วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรฯซ้อมรับมือ“อหิวาต์แอฟริกาในสุกร”

อุดรฯซ้อมรับมือ“อหิวาต์แอฟริกาในสุกร”

อุดรธานีจับเข่าคุยผู้เลี้ยงหมู เตรียมรับมืออหิวาต์แอฟริกาในสุกร แม้จะยังไม่มีการระบาดในประเทศไทย เน้นปฏิบัติตามกฎเหล็ก 5 ข้อควรทำ 10 ข้อห้าม

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19 สิงหาคม 2562 ที่ห้องฟ้าหลวง โรงแรมนภาลัย จ.อุดรธานี นายสิธิชัย จินดาหลวง รอง ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดอบรม “เข้าใจ รู้ทัน ร่วม ป้องกันโรค ASF ในสุกร” โดยมี นายพนธ์สมิทธิ์ กลางนภา ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ในสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้เลี้ยงสุกร 250 คน เข้าร่วมงาน ให้ความรู้ในโครงการ “ฝึกอบรม-ซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร” แม้ยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย

โดยใน จ.อุดรธานี มีฟาร์มเลี้ยงสุกรพ่อแม่พันธุ์ , อนุบาล และขุน ทั้งฟาร์มขนาดใหญ่มากกว่า 500 ตัว 195 ฟาร์ม ( ฟาร์มเอกชน , จ้างเลี้ยง) และขนาดย่อย 1,339 ฟาร์ม มีสุกรรวม 380,000 ตัว มีร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ 584 ร้าน ร้านจำหน่ายวัตถุดิบอาหารสัตว์ 1 ร้าน โรงงานผลิตอาหารสัตว์ 2 แห่ง โรงฆ่าสัตว์ 15 แห่ง (สุกร 2 แห่ง , โค กระบือ สุกร 13 แห่ง) โรงตัดแต่งซาก 1 แห่ง และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสุกร 4 แห่ง อำเภอที่มีความเสี่ยงสูงคือ อ.บ้านผือ อ.เพ็ญ อ.สร้างคอม และ อ.เมืองอุดรธานี

นายสิธิชัย จินดาหลวง รอง ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า โรค ASF ในสุกร หรือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ถือเป็นวาระแห่งชาติ เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องเตรียมพร้อมรับมือโรค เนื่องจากอุดรธานีถือเป็นจังหวัดรอยต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เราจะต้องกระตุ้นให้เกษตรกร เจ้าชองฟาร์มขนาดเล็กตื่นตัว ตระหนักถึงผลกระทบของโรค และร่วมกันเฝ้าระวังรวมถึงเตรียมความพร้อมอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้อุดรธานีได้ติดตามสถานการณ์ และประสานความร่วมมือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการป้องกันอย่างเต็มที่ เป็นด่านหน้าป้องกันโรคชั้นที่สอง ไม่ให้เข้าไปสู่จังหวัดอื่นๆ

นายพนธ์สมิทธิ์ กลางนภา ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า อุดรธานีได้สร้างเครือข่ายเกษตรกร เฝ้าระวังป้องกันโรค และร่วมมือในการจัดอบรมให้ความรู้ แนะนําการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ สร้างความเข้าใจในเรื่องโรค รู้วิธีป้องกันไม่ตื่นตระหนก และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคว่า การผลิตเนื้อหมูในอุดรธานี รวมถึงภาคอีสานปลอดภัยได้มาตรฐาน และ วันนี้ได้ซ้อมแผนเตรียมความพร้อม รับมือกับโรค ASF ไปพร้อมกัน ให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้ฝึกปฏิบัติร่วมกับเกษตรกร ให้เกิดความรวดเร็วและแม่นยํา ขอย้ำว่าโรค ASF ในสุกร เป็นโรคที่ไม่ติดต่อสู่คน และในขณะนี้ยังไม่มีรายงานการระบาดในประเทศไทย

นายธีระพงษ์ สมบัติหลาย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การอบรมผู้เลี้ยงหมูหลายจังหวัดที่ผ่านมา เกษตรกรให้ความสนใจและตื่นตัวกับโรคนี้มาก ส่งผลดีทั้งในด้านการให้ความรู้ป้องกันโรค และยังช่วยให้รู้ถึงข้อมูลสําคัญการเลี้ยง เช่น จํานวนตัว พิกัด ของผู้เลี้ยงหมูรายย่อย เพื่อนําไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกัน และเตรียมพร้อมในการควบคุม โรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันท่วงที ในการอบรมครั้งนี้ได้มอบน้ำยาฆ่าเชื้อ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยทั้ง 20 อําเภอ ในอุดรธานีพร้อมกันด้วย

นายสมนึก เทพนวล อายุ 62 ปี เจ้าของฟาร์ม บ.ทับกุง ต.ทับกุง อ.หนองแสง อุดรธานี เปิดเผยว่า เลี้ยงหมูเป็นอาชีพมานานกว่า 30 ปี เลี้ยงทั้งพ่อแม่พันธุ์ , อนุบาลลูกหมู และหมูขุน รวมราว 300 ตัว โดยได้รับการสนับสนุน สัตว์แพทย์ สัตวบาล จาก สนง.ปศุสัตว์ จ.อุดรธานี มาตรวจติดตามคำแนะนำ รวมทั้งการสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ ปัจจุบันเลี้ยงแบบระบบปิด เพื่อดูแลฟาร์มแบบไม่ประมาท สามารถทำตามมาตรการของปศุสัตว์ได้ มั่นใจว่าจะป้องกันโรคนี้ได้ โดยจะมีความเข้มงวดขึ้น

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments