วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมขอคืนพื้นที่เช่าบางจุดสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง

ขอคืนพื้นที่เช่าบางจุดสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง

รับฟังความเห็นรอบแรก “รถไฟความเร็วสูง” สถานีหันหน้าไปหนองบัว-เฉือนที่ดินเช่าบางส่วน-ยกระดับสามจุด

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดเวที รับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วง กทม.-หนองคาย ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ที่ศูนย์ประชุมมลฑาทิพย์ฮอลล์ ทน.อุดรธานี มีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ร่วมรับฟังคำชี้แจงจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย และ 8 บริษัทที่ปรึกษา

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูง กทม.-หนองคาย เป็นโครงการขนาดใหญ่มาก กำลังก่อสร้างในระยะแรก กทม.-นครราชสีมา ขณะระยะที่ 2 จะต้องมารับฟังความคิดเห็นประชาชน แน่นอนโครงการขนาดใหญ่ จะกระทบสิ่งแวดล้อม-สังคมอยู่บ้าง จึงเปิดโอกาสให้รับฟังความคิดเห็น เพื่อให้โครงการสร้างประโยชน์สูงสุด และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรก และจะมีการประชุมกลุ่มย่อยอีก ขอให้ประชาชนเฝ้าติดตาม การศึกษาครั้งนี้ต่อเนื่อง

ทั้งนี้ที่ปรึกษาโครงการ ร่วมชี้แจงโครงการว่า ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ครอบคลุม 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ระยะทางราว 356 กม. มีสถานีรถไฟ 5 สถานี ได้แก่ บัวใหญ่ , บ้านไผ่ , ขอนแก่น , อุดรธานี , หนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง สถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุง 4 แห่ง ที่อุดรธานี อยู่ที่สถานีโนนสะอาด จ.อุดรธานี ขนาดราง 1.435 เมตร

รถไฟมีความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ขบวนรถยาว 200 ม. จุดคนได้ 600 คน ระยะทางรวม 356 กม. มีจุดตัดทางรถไฟ 241 แห่ง จะก่อสร้างในรูปแบบ สะพานรถไฟ , สะพานรถยนต์ , สะพานกลับรถรูปตัวยู , ทางลอดทางรถไฟ และทางบริการ ขณะโครงการสร้างรถไฟเป็นแบบระดับดิน และยกระดับ โดยช่วงผ่านอุดรธานี จะยกระดับที่ สถานีกุมภวาปี , สถานีห้วยเกิ้ง และนครอุดรธานี ใช้เวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯ-หนองคาย 3 ชม. 15 นาที

นอกจากนั้นรถไฟทางคู่(เดิม) จะอยู่ด้านซ้ายของขาขึ้น ส่วนรถไฟความเร็วสูง จะอยู่ด้านขวาของขาขึ้น ทั้งในส่วนของรางรถไฟ และสถานที ซึ่งสถานีอุดรธานียังอยู่บริเวณสถานีเดิม เป็นอาคารสถานี 3 ชั้น (หันหน้าไปหนองบัววังมัจฉา) , ลานจอดรถ พื้นที่พักคอย และพื้นที่ธุรกิจ ตัวชานชราจะอยู่ชั้น 3 มีทางเชื่อมกับอาคารรถไฟทางคู่ ทั้งนี้ขอบเขตการใช้พื้นที่ อยู่ในพื้นที่ของการรถไฟทั้งหมด โดยพื้นที่เช่าบางส่วนจำเป็นต้องขอคืน อาทิ ไพร์ม สแควร์(บางส่วน) และศาลเจ้าปู่ย่า (ประตู)

การออกแบบอาคารสถานีอุดรธานี อัตลักษณ์ท้องถิ่นสถาปัตยกรรมภายนอก ประกอบด้วย ฝาผนังเรือนบ้านอีสาน , ราวระเบียงพื้นบ้านอีสาน , ลวดลายหน้าบัน , เรือนไทยเสากลมพื้นถิ่น และลายผ้าทออีสาน ส่วนอัตลักษณ์ท้องถิ่นสถาปัตยกรรมภายใน ประกอบด้วย ลวดลายดินเผาบ้านเชียง , ลายผ้าทออีสาน , ผสมผสานแนวคิดหลัก คือ องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

ข้อมูลที่ระบุเป็นข้อมูลเบื้องต้น อาจะมีการเปลี่ยนแปลง หลังจากมีการรับฟังความคิดเห็น ในกระบวนการการมีส่วนร่วม สามารถติดตามความคืบหน้า และรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่ www.hsrkorat-nongkhai.com หรือทางแฟนเพจ www.facebook.comhsrkorttononghai “โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments