วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม16เม.ย.เริ่มใช้มาตรฐานกลิ่นโรงยางคุมเหม็น

16เม.ย.เริ่มใช้มาตรฐานกลิ่นโรงยางคุมเหม็น

16 เม.ย.นี้ โรงงานยางและชาวบ้านได้ลุ้น แก้เหม็นได้ผล หรือต้องปิด รง. จากการบังคับใช้ครั้งแรก มาตรฐานกลิ่น รง.ยาง กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่พบโรงงาน-ชาวบ้าน แจ้งขั้นตอนผลพวง “หนองนาคำโมเดล” อุดรธานี

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ห้องประชุมชั้น 6 โรงแรมประจักษ์ตรา ดีไซน์ เทศบาลนครอุดรธานี พ.ต.ท.ชินโชติ พุฒิวรรธธาดา ผู้ตรวจราชการพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมปฏิบัติการ “แนวทางการดำเนินงาน ตามมาตรฐานควบคุมค่าความเข้มกลิ่นจากโรงงานผลิตยาง” เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมบังคับใช้ “ค่ามาตรฐานความเข้มกลิ่นจากโรงงานผลิตยาง” ในวันที่ 16 เมษายน 2563

มีนายวิรุฬห์ ฤกษ์ธนะขจร ผอ.สนง.สิ่งแวดล้อม ภาค 9 นำนายสายัณห์ หมีแก้ว ผอ.ส่วนควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 9 และผู้แทนกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมวลพิษ ร่วมกันให้ความรู้ความเข้าใจกับ ตัวแทนประชาชนอาศัยรองโรงงานยางแท่ง 6 แห่ง ในพื้นที่ จ.อุดรธานี ประกอบด้วย บ.ศรีตรัง แอโกร อินดัสทรี จก.(มหาชน) , บ.วงษ์บัณฑิต จก. , บ.ไทยฮั้วการยาง จก. , บ.กวางเขิง รับเบอร์ จก. , บ.ซูนิไทยรับเบอร์ จก. และ โรงงานยาง 5 การยางแห่งประเทศไทย

ผู้แทนกรมควบคุมมวลพิษ ชี้แจงว่า ปัญหากลิ่นโรงยางเกิดทั่วประเทศ “หนองนาคำโมเดล” เป็นตัวอย่างการแก้ปัญหา เมื่อชาว ต.หนองนาคำ อ.เมืองอุดรธานี ออกมาเรียกร้องและเก็บข้อมูล แม้ว่าโรงงานจะพยายามปรับปรุงแก้ไข ทั้งน้ำเซรั่มรั่วไหลระหว่างขนส่ง , การบำบัดน้ำเซรั่มและน้ำเสีย , กองยางก้อนถ้วยกลางแจ้ง และการกำจัดกลิ่นจากกระบวนการอบยาง ก็ทำได้เพียงลดความรุ่นแรงและความถี่ลงบ้าง

ในครั้งนี้จะได้นำประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าความเข้มกลิ่นโรงงานผลิตยาง ได้กำหนดให้ตรวจวัดค่าความเข้มข้นกลิ่น โดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม 1.กลิ่นจากปล่องโรงงานไม่เกิน 2,500 หน่วย และ 2.กลิ่นริมรั้วโรงงานไม่เกิน 30 หน่วย ใช้บังคับการโรงงานยางทั่วประเทศ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ใน พรบ.โรงงานอุตสาหกรรม และ พรบ.สาธารณะสุข

ผู้แทนกรมควบคุมมวลพิษ ชี้แจงด้วยว่า การตรวจเก็บกลิ่นจะทำแบบเปิดเผย ประชาชนในพื้นที่จะมีส่วนร่วม นำสู่การฝึกปฏิบัติกับเครื่องจริง ประกอบไปด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบ ความเร็วและทิศทางลม ก่อนทำการเก็บตัวอย่างอากาศ ด้วยการปั้มอากาศเข้าไปเก็บ ในถุงพลาสติกเก็บตัวอย่าง ตลอดจนวิธีการเก็บตัวอย่าง เพื่อส่งเข้ารับการตรวจพิสูจน์ในส่วนกลาง ตลอดจนการบันทึกข้อมูล

ที่ประชุมได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุม สอบถามข้อสงสัย ข้อเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็น ที่สอดคล้องกันทั้ง 5 โรงงาน คือ ความรุ่นแรงของกลิ่นจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวทุกปี การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา แม้โรงงานใช้เงินลงทุนสูงแก้ไข ก็ยังจัดการกลิ่นไม่เด็ดขาด โดยเฉพาะในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ ต.หนองนาคำ มีกลิ่นเหม็นรุนแรงระดับ 5 ทำให้แกนนำประกาศขายบ้าน แม้จะรู้ว่าไม่มีคนซื้อก็ตาม และก็มีความหวังกับค่ามาตรฐานกลิ่น

พ.ต.ท.ชินโชติ พุฒิวรรธธาดา ผู้ตรวจราชการพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้เข้ามาติดตามแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนประชาชน และรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ ที่ผ่านมายังมีปัญหาเรื่องกฎหมาย และงานวิชาการ ทำให้ช่วงต้นๆเราทำได้เพียง การขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ด้วยการทำบันทึกข้อตกลง อาทิ การติดตั้งถึงเก็บน้ำเซรั่มในรถบรรทุก ไม่ให้รั่วไหลลงถนนส่งกลิ่นเหม็น และเป็นสาเหตุถนนลื่นเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจังหวัดดำเนินการไปก่อนแล้ว

“ การที่นักวิชาการชี้ว่า ยางก้อนถ้วย+น้ำ+จุลินทรีย์ จะทำให้โปรตีนในยางเน่าและเหม็น ก็ได้ทำข้อตกลงรับซื้อยางก้อนถ้วยความชื้นต่ำ หรือซื้อยางเครฟแทน และจากปัญหาโรงงานยาง ไม่เคยมีค่ามาตรฐานกลิ่นมาก่อน การใช้อำนาจทางปกครอง จะเกิดการฟ้องร้องหน่วยงานได้ จึงยกร่างค่ามาตรฐานกลิ่นขึ้นมา ซึ่งค่ามาตรฐานนี้เป็นความเห็นทางวิชาการ การนำมาปฏิบัติใช้จริงกำลังจะเกิด จึงต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม และค่ามาตรฐานอาจจะปรับลดหรือสูงขึ้นได้ ”

ผู้ตรวจราชการพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ค่ามาตรฐานกลิ่นโรงงานยาง ถือเป็นเครื่องมือสำคัญบอกว่า โรงงานไหนกลิ่นเหม็นเกิน และจะต้องปรับปรุงแก้ไข หยุด หรือปิด จะมีขั้นตอนการตรวจติดตามชัดเจน ก่อนที่จะดำเนินการจึงมาทำความเข้าใจ กับทั้งโรงงานยางและประชาชน เริ่มในพื้นที่อุดรธานีเป็นแห่งแรก ซึ่งอาจจะนำไปสู่การพัฒนาจากการดมกลิ่น เป็นเครื่องมือที่ทันสมัย และงานวิจัยเพื่อช่วยจัดการกลิ่นตั้งแต่ต้นทาง….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments