วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมเอกชนอุดรฯชง กรอ.เร่งเครื่องขนส่งสาธารณะ

เอกชนอุดรฯชง กรอ.เร่งเครื่องขนส่งสาธารณะ

กกร.อุดรธานี มีมติเสนอ กรอ.อุดรธานี ขับเคลื่อนขนส่งสาธารณะในเมือง รับเมืองโตและพืชสวนโลก 2569 เร่งให้เกิดรถเมล์แอร์ 2 สายก่อน 4 สายตามมา ชงใช้ “ตุ๊กๆ”ส่งต่อถึงที่หมาย และกระตุ้นไรเดอร์จดทะเบียนรถยนต์เพิ่มในการบริการ

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ที่ห้องประชุมห้างบุญถาวรอุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี นายรุ่งโรจน์ พิพัฒนามงคล ประธานชมรมธนาคารอุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จ.อุดรธานี โดยมีนายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธาน กกร.ภาคตะวันออกฉียงเหนือ นายธนพล กองทรัพย์ไพศาล ประธานหอการค้า จ.อุดรธานี พ.ท.วรายุต์ ตรีวัฒน สุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี น.ส.ปิยะวรรณ ทะแพงพันธ์ หน.กลุ่มวิชาการขนส่ง จ.อุดรธานี และผู้แทนจาก 3 สถานบัน เข้าร่วมประชุม

ที่ประชุมได้รายงานการติดตาม 1.“ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี” ล่าสุดได้ส่งเรื่องไปให้ส่วนกลางพิจารณา แต่ก็ยังไม่มีคำตอบกลับมาชัดเจน ซึ่งมีความเป็นห่วงว่าข้อกังวนที่เอกชนทักท้วงไป จะได้รับการพิจารณาหรือไม่ ที่ประชุมเห็นควรให้โยธาธิการและผังเมืองอุดรธานี ชี้แจงในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) จ.อุดรธานี ในวันพุธที่ 23 สิงหาคมที่จะถึงนี้

2.“การคัดค้านแบบทางพาดรถไฟทางคู่แยกบ้านจั่น” หลังจากที่ภาคเอกชนผลักดันให้ กรอ.อุดรธานี มีมติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ทบทวนรูปแบบรางรถไฟทางคู่ จุดตัดทางพาดรถไฟบ้านจั่น จากเดิมที่อยู่ระนาบพื้น ให้ยกสูงข้ามทางพาดรถไฟ พร้อมให้ความเห็นข้อดีข้อเสีย และทางออกที่น่าจะเป็นไปได้ไปแล้ว จนถึง
ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมา คาดว่าอาจจะต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ ถ้ามีความคืบหน้าจะแจ้งต่อที่ประชุมอีกครั้ง

ที่ประชุมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน และพิจารณาเรื่อง “การขับเคลื่อนเมือง ด้านการบริการขนส่งสาธารณจังหวัด” เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมือง ให้ทันกับงานมหกรรมพืชสวนโลก โดยที่ผ่านมาขาดระบบขนส่งสาธารณะ จะไปไหนมาไหนในเมืองยากมาก จะเพิ่มทางเลือกอะไรได้บ้าง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกประชาชน ไม่ได้ไปแข่งขันกับใคร ที่ประชุมมีมติให้นำประเด็นนี้ เข้าส่งการประชุม กรอ.อุดรธานี ในวันพุธที่ 23 สิงหาคมนี้เช่นกัน ประกอบไปด้วย

1.รถโดยสารสาธารณะ หรือ “ซิตี้บัส” ที่ คกก.ระดับจังหวัดเห็นชอบปรับปรุงเส้นทางสาย 20 ให้สอดคล้องกับสาย “สีแดง” ของ สนข. และเพิ่มเส้นทางสาย “สีส้ม” และส่งไปให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณาแล้วนั้น แต่ยังไม่ชัดเจนจะประกาศหาผู้ลงทุนเมื่อใด ขอให้มีการเร่งรัดในเรื่องนี้ และต่อเนื่องกับอีก 4 สาย , 2.การจะอนุญาตให้มีรถ “ตุ๊กๆ” ที่ถูกต้องตามกฎหมายจะมีได้หรือไม่อย่างไร และ 3.ปัญหาการขับเคลื่อน “รถรับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค หรือแอพพลิเคชั่น” ที่ปัจจุบันลงทะเบียนไว้ 500 คัน แต่ได้รับใบอนุญาตเพียง 7 คัน เพราะข้อจำกัดเยอะมาก….

ระบบขนส่งสาธารณะอุดรธานี กำหนดต้องมีสายหลัก 6 สาย ตามการศึกษา สนข. โดยมี รถสองแถวที่มีอยู่แล้ว หรือพัฒนาขึ้น ให้เป็นสายรองสร้างใยแมงมุม บวกกับรถรับจ้างที่มีมาตรฐาน+ปลอดภัย ภาคเอกชนมองไปที่ “ตุ๊กตุ๊ก” เพราะสายแล็ปยังเป็นรถผิดกฎหมาย และรถรับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค ซึ่งปัจจุบันมีทั้งรถยนต์ และ จยย.อยู่บ้างแล้ว แต่ยังไม่ถูกกฎหมายสมบูรณ์

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments