วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมเชิญผู้ว่าดู รง.ยางดีที่สุดในโลกที่ถูกโวยเหม็น 6 ปี

เชิญผู้ว่าดู รง.ยางดีที่สุดในโลกที่ถูกโวยเหม็น 6 ปี

วงศ์บัณฑิตอุดรธานีเชิญผู้ว่าฯ ชมโรงงานแท่งยักษ์ คุยจัดการสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในโลก หลังพบกลุ่มจุลินทรีย์กิน “ซัลเฟอร์” ไม่หวงให้โรงยางอื่นใช้ หนุนให้กำหนด “มาตรฐานกลิ่นโรงยาง” และ “มาตรฐานน้ำกรดหยดยาง” แต่ยังรอดูรายละเอียด ยอมรับพบสารก่อมะเร็งรอบโรงงานเรื่องใหม่ ขอให้ กยท.เป็นหัวหอกหาความจริง ส่วนผู้ว่าฯอุดธานีตั้งทีมเพิ่มเฝ้าระวัง

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 16 ตุลาคม 2561 นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นายปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้อง 11 หน่วยงาน เข้าเยี่ยมชมโรงงานยางแท่งตามคำเชิญของ บ.วงศ์บัณฑิต จก. สาขาอุดรธานี ถ.นิตโย ต.หนองนาคำ อ.เมือง จ.อุดรธานี มีตัวแทน “กลุ่มรักหนองนาคำ” ที่ได้รับเดือดร้อนจากกลิ่นเหม็น เข้าร่วมรับฟังการประกาศตัวเป็น “โรงงานยางพาราขนาดใหญ่ที่มีระบบบริหาร การจัดการสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในโลก”

ที่ห้องประชุมชั้น 2 นายบัณฑิต เกิดวงศ์บัณฑิต กรรมการบริษัท บ.วงศ์บัณฑิต จก. และนายเอกพจน์ มณีรัตน์ ผู้จัดการโรงงาน ร่วมชี้แจงว่า บริษัทฯได้ทุ่มเทเทคนิคคิดค้นมาตรการต่างๆ และนวัตกรรมแก้ไขปัญหากลิ่น นำร่องที่โรงงานอุดรธานี เดินเครื่องจักร 3 โรง ผลิตสูงสุด 1,200 ตันต่อวัน ปีแรกที่มีปัญหาวัตถุดิบมาก จึงเปลี่ยนไม่รับซื้อยางก่อนถ้วย มาซื้อยางเครปที่รีดน้ำออกแทน , ระบบน้ำเสียเพิ่มเติมระบบเติมอากาศ , ใช้ EM ที่เป็นจุลินทรีย์กลุ่ม ซัลไฟล์ออกซิเดชั่น แบคทีเรีย ซึ่งค้นพบสามารถลดกลิ่นได้ดี มาใช้กับกองยางขนาดใหญ่ , พัฒนาการใช้ไบโอสครับเบอร์ โดยใช้จุลินทรีย์ผสมอยู่ในน้ำ ฉีดพ่นในระบบ และอัดอากาศลงใต้น้ำ สามารถกำจัดกลิ่นได้ดี และพร้อมถ่ายทอดให้โรงงานอื่น

นายเอกพจน์ฯ ระบุว่า โรงงานยางแท่งยังไม่มีมาตรฐานกลิ่น จึงต้องใช้การเทียบเคียงมาตรฐานกลิ่น ที่บังคับใช้กับประกาศโรงงาน 23 ประเภท กำหนดค่ากลิ่นริมรั้วไม่เกิน 15 หน่วย ค่ากลิ่นปล่องไม่เกิน 300 หน่วย และเมื่อวันที่ 16-18 มิ.ย.60 ในการเก็บอากาศตรวจครั้งที่ 4 พบที่ปล่องแรก 173.78 หน่วย ปล่องที่สอง 97.72 หน่วย และริมรั้ว 11.12 หน่วย ถือส่าต่ำที่สุดในประเทศ และในโลก และผลตรวจวิเคราะห์สารอินทรีย์ระเหยเร็ว (VOC) เมื่อ 12-14 มิ.ย.61 พบว่าต่ำกว่าโรงงานอื่นมาก และที่กองยางกลางแจ้งต่ำกว่า เก็บยางเก็บไว้ในโกดัง

จากนั้นได้นำผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี พร้อมคณะนั่งรถตรวจโรงงานที่ 1 โดยเปิดประตูรถและหน้าต่างทุกด้าน เพื่อพิสูจน์กลิ่นในจุดที่ผ่าน โกงดังเก็บยาง บ่อบำบัดน้ำเสีย โรงยาง กองยาง โดยยืนยันว่ามีการเดินเครื่องจักรเต็มที่ ก่อนจะแวะดูระบบกำจัดกลิ่น และเดินไปดูกองยางอยู่กลางแจ้ง ที่ชาวบ้านขอให้โรงงาน นำรถมาตักกองยางขึ้น ซึ่งการตักกองยางขึ้นพบว่า สภาพยางแห้งหมดแล้ว มีกลิ่นเหม็นออกมาแต่ไม่รุนแรง จากนั้นนำคณะกลับมาที่สำนักงาน ให้สื่อมวลชนและตัวแทนชาวบ้านสอบถาม

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรกับกรมควบคุมมลพิษ เสนอมาตรฐานกลิ่นโรงานยาง แต่กลุ่มโรงงานต่อต้าน นายบัณฑิตฯ ตอบว่า เรามั่นใจว่าทำให้กลิ่นโรงงาน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่จะกำหนดใหม่ได้ แต่เราไม่สามารถตอบแทนโรงงานอื่น เพราะหลายคนที่ไม่เห็นด้วย ยังไม่รู้เลยว่าตัวเลขของตัวเองเท่าไหร่ การที่จะไปตั้งเกณฑ์ให้เขา ทั้งที่เรายังไม่รู้ตัวเลขอาจจะไม่เหมาะสม แม้แต่โรงงานของการยางประเทศไทย (กยท.) ก็บอบกว่าโรงงานตัวเองก็ต้องใช้เวลาปรับปรุง เห็นด้วยการทำงานควรมีค่ามาตรฐาน แต่จะเป็นค่าเท่าไหร่ยังให้ความเห็นไม่ได้

จากคำถามผลการตรวจ VOC ล่าสุด พบสิ่งแปลกปลอมหลายตัว ทางวิชาการระบุว่าเป็นสารก่อโรคมะเร็ง ได้รับคำตอบว่า เป็นเรื่องใหม่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นผลการตรวจเมื่อไม่กี่เดือนนี้เอง โดยยางพาราเป็นสินค้าธรรมชาติ เราไม่ได้เพิ่มเติมสารเคมีในการผลิต ได้ส่งเรื่องนี้ให้การ กยท.ศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม ว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร การศึกษาเพิ่มเติมอย่างไร เราคงจะไม่ศึกษาเอง อยากให้เป็นบุคคลที่สาม จะได้ผลน่าเชื่อถือที่สุด จะเป็นงานใหญ่พอสมควรที่ทั้งรัฐ เอกชน เกษตรกร และอาจจะเชิญ สกว.มาทำงานรวมกันด้วย

นายบัณฑิตฯ ตอบคำถามมาตรฐานน้ำกรดหยดยาง ที่ยังไม่เคยกำหนดมาตรฐานมาก่อนด้วยว่า น้ำกรดหยดยางมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โรงงานยางเราที่อุดรธานีเป็นโรงงานแรก ที่ใช้ยางเครปร้อยเปอร์เซ็นต์ น้ำกรดจึงถูกรีดออกไปก่อนแล้ว เมื่อนำมากองให้จุลินทรีย์ทำงาน คุณภาพยางออกมาก็ดีขึ้น ยอมรับว่ากรดที่ใช้อยู่บางตัว เป็นส่วนหนึ่งทำให้มีกลิ่นเหม็น ในทุกกระบวนการผลิต แต่ก็เห็นด้วยกับการตั้งค่ามาตรฐานน้ำกรดหยดยาง แต่ยังไม่รู้ว่าจะตั้งค่ามาตรฐานอย่างไร

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ให้สัมภาษณ์ว่า ผู้ว่าฯท่านก่อนได้ออกแบบ การแก้ไขปัญหามาตามลำดับ ตนมารับต่อก็ไม่ได้วางตลอด 365 วัน เข้าออกทั้ง 2 โรงงานมา 4-5 ครั้ง พยายามหาผู้รู้มาแก้ไขปัญหา ขณะหลายหน่วยงานก็เขามาช่วย ซึ่งเราพยายามแก้ไขทั้งระบบ เดิมมีคณะทำงาน 3 ชุด เรื่องการใช้กรดที่เหมาะสม , แก้อุบัติเหตุจากน้ำเซร่ำรั่วไหลลงถนน และแก้ปัญหาโรงงานไม่ใช่แค่ 2 โรงนี้ ล่าสุดมีคณะทำงานชุดที่ 4 ติดตามเรื่องสารแปลกปลอมที่ตรวจพบกระทบต่อสุขภาพ

“ 5 จังหวัดกลุ่มสบายดีเห็นว่า ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจ จะสร้างรายได้ให้พี่น้องประชาชน มีพื้นที่ปลูกมากถึง 1.5 ล้านไร่ มีบึงกาฬเป็นจังหวัดยางพารา ได้เสนอต่อการประชุม ครม.สัญจร จ.เพชรบูรณ์ และประกาศให้ทั้งกลุ่มสบายดี เป็นคัสเตอร์ยางพารา ในการพัฒนาต่อยอด ผลิตนวัตกรรมต่างๆของยางพาราขึ้นมา ปัญหากลิ่นเหม็นกระทบประชาชน เวลาผมออกดูงานละแวกนี้ ก็ยอมรับว่าได้กลิ่น และรู้สึกคันตามผิวหนัง คงจะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายแก้ไข ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments