วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม4อ่างอุดรฯระบายเพิ่ม“ลำห้วยหลวง”ล้นท่วม 2 อำเภอ

4อ่างอุดรฯระบายเพิ่ม“ลำห้วยหลวง”ล้นท่วม 2 อำเภอ

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ว่าอุดรธานีมีฝนตกลงต่อเนื่องกว่า 2 สัปดาห์ ทำให้น้ำไหลเข้าอ่างฯในพื้นที่ “ลุ่มน้ำห้วยหลวง” จนปริมาณน้ำมากกว่า 80 % ของความจุ ทำให้ได้ระบายน้ำออกไปก่อนหน้านี้ และต้องระบายน้ำออกเพิ่มขึ้นอีก ประกอบด้วย อ่างฯห้วยหลวง ความจุ 135 ล้าน ลบม. มีน้ำ 133.4 ล้าน ลบม. หรือ 98.66 % ได้ระบายเพิ่มจาก 14.5 ล้าน ลบม./วัน เป็น 17.96 ล้าน ลบม./วัน จากนั้นไหลมาสมทบกับน้ำจากลำห้วยเชียง และลำห้วยยาง ที่ประตูน้ำบ้านหัวขัว อ.กุดจับ จ.อุดรธานี ทำให้ต้องยกประตูขึ้นทั้ง 3 บาน ระบายน้ำผ่านบริเวณนี้รวม 19.520 ล้าน ลบม./วัน ซึ่งลดลงกว่าวานก่อนที่ระบายออก 21.26 ล้าน ลบม./วัน

น้ำที่ระบายมาลงลำห้วยหลวง ได้ไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ของประชาชนเริ่มจาก ต.เชียงเพ็ง อ.กุดจับ , ตามด้วย ต.เชียงยืน ต.นากว้าง ต.หมูม่น อ.เมืองอุดรธานี โดยเฉพาะถนนระหว่าง ต.เชียงยืน อ.เมือง กับ ต.เชียงเพ็ง อ.กุดจับ มีน้ำท่วมถนนเป็นช่วง ๆ รถเล็กผ่านไม่ได้ ทต.เชียงเพ็ง , อบต.เชียงยืน พร้อมเจ้าหน้าที่ทหาร , อพปร. และอาสาสมัคร เข้ามาอำนวยความสะดวกรถผ่านไปมา และมีประชาชนจิตอาสา นำรถปิกอัพยกสูงมาช่วยขนย้าย จยย.

 

โดยที่บ้านหนองบึงมอ ม.9 ทต.เชียงเพ็ง อ.กุดจับ ที่ลำน้ำห้วยหลวง และลำน้ำสาขาไหลผ่าน 4 ลำห้วย และคลองส่งน้ำจากอ่างฯห้วยหลวง 1 สาย ทั้งหมดน้ำได้ไหลล้นตลิ่งและคลอง เข้าท่วมพื้นที่การเกษตรเป็นบริเวณกว้าง และบ้านเรือนราษฎร บ้านที่ตั้งอยู่ในที่ลุ่มต้องอพยพขึ้นมา สัตว์เลี้ยงอยู่เลือกสวนไร่นา ก็ถูกย้ายขึ้นมาอยู่บริเวณบ้าน แล้วไปตัดหญ้าสด หรือนำฟางข้าว มาสะสมไว้ให้สัตว์เลี้ยง ให้เพียงพอในช่วงนี้อย่างน้อย 3-4 วัน

 

นางสุเนตร พลพันธุ์ อายุ 59 ปี ราษฎรบ้านหนองบึงมอ (083-2910024) เล่าว่า เมื่อวานนี้ช่วง 5 โมงเย็น น้ำไหลเข้าหมู่บ้านเร็วมากไม่ถึง 10 นาที ขณะที่ขยายอาหารอยุ่หน้าบ้าน พอเริ่มเห็นน้ำเริ่มสูงขึ้น ก็ไม่คิดว่าน้ำจะข้ามถนนมาฝั่งบ้าน ก็ค่อยๆเดินเก็บของในบ้าน จากนั้นเดินออกมาก็สวนทางกับน้ำพอดี เก็บอะไรไม่ทันแล้ว ซึ่งน้ำจะไหลเข้าพื้นที่บ้าน เพื่อลงไปที่ต่ำหลังบ้าน แต่เรามีรั้วกันอยู่น้ำไปไม่ได้ ก็ต้องตัดสินใจพังรั้วออกให้น้ำไหล

นางสว่าง ดวงแก้ว อายุ 68 ปี ราษฎรบ้านหนองบึงมอ เล่าว่า บ้านพักอยู่ต่ำกว่าหนังอื่น น้ำไหลมาตั้งช่วงเที่ยงแบบเรื่อย ๆ แต่เราก็เก็บของไม่ทัน ที่ทันก็มาอยู่เนินดินหน้าบ้านคนอื่น ที่ไม่ทันก็จมอยู่ในน้ำ หรือแขวนไว้บนที่สูง ตกเย็นน้ำก็ท่วมหมดแล้ว จน 2 ทุ่มระดับน้ำทรงตัว โดยที่นี่น้ำไม่เคยท่วมสูงแบบนี้ จะก็ปลิ่มๆลำห้วยเท่านั้น รวมทั้งไม่รู้ว่าน้ำจะท่วม เทศบาลฯคงประกาศแต่บ้านอยู่ห่างไม่ได้ยิน

นางนิชกุล เบญจกุล นายก ทต.เชียงเพ็ง (080-7479556) เปิดเผยขณะกำลังเปิดทางน้ำ ที่มีท่อระบายน้ำขนาดเล็ก ให้กว้างขึ้นเร่งระบายลงลำห้วยว่า รับแจ้งการระบายน้ำจากชลประทาน 2 ครั้งๆแรกเมื่อ 5 วันก่อน จากนั้นเมื่อวานก็แจ้งจะระบายเพิ่ม ก็เตรียมกาลรับมือตั้งแต่วันแรก วันนี้มาเปิดทางระบายน้ำเพิ่มเติม (ระหว่างรอรถแบคโฮ) และได้แจ้งการไฟฟ้ามาช่วยย้ายมิเตอร์ไฟฟ้า และตรวจจุดไฟรั่วที่รับแจ้งมาแล้ว น้ำท่วมครั้งนี้ชาวบ้านกว่า 300 ครอบครัวเดือนร้อน คาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาอีก สถานการณ์จะกลับมาปกติใน 3-4 วัน

นายศักดิ์สิทธิ์ คำทึง นายก อบต.เชียงยืน อ.เมือง อุดรธานี (081-9641071) เปิดเผยขณะเดินทางมาตรวจติดตาม จุดอำนวยความสะดวกจุด “คลองส่งน้ำ” ว่า ปีนี้หนักกว่าปี่ที่ผ่านมากว่า 30 % ใน ต.เชียงยืน มีหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมมีราว 7 หมู่บ้าน บ้านป่อง-จำปา-หนองหลอด-เชียงยืน-อีหลุ่ง-บางบ้านมีหลายหมู่ แต่ที่ท่วมหนักจนถนนทางเข้าออกต้องใช้เรือคือ บ้านจำปา กับบ้านป่อง เราส่งเรือท้องแบนเข้าไปที่บ้านจำปา และที่บ้านป่องมีอาสาสมัครจากมูลนิธิฯมาช่วยเพิ่ม

“ ก่อนหน้าที่โครงการชลประทานห้วยหลวง แจ้งว่าจะต้องยกบานระบายน้ำเพิ่มอีก ขณะนี้น้ำท่วมใน 7 หมู่บ้านนี้ ถ้าไม่มีฝนตกลงมาอีก เมื่อน้ำทรวงตัวก็จเริ่มลดลง ไหลไปท่วมต่อที่หมู่ 17 , 18 บ้านบ่อน้อย , บ้านนาเยีย และตำบลอื่นตามลำห้วยหลวงต่อไป ขณะนี้ได้ขอกำลังสนับสนุจาก มทบ.24 มาช่วยในพื้นที่ และเย็นนี้ได้เตรียมเรื่องข้าวห่อ ไว้ในพื้นที่เออกหมู่บ้านลำบาก ”

ขณะที่“อ่างฯหนองสำโรง” ทิศเหนือของเมืองอุดรธานี ความจุ 11.4 ล้าน ลบม. มีน้ำ 11.53 ล้าน ลบม. หรือ 101.1 % ยังคงระบายน้ำออก 2.75 ล้าน ลบม./วัน(เท่าเดิม) ซึ่งไหลไปลงลำห้วยหลวง ก่อนถึงสะพานรถไฟบ้านท่าตูม ต.นาข่า อ.เมืองอุดรธานี , อ่างบ้านจั่น ทิศใต้ของเมืองอุดรธานี ความจุ 4.35 ล้าน ลบม. มีน้ำ 4.95 ล้าน ลบม. หรือ 113.9 % ต้องระบายน้ำออกเพิ่มจาก 4.4 แสน ลบม./วัน เป็น 7.9 แสน ลบม./วัน และ “อ่างกุดลิงง้อ” ทิศตะวันตกของเมืองอุดรธานี ความจุ 6.44 ล้าน ลบม./วัน มีน้ำ 5.70 ล้าน ลบม.ต่องระบายออก 0.75 แสน ลบม./วัน น้ำส่วนนี้ก็จะไปไหลลงลำห้วยหลวง จะส่งกระทบกับพื้นที่ ถนนมิตรภาพฝั่งตะวันออก ต.นาข่า , ต.สามพร้าว และต่อไปจนออกน้ำโขงที่ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย

นายสุนทร ศรีคำเมือง ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง เปิดเผยว่า ในรอบ 3 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักในพื้นที่เหนือเขื่อน มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนถึง 42 ล้าน ลบ.ม. ก่อนหน้านี้เมื่อ 11 ก.ย.66 เราได้ประกาศฉบับที่ 1 ว่าเราจะระบายน้ำ 13 ก.ย.66 เตือนประชาชนที่อยู่ท้ายอ่างฯ เริ่มที่ 6-7 แสน ลบม./วัน เมื่อฝนตกหนักปริมาณน้ำไหลเข้ามาสูงมาก จึงออกประกาศฉบับที่ 2 และเพิ่มการระบายน้ำออกมาตามลำดับ ตามปัจจุบัยน้ำไหลเข้าอ่างฯ จนวันนี้ระบายน้ำออกไป 17.96 ล้าน ลบม.

“ บ่ายวันนี้หากไม่มีฝนตกลงมาหนักอีก คาดว่าเราจะลดการระบายน้ำลง และคาดว่าประมาณ 2-3 วัน น้ำในลำห้วยหลวงจะลดปริมาณลงปกติ และจากการประชุมร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงเช้าวันนี้ ได้ให้ข้อมูลว่า นับจากนี้ไปปริมาณน้ำฝนจะเริ่มลดลง ทำให้ปริมาณน้ำที่จะไหลเข้าเขื่อนก็จะเริ่มลดลงตาม แต่เราก็จะดูให้มั่นใจในช่วงบ่ายวันนี้ว่า จะสามรถลดการระบายลงได้เท่าไรเช่นกัน ”

ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง เปิดเผยต่อว่า เราพยายามจะรักษาความสมดุลน้ำให้มากที่สุด เพื่อไว้ใช้อย่างพอเพียงในช่วงหน้าแล้ง หลังทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ว่าเกิดภาวะ “เอลนีโญ” หรือเกิดภัยแล้งรุนแรงในพื้นที่ภาคอีสาน ทางเราจึงต้องเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะอ่างฯห้วยหลวงต้องส่งน้ำผลิตประปาปีละ 40 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งน้ำเพื่ออุตสาหกรรม น้ำเพื่อการเกษตร และน้ำล่อเลี้ยงระบบนิเวศน์ในลำห้วยหลวงด้วย….

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments