วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
Google search engine
หน้าแรกศิลปวัฒนธรรมจิตอาสาเขียนลายบ้านเชียงเสาทางแยก 3 ระดับ

จิตอาสาเขียนลายบ้านเชียงเสาทางแยก 3 ระดับ

แยกทางต่างระดับอุดรธานีสู่อินโดจีน ศิลปินจิตอาสา คณาจารย์ นักศึกษา มรภ.อุดรธานี จรดปลายพู่กันเขียนลายบ้านเชียง บนภาชนะนูนต่ำที่เสาทางต่างระดับ 40 ใบ ลายไหบ้านเชียง 4 ใน 10 วัตถุโบราณสำคัญที่สุดของไทย ถูกนำมาไว้สี่แยกทางเข้า-ออกเมือง

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 บริเวณทางต่างสามระดับ อุโมงค์-ทางข้าม-ระดับ บายพาตอุดรธานี-หนองคาย ที่สร้างความฮือฮาผนังอุโมงค์ลายผ้าขิด “ขันหมากเบ็ง” ช่วงทดสอบใช้งาน นายสุเทพ บุญตะโก วิศวกรควบคุมโครงการฯ , ผศ.สิงขร ภักดี พร้อมคณะ อ.จุรีรัตน์ โยธะคง , อ.อัมรินทร์ บุพศิริ , อ.ศักดิ์สิทธิ์ บัวยำ , อ.พันสา แสนวง และนักศึกษา ปี 1-4 สาขาวิชาวรรณศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มรภ.อุดรธานี กว่า 100 คน ในนามกลุ่มฯศิลปินจิตอาสา ร่วมกันเขียนลายบ้านเชียง ภาชนะนูนต่ำที่เสาทางข้าม

นายสุเทพ บุญตะโก วิศวกรควบคุมโครงการฯ เปิดเผยว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดท่านก่อน (นายวัฒนา พุฒิชาติ) มอบหมายให้นายธนันชัย สามเสน อดีตประธานหอการค้า จ.อุดรธานี เป็นแกนนำรวบรวม “ศิลปินจิตอาสา” มาช่วยทำให้ทางต่างระดับ มีอัตลักษณ์เป็นของอุดรธานี ผนังอุโมงค์ได้ทำไปแล้ว ส่วนเสาทางข้าม 20 เสา ต้องการปรับรูปภาชนะนูนต่ำ ให้เป็นไหลายบ้านเชียงรูปแบบต่างๆ แต่เนื่องจาก ทีโออาร์. กำหนดความกว้างและสูงไว้ จึงปรับรูปแบบภาชนะเพียงใกล้เคียง

“ หลังจากเปิดใช้อุโมงค์ไปแล้ว คณะทำงานมาคุยกันอีกครั้ง มอบหมายให้ มรภ.อุดรธานี ไปศึกษาข้อมูลพร้อมกัน ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง แล้วสรุปออกมาว่าภาชนะนูนต่ำ หรือครึ่งใบ 40 จุด จะเขียนลวดลายบ้านเชียงประยุกต์ 40 ลาย โดยผู้รับจ้างได้จัดหาสี (อะคริลิค)และอุปกรณ์ให้ ส่วนโครงการฯดูแลอำนวยความสะดวก อาหาร น้ำดื่ม ผมทำงานมาหลายสิบปีทั่วประเทศ ไม่เคยเห็นความตั้งใจ และความร่วมมือ ของคนท้องถิ่นมากแบบนี้ บอกได้ว่าเป็นอุดรโอลี่ ”

ผศ.สิงขร ภักดี สาขาวิชาวรรณศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มรภ.อุดรธานี อธิบายว่า ภาชนะที่จะเขียนลายบ้านเชียง ทำด้วยวัสดุผสม GRC ส่วนผสมไฟเบอร์กับซีเมนต์ สูง 260 ซม. ฟอร์มภาชนะเหมือน “คนโท” มากกว่า “ไหบ้านเชียง” ลวดลายบ้านเชียงที่เขียน นำมาจากลวดลายจริง แล้วดีไซน์ให้เข้ากับภาชนะ โดยเลือกลายบ้านเชียงกว่า 80 ลาย มาคัดเลือกจนเหลือ 40 ลาย โดยนำลวดลายไปดีไซด์เข้ากับภาชนะ นำร่างลวดลายไปร่างที่วัตถุจริง จากนั้นจึงใช้พู่กันลงสีด้วยมือ

“ ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง มีวัตถุโบราณที่รับยกย่องเป็น 7 มหัศจรรย์ ได้ถอดแบบลวดลายไห 4 ใบ มาเป็นผลงาน 5 ชิ้น นำมาใช้เขียนเสาบริเวณลอดใต้ทางต่างระดับจาก จ.หนองคาย เสาแรกจะเป็นลายหน้ายิ้ม หรือคนยิ้ม เป็นการต้อนรับผู้มาเยือน , เสาที่สองเป็นลายคนสวมใส่เสื้อผ้า บอกว่าบ้านคนบ้านเชียงทอผ้าใช้มากว่า 5 พันปี และอุดรธานียังสืบสานต่อยอด เป็นศูนย์กลางผ้าทอมือลุ่มน้ำโขง ส่วนถนนขาออก เสาแรกเป็นภาพสัตว์อาจจะเป็น แมลง สัตว์เลื้อยคลาน หรือกบ เสาที่สองเป็นภาพกวาง หรือวัว-ควาย ทั้งสองภาพบงบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ ”

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า “วัตถุโบราณ 7 มหัศจรรย์” เป็นวัตถุโบราณอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี คือ วัตถุโบราณ 7 ใน 10 ชิ้น ที่ได้รับการคัดเลือก และยกย่องว่าสำคัญมากที่สุดของประเทศไทย มีองค์ประกอบ หายาก , มีเพียงชิ้นเดียว , มีเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถอธิบายถึงวิถีชีวิตของคนในยุคนั้น ประกอบด้วย เครื่องเหล็กและเครื่องสำริด 3 ชิ้น และเป็นไหบ้านเชียง 4 ชิ้น และลวดลายใน 4 ชิ้น ถูกนำเขียนไว้ 5 ใน 40 ลวดลาย ใต้ทางข้ามทางต่างสามระดับอุดรธานี….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments