วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Google search engine
หน้าแรกการศึกษานำร่องบัณฑิตอาสา“บ้านห้วยสำราญ”อุดรธานี

นำร่องบัณฑิตอาสา“บ้านห้วยสำราญ”อุดรธานี

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ห้องประชุม อาคาร 17 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) พร้อมคณะ ร่วมประชุมหารือ “บทบาทของมหาวิทยาลัย กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” นายวันชัย จันทร์พร รอง ผวจ. อุดรธานี , ผศ.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดี มรภ.อุดรธานี , ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณาจารย์ มรภ.อุดรธานี หอการค้า สภาอุตสาหกรรม เพื่อให้นโยบายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.อว. กล่าวว่า มาพบกันในวันนี้เพื่อการสื่อสาร หมดเวลาแถลงนโยบายกันแล้ว เพื่อเตรียมคนไทยเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 กระทรวง อว.มี 3 ภารกิจต้องจัดการ คือ การสร้างคน , สร้างองค์ความรู้จากงานวิจัย และการนำงานวิจัยสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เพื่อตอบสนองการขับเคลื่อน บีซีจี.เชิงพื้นที่ โดยการสร้างคน คือเรื่องของงาน “เยาวชนสร้างชาติ” ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรม

ดร.สุวิทย์ ได้ประกาศเจตนารมณ์การสร้างคน ผ่านโครงการยุวชนสร้างชาติ ว่า เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญ ในการพัฒนาประเทศ และเป็นโครงการสำคัญในการปฏิรูปประเทศไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยการใช้พลังเยาวชนไทย เป็นกุญแจหลักในการขับเคลื่อนประเทศ พร้อมทั้งปฏิรูประบบการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน เปิดโอกาสให้เยาวชนนำความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีไปพัฒนาชนบท พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการยุคใหม่

“ 3 โครงการหลัก ได้แก่ 1.โครงการยุวชนอาสา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 กลุ่มละ 8-10 คนแบบคละศาสตร์ (วิทย์-สังคม) เรียนรู้และพักอาศัยในชุมชน 1 ภาคเรียน จะได้รับหน่วยกิตเทียบเท่าการเรียนในชั้นทั้งภาคเรียน , 2.โครงการบัณฑิตอาสา สำหรับบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 3-5 ปี กลุ่มละ 8-10 คนแบบคละศาสตร์ (วิทย์-สังคม) ลงพื้นที่พักอาศัย และทำโครงการในชุมชน 12 เดือน และ 3.โครงการกองทุนสตาร์ทอัพ สำหรับนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ ที่ต้องการรวมกลุ่มกันจัดตั้งสตาร์ทอัพ ”

ดร.สุวิทย์ฯ กล่าวด้วยว่า ได้นำคณะลงพื้นที่นำร่องบัณฑิตอาสา บ้านห้วยสำราญ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี กิจกรรม ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไม้ดอกใหญ่สุดของภาคอีสาน เพื่อตัดดอกขายและท่องเที่ยว มีปัญหาพันธุ์ไม้ดอกกลายพันธุ์ , โรคโคนเน่า , ใบแห้ง , แมลงเพลี้ยไฟระบาด , ขาดแรงงาน , ระบบน้ำไม่ทั่วถึง , การใช้สารกำจัดศัตรูพืชสูง เกษตรกรยังไม่ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบ ทั้งยังมีต้นทุนการผลิตสูง ถูกกดราคา ขาดการวางบแผน การผลิต สินค้าล้นตลาด รวมกลุ่มไม่ได้ ตลาดชุมชนไม่เป็นระบบ มีปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย บัณฑิตอาสาจะเป็นฟันเฟืองเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่

นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร (สอก.) ได้นำเสนอ “หนองไฮโมเดล เกษตรพื้นบ้าน สู่เกษตรปลอดสาร มาตรฐาน GAP” รวม 16 หมู่บ้าน พื้นที่ 51,250 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 90 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วย ข้าว 900 ไร่ , มันสำปะหลัง 10,500 ไร่ , อ้อย 20,000 ไร่ , พืชผัก 1,250 ไร่ และไม้ตัดดอก 900 ไร่ ซึ่งมีการใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลงมาอย่างต่อเนื่อง

“ บัณฑิตอาสา ยุวชนสร้างชาติ จะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ในการพัฒนายกระดับการปลูกพืชผัก และไม้ตัดดอก 2,150 ไร่ สร้างโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่ ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ ลดความเลื่อมล้ำ จากระดับหมู่บ้านขยายครอบคลุมทั้งตำบล ตามขั้นตอน รับสมัครบัณฑิต , จัดฝึกอบรม , ติดตามประเมินผล , กำกับดูแลบัณฑิต , จัดบัณฑิตลงชุมชน , ให้คำปรึกษาแนะนำ และขับเคลื่อนโครงการบัณฑิตอาสา กับคณะกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments