วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Google search engine
หน้าแรกท่องเที่ยวเปิดแยก 3 ระดับอุดร-นค.ที่สุดอีสาน 24 พ.ย

เปิดแยก 3 ระดับอุดร-นค.ที่สุดอีสาน 24 พ.ย

24 พ.ย.นี้ เปิดใช้งานทางแยก 3 ระดับอุดร พื้นราบ-อุโมงค์-ทางข้าม มุ่งหน้าสู่ สปป.ลาว สร้างพร้อมกันแห่งแรกในอีสาน อุโมงค์ลายผ้าพื้นเมืองสุดอลังการ ยาวที่สุดที่ ทล.เคยสร้าง พรั่งพร้อมด้วยระบบทันสมัย สองล้อ-จยย.-สามล้อ อดซิ่งลอด-ข้าม

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้า จ.อุดรธานี พร้อมคณะกรรมการหอการค้า จ.อุดรธานี ร่วมรับฟังคำชี้แจงจากนายสุเทพ บุญตะโก วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง กรมทางหลวง โครงการทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี (ด้านเหนือ) ที่ สนง.หอการค้า จ.อุดรธานี และนำลงพื้นที่ดูข้อเท็จจริง ที่จะเปิดให้ใช้งาน “อุโมงค์” ในเช้าวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายนนี้

นายสุเทพ บุญตะโก วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง กรมทางหลวง กล่าวว่า โครงการนี้เป็นทางต่างระดับ 3 ระดับ ระดับผิวพื้น-อุโมงค์-ทางข้าม สร้างพร้อมกันเป็นแห่งแรกภาคอีสาน บริเวณสี่แยกบายพาตอุดรธานี-หนองคาย ที่จะมุ่งหน้าไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามไปกำแพงนครเวียงจันทน์ วงเงิน 1,048 ล้านบาท เริ่มก่อสร้าง 16 มีนาคม 2560 สิ้นสุดสัญญา 3 มกราคม 2563 รวมเวลา 1,024 วัน ขณะนี้โครงการสร้างเสร็จแล้ว เหลือเพียงการเก็บงานและแก้ไขเท่านั้น

“ ทางระดับพื้นเป็นสี่แยกตามแนวเดิม , ทางข้ามหรือโอเวอร์พาทขนาด 4 ช่องทาง บนถนนวงแหวนรอบเมือง (ด้านเหนือ) ความยาว 980 เมตร , อุโมงค์ขนาด 4 ช่องทาง จากเขตเทศบาลนครอุดรธานีมุ่งสู่ จ.หนองคาย ความยาวทั้งทางลง 2 ด้าน และตัวอุโมงค์ 990 เมตร ถือว่าเป็นอุโมงค์ยาวที่สุด ของกรมทางหลวงที่เคยสร้างมา และผนังสองข้างยังเป็นลายผ้าอีสานสวยงาม “ขันหมากเบ็ง” ซับเสียงได้ดี ส่วนศูนย์ควบคุมระบบต่างๆ ได้รับการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์มีคุณภาพ ”

วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง ชี้แจงต่อว่า ภายในอุโมงค์ได้ติดตั้งระบบความปลอดภัย อาทิ ระบบไฟแสงสว่างในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน เพื่อสอดรับกับแสงสว่างด้านนอก , ระบบตรวจวัดคาร์บอนไดออกไซน์ หากเกินค่าที่กำหนดพัดลม 10 เครื่องจะดูดออก หากเกินอีกระดับไฟสัญญาจะห้ามเข้าอุโมงค์ , ระบบตรวจจับไฟไหม้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไปสัญญาจะแจ้งห้ามเข้าอุโมงค์ แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือและระงับเหตุ นอกจากนี้ยังมีกล้อวงจรปิด และโทรศัพท์ภายในฉุกเฉิน ติดตั้งไว้เป็นระยะ

“ สำหรับระบบป้องกันน้ำท่วมอุโมงค์ ที่หลายคนสนใจให้ความเป็นห่วง โดยการออกแบบปากอุโมงค์ 2 ด้าน จะไม่ให้น้ำฝนภายนอกไหลเข้า จะมีน้ำฝนบริเวณปากอุโมงค์ได้เข้าเท่านั้น และน้ำที่ไหลเข้ามาจะมารวมในถังพัก ติดตั้งเครื่องสูบน้ำสูบออก 4 เครื่อง ทำงานเรียงลำดับตามปริมาณน้ำ หากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง จะมีเครื่องปั้นไฟฟ้าพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 12 ชม. ซึ่งสามารถนำน้ำมันมาเพิ่มได้ และหากระดับน้ำสูงเกิดจะแสดงป้ายห้ามใช้อุโมงค์ ”

นายสุเทพ บุญตะโก วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง ตอบข้อซักถามด้วยว่า หลังจากการส่งมอบทางต่างระดับ สนง.แขวงทางหลวงอุดรธานี 1 จะเข้ามาควบคุมกำกับดูแลทางต่างระดับนี้ ทั้งเรื่องการจัดบุคลากร เข้ามาควบคุมดูแลความปลอดภัย ตลอด 24 ชม. การเข้ามาซ่อมแซมบำรุงรักษา ครุภัณฑ์วัสดุอุปกรณ์ และการดูแลภูมิทัศน์ และความสะอาด ทั้งนี้จะประสานงานกับหน่วยข้างเคียง โดยจะมีการซ้อมรับมืออุบัติภัย บ่ายวันที่ 23 พ.ย.นี้ หลังจากช่วงเช้ามีการจัดกิจกรรม เดิน-วิ่ง-ปั่น

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ปกติทางต่างระดับทั่วๆ จะมีระเบียบห้ามรถบางประเภทใช้เส้นทาง ประกอบไปด้วยรถจักรยาน 2ล้อ-จักรยานยนต์ทุกขนาด-สามล้อ สำหรับทางแยก 3 ระดับอุดรธานี-หนองคาย ที่ยังไม่มีการตั้งชื่อเป็นทางการ ยังคงมีข้อห้ามรถประเภทดังกล่าว เข้าไปใช้พื้นที่ในการสัญจร และรอการเปิดอย่างเป็นทางการ ที่คาดว่าจะเป็นวันที่มีการประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.อุดรธานี….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments