วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
Google search engine
หน้าแรกศิลปวัฒนธรรม7 หมื่นรำบวงสรวงกรมหลวงประจักษ์ฯ

7 หมื่นรำบวงสรวงกรมหลวงประจักษ์ฯ

องคมนตรีประธานพิธี อุดรธานีลุเข้าสู่ปีที่ 127 “คุณน้ำผึ้ง”รำบวงสรวงร่วมชาวอุดร 7 หมื่น เปลี่ยนสีถนนเป็นสีแสด 5 สาย “ตุ๊กกี้ ชิงร้อย” มาตามนัดปีที่ 6 ติดต่อกัน

เมื่อเวลา 07.00 น.วันที่ 18 มกราคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี บริเวณอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี และเทศบาลนครอุดรธานี ประกอบพิธีฉลองการก่อตั้งเมืองอุดรธานี ลุเข้าสู่ปีที่ 127 เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ และพระเกียรติคุณ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ต้นราชสกุล “ทองใหญ่” ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี

โดยมีนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานในพิธี หม่อมราชวงศ์ ทองน้อย ทองใหญ่ นำราชสกุล “ทองใหญ่” ม.ล.สราลี กิตติยากร , นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี นำหัวหน้าหน่วยราชการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ คหบดี พ่อค้า ประชาชนเข้าร่วมพิธี เริ่มตั้งแต่ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 128 รูป ประกอบพิธีสงฆ์ 10 รูป ที่ผู้มาร่วมงานสวดมนต์พร้อมกัน เสียงสวดมนต์ดังกระหึ่มทั่วบริเวณ

ตามด้วยประเพณีอีสาน พานบายศรียักษ์เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร สูง 5 เมตร เครื่องประกอบบายศรี 1,228 ชุด การรำบายศรีสู่ขวัญบ้านสู่ขวัญเมือง ของนักศึกษา มรภ.อุดรธานี , ถวายเครื่องสังเวยบูชาพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มีห้างร้าน ประชาชน ร่วมใจกันตั้งโรงทาน แจกข้าวจี่ ข้าวเหนียว หมูปิ้ง อาหารเช้า น้ำดื่ม น้ำผลไม้ ให้นางรำบวงสรวง และผู้มาร่วมงานรับประทานฟรี

เสร็จแล้ว ม.ล.สราลี กิติยากร พระขนิษฐา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ น.ส.สุดารัตน์ บุตรพรหม หรือ “ตุ๊กกี้ ชิงร้อย” พร้อมด้วยสตรีชาวอุดรธานี รวม 7 หมื่นคน รำบวงสรวงสดุดีสตรีชาวอุดรธานี ด้วยการแต่งกายชุดเสื้อสีแสด ผ้าถุงพื้นเมือง และสไบย้อมคราม ทัดดอกทองกวาว ดอกไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี ล้อมรอบพระอนุสาวรีย์ และไปบนถนน 5 สาย ประกอบด้วย ถนนทหาร , ถนนศรีสุข , ถนนโภคานุสรณ์ และถนนสุรการ

พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศ “กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” เป็นข้าหลวงต่างพระเนตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งกองทหารอยู่ริมแม่น้ำโขง จ.หนองคาย หลังจากปราบปรามโจรจีนฮ่อ และประเทศไทยเกิดพิพาทกับฝรั่งเศส จนต้องยอมทำสนธิสัญญา รศ.112

ข้อตกลงหนึ่งคือห้ามประเทศไทย มีกองทหารในรัฐมี 25 กม.ของฝั่งขวาแม่น้ำโขง จึงเคลื่อนกองทหาร และไพร่พลลงมาทางใต้ จนวันที่ 18 มกราคม ร.ศ.112 มาถึงบ้านเดื่อหมากแข้ง ด้วยพระอัจฉริยะภาพมองกาลไกล ทรงเลือกต้องกองทหารที่นี่ บ้านเมืองเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นศูนย์กลางของอีสานตอนบน และกำลังจะเป็นศูนย์กลางอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ฮับ จีเอ็มเอส.) การรำบวงสรวงฯ เริ่มต้นรำเพียง 19 คน จนกลายเป็นประเพณีมาหลายสิบปี และกินเนสบุ๊คได้บันทึกว่า “เป็นการรำไทยที่มากที่สุดในโลก” ….

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments