วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมพืชสวนโลกสะดุดที่ดิน-ออกแบบไม่คืบ

พืชสวนโลกสะดุดที่ดิน-ออกแบบไม่คืบ

มหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี 2569 ติดปัญหายังไม่เริ่มนับหนึ่ง ทั้งเรื่องพื้นที่จัดงานเป็น “พื้นที่ชุ่มน้ำท้องถิ่น” ยังเข้าทำอะไรไม่ได้ คัดเลือกปรึกษาทำมาสเตอร์แปลนยังไม่จบ รองนายกสุพัฒน์พงศ์ฯลงพื้นที่รับปัญหา สายตรงหาผู้รับผิดชอบแก้ไข

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 บริเวณ“พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด” ถนนมิตรภาพ (อุดรธานี-หนองคาย) ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี นายสุพัฒนพงศ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเดินทางตรวจเยี่ยม สถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี ระหว่าง 1 พฤศจิกายน 2569-14 มีนาคม 2570 โดยมีนายศรันย์ศักด์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี นำคณะกรรมการฯ คณะทำงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หอการค้าอุดรธานี สภาอุตสาหกรรมอุดรธานี ร่วมรายงานความคืบหน้า ปัญหาอุปสรรค

นายศรันย์ศักด์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ตามที่ ครม.มีมติ 16 พฤศจิกายน 2564 อนุมติหลักการการประมูลสิทธิ งานมหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี พ.ศ.2569 , มีมติ 4 มกราคม 2565 อนุมัติกรองวงเงินงบประมาณ 2,500 ล้านบาท และสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) ประกาศคัดเลือกอุดรธานี เป็นเจ้าภาพจัดงานพืชสวนโลก (ระดับ B) เมื่อ 8 มีนาคม 2565 ซึ่งอุดรธานีมีศักยภาพ ความพร้อมสิ่งสาธารณูปโภค โรงแรมและสถานที่จัดงานได้มาตรฐาน มีระบบคมนาคมขนส่ง ครอบคลุมเชื่อมโยงไปทุกภูมิภาค และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

นายณัฐพงศ์ คําวงศ์ปิน หัวหน้าสำนักงาน จ.อุดรธานี รายงานว่า พื้นที่หนองแดเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ 1,030 ไร่ การขอใช้พื้นที่ไปเกี่ยวกับหลายส่วน อาทิ การขอใช้ประโยชน์ที่ดินจาก สนง.ที่ดิน จ.อุดรธานี , การขอใช้พื้นที่ตาม พรบ.ป่าไม้ , การขอใช้พื้นที่ตัดถนนผ่านรางรถไฟ ส่วนนี้มีความคืบหน้าไปมาก แต่ที่มีอุปสรรคก็คือ การขออนุญาต ใช้พื้นที่จากกรมทรัพยากรน้ำ เนื่องจาก “หนองแด” เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับท้องถิ่น มีขั้นตอนในการปฏิบัติ จังหวัดขอยกเว้นการใช้ระเบียบไป ทำให้ยังไม่สามารถดำเนินการกับพื้นที่ได้

นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี กล่าวว่า งานพืชสวนโลกเขาเตรียมงาน 6-7 ปี แต่อุดรธานีเหลือเวลาอีก 3 ปี 11 เดือน ตั้งแต่เราร่วมกันขับเคลื่อน จากคำแนะนำของ “ทีเส็บ” จนมาถึงวันนี้ ผ่านมีผู้ว่าราชการจังหวัดมาแล้ว 4 ท่าน โครงการนี้ถูกดองไว้ในลิ้นชัก 2 ปี เราก็พยายามต่อสู้หาช่องทางกันมา ในส่วนของท้องถิ่นและพื้นที่คืบหน้า แต่บางเรื่องมันไปต่อไม่ได้ ดีใจที่ท่านรองนายกฯ เดินทางมารับทราบปัญหา เราจะได้เดินหน้าไปได้

“ ท่านนายกฯให้งบกลางมา 57 ล้านบาท เพื่อคัดเลือกว่าจ้างที่ปรึกษา มาออกแบบมาสเตอร์แปลนงานทั้งหมด อุดรธานีได้ออกหนังสือเชิญผู้ออกแบบ 57 บริษัท มีตอบรับมาร่วมคัดเลือก 4 บริษัท และขาดคุณสมบัติไป 2 บริษัทๆ ออกแบบมาคล้ายๆกัน แต่ไม่ตอบโจทย์แผ่นดินอีสานของเรา ที่เรามีธีมอยู่ว่า วิถีชีวิต สายน้ำ และพืชพันธุ์ รูปแบบที่เราเสนอให้ AIPH เฮือนอีสาน วิถีชีวิต อัตลักษณ์อีสาน ไม่มีอยู่ในแบบที่ส่งมา และปัญหาใช้ประโยชน์หลังเสร็จงาน เราจำต้องอนุมัติไปด้วยน้ำตา ทำให้เรากำลังระดมทีม จัดทำมาสเตอร์แปลนฉบับอุดรธานีขึ้นมาด้วย ”

นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี  กล่าวต่อว่า หลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้ค่อนข้างสูง มีคณะกรรมการฯจากส่วนกลาง 4 ท่าน จากอุดรธานี 7 ท่าน ตนเองเป็น 1 ในคณะกรรมการฯ ที่เหลือก็เป็นทั้งภาครัฐ และเอกชน คณะกรรมการได้ให้คะแนน คะแนนบุคลากรหลัก บุคคลากรสนับสนุน น่าจะได้คำแนนเต็มไป ส่วนคะแนนคอนเซ็ปดีไซด์ไม่ได้เลย ซึ่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เราก็ต้องลงนามในคะแนนนั้นไป พร้อมกันนั้นคณะกรรมการฯ ได้มีข้อสังเกตุไปให้ผู้ว่าฯ ด้วยเพราะงบเกิน 50 ล้านบาท ผู้ว่าฯได้ขอหาลือไปส่วนกลาง รูปแบบที่คัดเลือกจึงนำมาเสนอไม่ได้ เท่ากับวันนี้เรายังนับ 1 ไม่ได้

นายสุพัฒนพงศ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี ได้สอบถามในหลายเรื่องก่อนกล่าวว่า ไม่ได้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง จึงไม่รู้ปัญหาอุปสรรคที่รายงาน ซึ่งได้ติดตามเรื่องนี้มาตอนต้นๆ เห็นเป็นโครงการน่าสนับสนุน ยากจะให้เกิดขึ้นที่อุดรธานี และยังเป็นหน้าตาของประเทศด้วย ท่านนายกรัฐมนตรีฯฝากให้ดู เมื่อมาทางนี้ก็ตั้งใจตามติดตาม จากนั้นนายสุพัฒนพงศ์ฯ ได้โทรศัพท์ไปยังหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะ สนง.ส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ “ทีเส็บ”

นายสุพัฒนพงศ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้คุยกับ “ทีเส็บ” ก็บอกว่ามาสเตอร์แปลนที่ออกมา จะต้องเปลี่ยนแปลงไม่มาก จากที่เราเสนอกับ AIPH. ไปแล้ว ก็ต้องมีการพูดคุยกันอีกครั้ง ก็อยากจะให้มีการพูดคุยกัน ตั้งแต่การเริ่มงานกันเลย รูปแบบยังไม่ตายตัวแก้ไขกันได้ จะได้ไม่ต้องไปคาใจกันช่วงการทำงาน ทุกอย่างจะได้เดินไปได้ คนออกแบบเขาก็คงอยากเอาใจอุดรธานี แต่อุดรธานีต้องการความเป็นอีสาน

นายสุพัฒนพงศ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมก็มีข้อแนะนำเรื่อง “แผน 2” จะต้องเตรียมไว้ด้วย และมีความเป็นห่วงอีกไม่นาน จะมีการเลือกตั้งทั่วไป ในงบฯปี 66 ยังต้องขอใช้งบกลางอยู่ น่าจะต้องเร่งรัดการของบขึ้นไป หากไปขอช่วงนั้นอาจจะติดขัด สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ขอให้เร่งรัดดำเนินการขึ้นไป ตนเองจะช่วยติดตามในส่วนกลางให้ อยากเห็นความสำเร็จ แม้อีก 3 ปี 11 เดือน จะไม่ได้อยู่ตรงนี้ แต่ก็รับปากว่าจะเดินทางมาร่วมงาน

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments