วันอังคาร, พฤษภาคม 7, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม140 ครัวเรือนยื่นอุทธรณ์ค้านไล่พ้นที่ดิน “โคกขุมปูน” สร้างวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์

140 ครัวเรือนยื่นอุทธรณ์ค้านไล่พ้นที่ดิน “โคกขุมปูน” สร้างวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 21 กุมภาพันธุ์ 2565 ที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สามพร้าว อ.เมือง อุดรธานี ชาวบ้านจาก บ.สามพร้าว ม.12 ต.สามพร้าว มากกว่า 50 คน นัดเดินทางเข้าพบนายสุภัทร์ เล็กวิวัฒน์ นายก อบต.สามพร้าว เพื่อนำเอกสารประกอบการยืนอุทธรณ์ คัดค้านการขอใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ “โคกขุมปูน” รวม 500 ไร่ ริมถนนฝั่งทิศเหนือ บ.สามพร้าว-มรภ.อุดรธานี เพื่อสร้างวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ สถาบันพระบรมราชนก วิทยาเขตอุดรธานี

นายสุภัทร์ เล็กวิวัฒน์ นายก อบต.สามพร้าว ได้นำรองนายก อบต. , ปลัด อบต. และนิติกร อบต. ประชุมร่วมกับชาวบ้านบริเวณ “ศาลาหน้าห้องประชุม” ซึ่งเป็นพื้นที่โลงระบายอากาศได้ดี ลดความเสี่ยงในสถานการณฺโควิด-19 โดยชาวบ้านถือป้ายข้อความคัดค้าน อาทิ ที่ดินผืนนี้เกิดจาก หยาดเหงื่อง-แรงกาย พ่อแม่ของพวกเรา , ที่ดินผืนนี้ทำกินมาเป็น100ปี , ขอให้เห็นแก่ลูกหลานในอนาคต , กฎหมายต้องอยู่ใต้คุณธรรม โดยนั่งล้อมบริเวณพื้นที่การประชุม

น.ส.ศิริพอร์ณ ศรีสุขเจริญปัญญา แกนนำชาวบ้าน กล่าวว่า ตนและชาวบ้านได้ครอบครอง สร้างที่พักอาศัยและใช้ทำกิน ในที่ดินบริเวณนี้มา 3 รุ่นแล้ว ก่อนที่ทางราชการจะออก นสล.เมือง พ.ศ.2522 ชาวบ้านขอถามว่า ก่อนที่นายก อบต.จะออกประกาศ ไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ ได้สำรวจข้อเท็จจริง และแจ้งชาวบ้านหรือยัง ดึงดันจะปักป้ายประกาศไล่ ให้เวลายื่นอุทธรณ์เพียง 15 วัน ชาวบ้านทำตามไม่ได้แน่นอน จึงต้องออกมาขอขยายเวลา คิดหรือไม่ชาวบ้านจะทำอย่างไร

“ อบต.มีแนวทางช่วยชาวบ้าน หรือดูแลเบื้องต้นอย่างไร วันนี้ชาวบ้านได้รวมรวมเอกสาร แยกออกเป็นชุดแต่ละครอบครัว 140 ชุด อยากให้ อบต. จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร พิจารณาราบละเอียดเป็นรายๆ หากรายใดเอกสารยังไม่ครบ จะได้ประสานไปยังชาวบ้านรายนั้นๆ เพื่อจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติม ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้แล้ว และของให้ อบต.แจ้งประชาสัมพันธ์ ไปถึงชาวบ้านในทุกช่องทาง เพื่อชาวบ้านรับรู้ความคืบหน้า ”

นายบรรจบ พรหมถาวร อดีต ผอ.รร.พิบูลย์รักษ์วิทยา กล่าวว่า เป็นลูกหลานบ้านสามพร้าว การที่ อบต.เร่งปิดประกาศ น่าจะเป็นการลัดขั้นตอนหรือไม่ เพราะเพียงหน่วยงานขอใช้พื้นที่ ที่ผ่านมา “โคกขุมปูน” นิคมอุตสาหกรรมก็เคยขอ ชาวบ้านกลัวมลพิษก็ไม่ให้ , ม.สุรนารี เคยขอสร้างวิทยาเขต ชาวบ้านก็ไม่ให้ จน มรภ.อุดรธานีมาขอใช้ เห็นว่าบ้านเมืองเปลี่ยนก็แบ่งให้ไป จากนั้นก็ให้สร้างสนามกีฬา กกท. และหน่วยงานสาธารณสุข เพราะชาวบ้านไม่เดือดร้อน ครั้งนี้ชาวบ้านเดือดร้อน ก็เปิดประชุมสภา อบต.พิจารณาไม่ให้ก็จบตรงนี้ ไม่ต้องไปมีขั้นตอนอื่นมาต่อรอง

นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านหลายคน ถามว่า อยากรู้ว่าพื้นที่ขอใช้ 500 ไร่ จะเอาไปทำอะไรกันบ้าง หรือเป็นเพียงขอไว้เฉยๆ ลักษณะ “ขว้างหินถามทาง” หรือหากมีความต้องการใช้จริง ๆ พื้นที่น้อยกว่านี้จะได้หรือไม่ และไปใช้พื้นที่อื่นจะได้หรือไม่ ไปแบ่งกับ มรภ.อุดรธานี ศูนย์สามพร้าวได้หรือไม่ เพราะมีมากกว่า 2,090 ไร่

นายสุภัทร์ เล็กวิวัฒน์ นายก อบต.สามพร้าว กล่าวว่า เพิ่งมารับตำแหน่งนายกฯ เข้ามาก็ขับเคลื่อนเรื่องโฉนดรวม เพราะส่วนตัวเห็นว่าชาวบ้านอยู่มานาน แต่เมื่อมีการขอใช้พื้นที่เข้ามา ก็ต้องทำตามระเบียบกฎหมาย ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีการขอใช้ ทันทีที่รับแจ้งได้มอบให้ จนท.แจ้งประชาชนผ่าน “ไลน์” ก่อนที่จะออกเป็นหนังสือเพิ่มเติม ต้องการให้ชาวบ้านที่เดือดร้อน มายื่นอุทธรณ์คัดค้านมากที่สุด ในพื้นที่ 500 ไร่ มีกี่ราย กี่หลัง พื้นที่ตรงไหน

 

“ ที่ต้องการให้ชาวบ้านอุทธรณ์ทุกราย พร้อมแสดงหลักฐานเอกสาร ไม่ว่าจะเป็น สค.1 , ภบท.5 หรืออื่น ๆ ประกอบกับ ภาพถ่าย , พิกัด จีพีเอส. อาจะนำไปสู่การพิสูจน์สิทธิ์ และให้เห็นว่ามีความเดือดร้อนมากแค่ไหน มูลค่าความเสียหายสูงเท่าใด เพื่อส่งผู้พิจารณาอุทธรณ์ได้เห็น อบต.สามพร้าว เห็นใจชาวบ้าน แต่มีขั้นตอนต้องปฏิบัติ จากนี้ไปจะต้องมีคำเตือนไปถึงชาวบ้าน 3-4 ครั้ง จากนั้นก็จะเข้าขั้นตอนตรวจสอบ ขั้นตอนการทำประชาคมชาวบ้าน ขั้นตอนการพิจารณาของ สภา อบต.สามพร้าว ซึ่ง อบต.จะดูเรื่องนี้ไปกับชาวบ้าน ”

หลังจากประชุม น.ส.ศิริพอร์ณ ศรีสุขเจริญปัญญา พร้อมชาวบ้าน ได้มอบกล่องกระดาษเก็บเอกสารขนาดใหญ่ ให้นายสุภัทร์ เล็กวิวัฒน์ นายก อบต.สามพร้าว ซึ่งภายในบรรจุเอกสารการยื่นอุทธรณ์ 140 ชุดๆละครอบครัว คัดค้านการขอใช้พื้นที่ ซึ่งต้องขับไล่ชาวบ้านออกไป โดยเอกสารแยกเป็น ครอบครัวที่มีเอกสารสิทธิ สค.1 และครอบครัวที่มีเอกสาร ใบเสร็จเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท.5) ยืนยันการครอบรองทำกินมานานแล้ว ซึ่งนายกฯรับปากจะตรวจสอบทุกราย หากเอกสารไม่ครบถ้วนจะติดต่อไปขอเพิ่มเติม ก่อนส่งไปให้อำเภอเมืองอุดรธานีพิจารณา

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากชาวบ้านที่ออกมาคัดค้าน ที่ยืนยันเข้าครอบครองทำกิน มาต่อเนื่องมากกว่า 3 รุ่นแล้ว ยาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งจะบ้านพัก เรือกสวน ไร่ นา กระจายอยู่ในพื้นที่ ขณะบริเวณริมถนนตั้งแต่ต้นประดู่ใหญ่ ไปจนถึงบ่อขยะเดิมของ อบต.สามพร้าว พบว่ามีการก่อสร้าง อาคาร บ้านพัก ร้านขายสินค้า ร้านอาหาร รวมไปถึงสถานบันเทิง คล้ายสถานบริการยาวตลอดแนว….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments