วันพุธ, ธันวาคม 4, 2024
Google search engine
หน้าแรกศิลปวัฒนธรรม“ฟ้าใส”นำเดิน45แฟชั่นนวัตกรรมผ้าทอมือชุมชน

“ฟ้าใส”นำเดิน45แฟชั่นนวัตกรรมผ้าทอมือชุมชน

เปิดตัวศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ หรือ FTCDC (Fabric and Textiles Creative Design Center) มรภ.อุดรธานี ด้วยงาน “แฟชั่น นวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชน” โชว์ 5 แนวทางยกระดับ กี่ทอผ้าจากใต้ถุนบ้าน สู่นวัตกรรมแฟชั่นสิ่งทอ

ผู้สื่อข่าวรายงงานจาก จ.อุดรธานี ว่าที่บริเวณลานชั่น 1 ห้างเซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดงาน “แฟชั่น นวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชน ครั้งที่ 1 ” (Fashion & Innovation in Fabric and Textiles UDRU Showcase 2019) วันที่ 19-21 สิงหาคม 2561 โดย ผศ.จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดี มรภ.อุดรธานี นำทีมงานศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ หรือ FTCDC (Fabric and Textiles Creative Design Center) มรภ.อุดรธานี แสดงผลงานสนับสนุนยุทธศาสตร์ผ้าทอมืออุดรธานี

การจัดงานภายใต้คอนเซ็ปต์ “ผ้าทอชุมชน สู่แฟชั่น” มีการแสดงนิทรรศการ จากกี่ใต้ถุน…สู่นวัตกรรมแฟชั่นสิ่งทอ , นวัตกรรมเส้นใยธรรมชาติ เพื่อพัฒนาสิ่งทอชุมชน , ย้อมสีธรรมชาติจาก ดอกบัวแดง , ส่งเสริม สืบสาน และต่อยอด ภูมิปัญญาผ้าทอมืออีสาน , การแสดงแฟชั่นผ้าทอมือ 45 ชุด จาก 20 ชุมชน 5 จังหวัดอีสานตอนบน นำทีมโดย ฟ้าใส ปวีณสุดา Miss Universe Thailand 2019 ดารานักแสดงนำช่อง7 ยูโร ยศวรรธน์ ทะวาปี และนางแบบอีกกว่า 40 ชีวิต และการออกร้านแสดง-จำหน่าย ผ้าทอชุมชนพรีเมี่ยม

ผศ.ดร.ธีรยุทธ์ เพ็งชัย ประธานศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ หรือ FTCDC มรภ.อุดรธานี กล่าวว่า ผ้าทอมือพื้นเมือง มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มีรูปแบบ ลวดลาย ในการทออย่างประณีต รักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ตามแต่ละท้องถิ่น อุดรธานีได้ค้นพบหลักฐาน ผ้าที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
จะเห็นได้ว่าผ้าทอมือพื้นเมืองนั้น เป็นอีกหนึ่งของวิถีวัฒนธรรม ที่แสดงเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ได้เป็นอย่างดี

มรภ.อุดรธานี มีแนวคิดในการจัดตั้ง ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ หรือ FTCDC ขึ้นตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านเส้นใย การทอ องค์ความรู้ผ้าทอมือในพื้นที่ จ.อุดรธานี , หนองบัวลำภู , เลย , หนองคาย และบึงกาฬ , 2.เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตเส้นใย สีย้อมผ้าธรรมชาติ ยกระดับสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ , 3.เป็นพิพิธภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองอีสานและแหล่งเรียนรู้ , 4.เพื่อศึกษา วิจัย ถ่ายทอด นวัตกรรม เส้นใยและสีย้อมธรรมชาติ และ 5.เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ วัฒนธรรมภูมิปัญญา จึงเกิดการจัดงานครั้งนี้ขึ้น

ภายในงานกิจกรรม Workshop การออกแบบตัดเย็บของที่ระลึกจากผ้า , การเพ้นท์ครามธรรมชาติ , กิจกรรมต่อยอดภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม และการเสวนาเรื่อง “ผ้าทอชุมชนสู่สินค้าแฟชั่น” โดยแขกรับเชิญพิเศษ คุณส้มโอ หิรัญกฤษณ์ ผู้ออกแบบชุด TukTuk Thailand เจ่าของรางวัลชนะเลิศชุดประจำชาติ ในการประกวด Miss Universe 2015 และเสวนาเรื่อง “ผ้าทอชุมชนสู่ตลาดออนไลน์” โดยอาจารย์ลิ้งค์ ชนะวุธ อุทโธ ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการผ้าทอพื้นเมืองอีสาน และเป็นนักสะสมผ้า ซึ่งจะได้ชมผ้าทอที่หายากที่มีผืนเดียวในประเทศไทย

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า มรภ.อุดรธานี เปรียบเหมือนข้อต่อถักทอสายใย ที่นำเอาเสน่ห์ ภูมิปัญญา มาผสมผสาน ให้ผ้าทอมือจากธรรมชาติ ขับเคลื่อนตอบโจทย์ “จริตคนที่รักผ้าพื้นเมือง” โดยอุดรธานีมียุทธศาสตร์ “ผ้าพื้นเมือง” ที่ถือมีความสำคัญ โดยมีศูนย์ FTCDC เข้ามาช่วย ซึ่งคณะรัฐมนตรีรับข้อเสนอของจังหวัด ให้อุดรธานีเป็นศูนย์กลาง โดยมี มรภ.อุดรธานีเป็นเสาหลัก

“ ในอดีตอุดรธานีเคยทอผ้าพื้นเมือง รวบรวมลวดลายผ้าจากทุกอำเภอ มีความยาวมากที่สุด 1,999 เมตร ซึ่งเป็นเหมือนเอมไซโคบิเดียลายผ้า ขณะนี้อยู่ในความดูและของ ศูนย์ FTCDC มรภ.อุดรธานี ซึ่งได้ทำการบันทึก ถอดแบบ แกะแบบ ในรูปแบบเทคโนโลยีใหม่ เสมือเป็นตู้โชว์ ไม่ให้เกิดการสูญหาย สามารถนำกลับมาใช้ หรือพัฒนาต่อยอดได้ตลอดเวลา นอกจากนี้การถักทอเส้นใย ฟอกย้อมด้วยธรรมชาติ จะเป็นงานที่จะช่วยดูแลผู้สูงอายุ ที่เรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วย ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments