วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
Google search engine
หน้าแรกท้องถิ่นพระสงฆ์อีสานเสี่ยงป่วย เหตุฉันหวาน-มัน-เค็ม

พระสงฆ์อีสานเสี่ยงป่วย เหตุฉันหวาน-มัน-เค็ม

สปสช.เขต 8 ถอดบทเรียน 4 ตำบล ดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ ด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล หลังสำรวจพบพระสงฆ์อีสานตอนบน ความดันสูง-ไขมันเลือดสูง-เบาหวาน-หอบหืด-หัวใจ-เกาต์ เกิดภาวะอ้วน ชวนลดละเลิกพฤติกรรมฉัน หวาน-มัน-เค็ม

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ที่ศูนย์ประชุมมลฑาทิพย์ฮอลล์ ทน.อุดรธานี ทพ.กวี วีระเศรษฐกุล ผอ.สนง.หลักประกันสุขภาพ (สปสช.)เขต 8 อุดรธานี มอบโล่รางวัล “วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น เขตสุขภาพ 8 ประจำปี 2563 ให้วัดป่าพุทธรักษา ต.โนนสะอาด อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร , วัดอรัญญวิเวก ต.เซกา อ.เซกา จ.บึงกาฬ , วัดป่าหนองหินเหนือ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี และวัดศิริบุญธรรม ต.กุดดินจี่ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ในการประชุมขับเคลื่อนและถอดบทเรียน จัดบริการสาธารณสุขดูแลสุขภาวะพระสงฆ์แบบองค์รวม

สปสช.เขต 8 อุดรธานี รับผิดชอบพื้นที่ 7 จว.อีสานตอนบน คือ เลย , หนองบัวลำภู , หนองคาย , สกลนคร , นครพนม , บึงกาฬ และอุดรธานี มีพระภิกษุ สามเณร 38,627 รูป มหานิกาย 31,786 รูป ธรรมยุติ 6,841 รูป มีปัญหาเข้าไม่ถึงหลักประกันสุขภาพ สาเหตุจากทะเบียนสิทธิบัตรทองไม่ถูกต้อง (สำรวจในพื้นที่ 13,384 รูป สิทธิไม่ถูกต้อง 6,816 รูป หรือ 50.9% , ขาดความรู้สิทธิและการใช้สิทธิ ซึ่งถือว่าภิกษุสามเณรเป็นกลุ่มเปราะบาง มีลักษณะแตกต่างจากประชาชนทั่วไป

จากผลการสำรวจข้อมูลสุขภาพภิกษุสามเณร ปี 2561 จำนวน 13,384 รูป ใน 7 จว. พื้นที่รับผิดชอบ สปสช. เขต 8 พบสถานการณ์เจ็บป่วย โรคความดันโลหิตสูง 23.8 % , ไขมันในเลือดสูง 14.2 % , เบาหวาน 14.1 % , หอบหืด 10.1 % , โรคหัวใจ 8.4 % และโรคเกาต์ 8.2 % โดยพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยสูง ด้วยภาวะอ้วน 30 % มีพฤติกรรมการฉันอาหาร หวาน-มัน-เค็ม 45.5 % และสูบบุหรี่ 46 % หากไม่ได้รับการแก้ไขจะกลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่

ในปี 2563 สปสช. เขต 8 ได้นำร่องจัดบริการสาธารณสุขดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ ด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ในพื้นที่ 4 ตำบล จาก 716 ตำบล คือ อบต.หนองย่างชิ้น อ.เรณูนคร จ.นครพนม , อบต.บ้านเอื้อง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม , อบต.เทพคีรี อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู และ อบต.จอมศรี ต.เชียงคาน จ.เลย จึงนำการดำเนินการมา “ถอดบทเรียน” เพื่อนำไปขับเคลื่อนงานพระสงฆ์ในปี 2564

ทั้ง 4 พื้นที่ อบต.นำร่อง มีแกนนำขับเคลื่อนที่แตกต่างกัน เพราะเป็นแผนงานใหม่ไม่เคยเกิดขึ้น ทั้งจากแกนที่เป็น รพ.สต. , พระสงฆ์ , และ อบต. แต่ก็มีปัญหาคล้ายกัน อาทิ พระสงฆ์มีกิจนิมนต์ และวัตรปฏิบัติต่างกัน – อสม.เป็นผู้หญิงมีปัญหาการตรวจคัดกรอง มีการแก้ไขที่แตกต่างกัน ทั้งการใช้งานผู้นำท้องที่-ไวยาวัจกร-อาสาสมัครพระสงฆ์-พระสงฆ์ต้นแบบ ทำให้ติดตามพระสงฆ์มาตรวจคัดกรองครบ 100 %

การตรวจคัดกรองพบพระเณร ปกติ-กลุ่มเสี่ยง-อาพาธ จากอาการความดัน , ไขมันในเลือด , เบาหวาน , หอบหืด , หัวใจ , เกาต์ และไต (เพิ่มขึ้น) เกิดจากการบริโภคหวาน-มัน-เค็ม (น้ำอัดลม-เครื่องดื่มชูกำลัง-ขนมขบเคี้ยว-อาหารทอด-อื่นๆ) ที่ญาติโยมถวาย รวมทั้ง “บุหรี่” ต้องส่งเอ็กซเรย์ปอด ทั้งนี้มี อบต.จอมศรี ได้นำเครื่องมือนอกเหนือเครื่องมือพื้นฐาน (ตรวจมวลไขมัน-มวลกล้ามเนื้อ-อัตราการเผาผลาญ) มาตรวจและทำทะเบียนสุขภาพพระสงฆ์ทุกรูป เพื่อเป็นฐานข้อมูลตรวจซ้ำในครั้งต่อไป

ขณะเดียวกันมีการนำเสนอแผนงาน ที่นำเอาวิถีชุมชนมาขับเคลื่อน ให้เกิดการรณรงค์การถวายภัตราหาร หรือฉันท์อาหาร ประเภทอาหารสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อาทิ การนำเอางานบุญใหญ่ “ฮีต 12 ครอง 14” ซึ่งเป็นวิถีชีวิตคนอีสาน ให้มีกิจกรรมการใส่บาตร-ถวายภัตราหาร เพื่อดุแลสุขภาพพระสงฆ์หรืออาหารสุขภาพ , การจัดกิจกรรม “ถนนสายบุญ” จัดสถานที่ทำบุญตักบาตรด้วยอาหารสุขภาพ ที่มีขึ้นเดือดละ 1 ครั้ง ให้เกิดการใส่บาตร-ถวายภัตราหารสุขภาพต่อเนื่อง

รศ.(พิเศษ) ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์ อปสข.เขต 8 อุดรธานี สรุปเสนอแนวคิดจากประสบการณ์ว่า การเก็บข้อมูลน่าจะต้องแยก พระวัดป่า พระวัดบ้าน รวมทั้งวัดที่มีเณร หรือชี เพราะการฉันท์อาหารต่างกัน อาจจะต้องแปลเป็นแคลลอรี่ และแยกว่าเป็นพระบวชนาน หรือบวชชั่วคราว สำหรับเครื่องมือการเก็บ มีทั้งข้อมูลพื้นฐานบุคคล อายุ-น้ำหนัก-ส่วนสูง , จากเครื่องมือทั่วไป ความดัน-น้ำตาลในเลือด และน่าจะเพิ่มสารเคมี , จากเครื่องมือพิเศษด้วย พร้อมเสนอการเก็บข้อมูลลักษณะกิจกรรมของสงฆ์ (อากาศ-อาหาร-ออกกำลัง-อารมณ์-พฤติกรรมบริโภค) และญาติโยม (ใส่บาตรของชอบให้ผู้ล่วงลับ)….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments