่รุนแรง

“ รพ.อุดรธานี ได้แจ้งให้ผู้ป่วยกลับไป ติดต่อทำสิทธิของตัวผู้ป่วย ซึ่งกระบวนการจะเริ่มที่ผู้ใหญ่บ้าน ที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจะได้รับสิทธิในการรักษา ซึ่งปัจจุบันมีขั้นตอนตรวจ DNA.รวดเร็วขึ้น ไม่ได้ปฏิเสธรับคนไข้แล้วส่งกลับ อาจจะเพราะปัญหาที่ผู้ป่วย มีข้อจำกัดไม่ได้ไปติดต่อ หรือติดต่อไม่ได้ผล เวลาล่วงเลยมาจนแผลมีปัญหา จึงเดินทางไปที่ รพ.ชุมชนในพื้นที่ จึงเข้าใจผิดนำไปเผยแพร่ผ่านเฟสบุ๊ค เมื่อทำความเข้าใจแล้วจึงลบออก โดยผู้ป่วยได้เข้ารับการผ่าตัดแล้ว และต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ รพ.อุดรธานี อีก 2 เดือน ”

ผอ.โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี กล่าวต่อว่า รพ.อุดรธานี เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีอัตราครองเตียง 134.7 เปอร์เซ็นต์ ทุกปีจะมีผู้ป่วยตกสิทธิราว 100 คน โรงพยาบาลให้การรักษาทุกราย โดย รพ.อุดรธานี จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายราวปีละ 2 ล้านบาท สำหรับผู้ป่วยรายนี้มีค่าใช้จ่ายผ่าตัด 2 แสนบาทเศษ และค่าใช้จ่ายอีกในช่วง 2 เดือน ระหว่างรอดุอาการนิ้วที่เหลือ 3 นิ้ว จะรักษาไว้ได้หรือไม่ โดย รพ.อุดรธานี รับผิดชอบเอง ถ้ามีสิทธิบัตรทอง จะได้เอาเงินส่วนนี้ไปช่วยผู้ป่วยอื่น

นายแพทย์ณรงค์ ธาดาเดช ผอ.โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี กล่าวด้วยว่า กรณีนี้ผู้ใหญ่ในกระทรวง ในจังหวัดมีความห่วงใย และทำให้เราได้เห็นช่องทางดูแล ผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสมากขึ้น โดยสาธารณสุข จ.อุดรธานี ได้เรียกประชุมผู้บริหาร รพ.ชุมชนทุกแห่ง มาทำความเข้าใจว่า รพ.ชุมชนสามารถส่งผู้ป่วย ที่เหนือขีดความสามารถมา รพ.อุดรธานีได้ทุกราย โดยผู้ที่มีสิทธิปฏิเสธผู้ป่วยมีคนเดียวคือ ผอ.รพ.อุดรธานี ซึ่งก็จะรับผู้ป่วยทุกคน นอกจากนี้มีโครงการนำแพทย์เชี่ยวชาญ ออกไปหาผู้ป่วยห่างไกล ทุกโรงพยาบาลเป็นหนึ่งเดียว

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments