วันพุธ, ตุลาคม 9, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมเลือกอ่างห้วยคล้ายนำร่องจัดการน้ำอัจฉริยะ

เลือกอ่างห้วยคล้ายนำร่องจัดการน้ำอัจฉริยะ

เลือกอ่างห้วยคล้าย กันเนื่องจากพระราชดำริ และปิดทองหลังพระแห่งแรกอีสาน นำร่องบริหารจัดการน้ำห้วย “เทคโนโลยี 5 จี.”

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ ชั้น 2 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายจำรัส กังน้อย รอง ผวจ.อุดรธานี นำส่วนราชการอุดรธานี ร่วมประชุมกัน นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผอ.สถานบันส่งเสริมและพัฒนากิจการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ , นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาฯคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , นายสุทธิศักดิ์ คันตะโยธิน รองเลขาฯ กสทช. สายงานโทรคมนาคม พร้อมคณะ โครงการนำร่องเกษตรดิจิตอลด้วยเทคโนโลยี 5G สำรับการบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ

บริเวณโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องจากพระราชดำริ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หรือโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็ก อันเนื่องจากพระราชดำริให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และแก้ปัญหาด้านสังคม แรงงานพลัดถิ่นให้กลับสู่ชุมชน และพัฒนาเป็นห้องเรียนปฏิบัติการทางสังคม ในการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

เดิม “อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย” มีความจุ 692,500 ลบม.พื้นที่การเกษตรได้ประโยชน์ฤดูฝน 800 ไร่ ฤดูแล้ง 200 ไร่ โครงการปิดทองหลังพระเข้ามาปี 2554 ตามแนวทาง “เข้าใจ-เข้าถึง-จึงพัฒนา” ด้วยพลังของชาวบ้านที่ “ระเบิดจากข้างใน” มีการเพิ่มระดับเก็บกักน้ำในอ่างฯ , เพิ่มพื้นที่เก็บน้ำในรูปแบบอ่างพวง 3 อ่างฯ , วางท่อเป็นระบบชลประทานด้วยท่อ 6,290 ม. ทำให้ปัจจุบันเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรม ในฤดูฝนเป็น 1,850 ไร่ ฤดูแล้งเป็น 538 ไร่ แต่ก็ยังเกิดปัญหาในบางฤดู ปริมาณน้ำเก็บกักน้ำน้อย บางพื้นที่ไม่สามารถจัดส่งน้ำไปได้ ”

โครงการนำร่องการบริหารจัดการระบบชลประทานอัจฉริยะ จะเข้ามาต่อยอดการบริการจัดการน้ำ ที่เดิมออกแบบต่อท่อน้ำแบบก้างปลา ควบคุมการไหลของน้ำด้วยวาล์ว เปิด-ปิดด้วยมือ และพึ่งพาการจดบันทึกสถิติน้ำในอ่างจากมนุษย์ทุกสัปดาห์ เพื่อนำมาใช้ประชุมคณะกรรมการผู้ใช้น้ำ แล้วคาดการปริมาณน้ำ เพื่อใช้ในการตัดสินใจปล่อยน้ำเข้าสู่ระบบ จึงเกิดความคลาดเคลื่อน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ จึงจะนำระบบทันสมัยมาใช้ และเป็นการนำร่องที่นี่เป็นแห่งแรก เพื่อขยายต่อไปพื้นที่อื่น ๆต่อไป

โครงการนี้เป็นไปตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีรับทราบ ซึ่งคณะทำงานได้ส่งทีมลงสำรวจเบื้องต้น แต่ก่อนเข้าดำเนินโครงการนี้ จะต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ให้เป็นที่ยอมรับและร่วมโครงการ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ภาคในท่อส่งน้ำมากกว่า 150 จุด ในการวัดปริมาณ และเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบ เก็บข้อมูลการใช้น้ำตามจุดนั้น ตลอดจนอุปกรณ์สั่งการทางไกล จะต้องใช้เวลาราว 6 เดือน และน่าจะเป็นการเริ่มเข้าติดตั้งในฤดูฝน

นายจำรัส กังน้อย รอง ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า ไม่ห่วงเรื่องของเทคโนโลยี เชื่อว่าจะสามารถใช้งานได้ดี แต่ก็มีเรื่องห่วงใยที่ต้องช่วยกัน อาทิ เรื่องความเข้าใจของชาวบ้านในพื้นที่ ขอให้ฝ่ายปกครอง และชลประทาน ช่วยติดตามอย่างใกล้ชิด , การสานต่อเทคโนโลยีต่อเนื่อง รวมทั้งการถ่ายโอนอุปกรณ์ ให้หน่วยงานใดดูแลต่อ ซึ่งจะต้องมีพี่เลี้ยงให้ดำเนินการได้ เพื่อส่งต่อให้ผู้รับผิดชอบ หรือผลผลิตทางการเกษตรที่คุ้มค่าการลงทุน โดยการปลูกพืช หรือทำการเกษตรในพื้นที่ ผลผลิตเหล่านั้นจะต้องมีความพิเศษ….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments