วันอังคาร, ธันวาคม 3, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมฝนถล่มอุดร 110 มม.ลำห้วยหลวงล้นสูงขึ้น 37 ซม.

ฝนถล่มอุดร 110 มม.ลำห้วยหลวงล้นสูงขึ้น 37 ซม.

ฝนถล่มเมืองอุดรธานีกลางดึก 110 มม. สถานีสูบน้ำช่วยกู้เมืองก่อนสว่าง แต่นอกเมืองลำห้วยหลวงที่เริ่มลด ยกตัวสูงขึ้นต่อเนื่องรวม 37 ซม. ไหลท่วมบ้านเรือน ถนน พื้นที่การเกษตร ชป.ขอเครื่องผักดันน้ำเพิ่มเป็น 4 เครื่อง ปภ.เร่งสำรวจสิ่งกีดขวางทางน้ำ และสำรวจข้อมูลเพื่อศึกษา สร้างลำห้วยหลวง2 ระบายน้ำลงแม่น้ำโขงเร็วขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 ว่าฝนที่ตกลงมาตลอดทั้งคืน ครอบคลุมทั้งจังหวัด วัดน้ำฝนสูงสุดได้ที่ว่าการ อ.เมืองอุดรธานี 110 มม. ส่งผลให้ถนนใน ทน.อุดรธานี ท่วมขังสูงต้องระดมให้สถานีสูบน้ำ 15 สถานี สูบน้ำออกนอกเมือง จนเช้าในย่านเศรษฐกิจ กลับเข้าสูงสภาวะปกติ ขณะที่ระดับน้ำในลำห้วยหลวง ที่ล้นตลิ่งมานานกว่า 17 วัน ระดับน้ำที่เริ่มลดลงเมื่อฝนไม่ตก 2 วัน ก็เพิ่มระดับขึ้นวัดได้ที่ ประตูน้ำบ้านสามพร้าว ต.สามพร้าว อ.เมือง จาก 48 ซม.เหนือตอม่อ ขึ้นมาเป็น 80 ซม.ในตอนเช้า และ 85 ซม.ในช่วงเที่ยง

นายวัชรินทร์ สุตลาวดี นายอำเภอเมืองอุดรธานี เปิดเผยว่า หลังจากฝนไม่ตกลงมา 2 วัน ระดับน้ำที่ล้นตลิ่งลำห้วยหลวง ได้ลดระดับลงต่อเนื่อง หลายพื้นที่น้ำที่ท่วมบ้านเรือน ท่วมถนน ได้ลดลงในทั้งหมดในหลายพื้นที่ เหลืออยู่เพียงบางพื้นที่ยังท่วมบ้านอยู่ และพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มต่ำ แต่เมื่อฝนตกลงมาอย่างหนัก นอกจากน้ำฝนในพื้นที่ ยังมีน้ำไหลเข้ามาเพิ่มเติม โดยประตูน้ำ บ.หัวขัว อ.กุดจับ ที่ปิดมาหลายวันต้องเปิดออก , น้ำล้นจากอ่างฯบ้านจั่น เพิ่มจาก 3.3 แสน ลบม.เป็น 4.5 แสน ลบม.ต่อวัน

“ ทำให้บ้านเรือนและถนน ที่น้ำลดลงไปแล้วกลับมาท่วมอีก ระดับน้ำสูงขึ้น 10 ซม. ในพื้นที่ ต.นากว้าง ต.หมูม่น ต.กุดสระ , ทม.หนองสำโรง ถนนร้านวังมัจฉา-หมูม่น ระดับน้ำสูงขึ้น 30 ซม. , ต.เชียงพิณ น้ำในลำห้วยไหลแรงขึ้น ที่บ้านหนองฮาง ม.4 ต.เชียงพิณคือ คันดินคลองส่งน้ำของชลประทานชำรุดทั้ง 2 ด้าน น้ำจากตำบลข้างเคียงไหลเข้ามา น้ำจะไหลออกสู่ชุมชนและพื้นที่การเกษตร อาจส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้นอีกครั้ง และ บ.หนองลีหู ต.สามพร้าว และ บ.นาทราย ต.หนองบัว ระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ”

นายธีระภัทร์ ผิวสวัสธ์ ป้องกันบรรเทาสาธารณะภัย จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ฝนที่ตกลงมาทำให้น้ำล้นตลิ่ง ในลำห้วยหลวงระดับสูงขึ้นมาก พื้นที่น้ำท่วมขยายวงออกไปอีก ขณะการระบายน้ำลงแม่น้ำโขงช้า ต้องใช้เวลาพอสมควรจึงระบายหมด หากฝนตกลงมาอีกระดับน้ำก็จะสูงขึ้นอีก อุดรธานีกำลังหาหนทาง เพื่อการระบายน้ำมากขึ้น เริ่มจากการติดตั้งเครื่องผักดันน้ำ ขนาด 24 นิ้ว 2 ชุด ที่ประตูระบายน้ำ บ.สามพร้าว พร้อมขอมาติดตั้งอีก 2 ชุด แต่ไม่รู้ว่าจะได้มาหรือไม่ เพราะในพื้นที่อื่นก็หนักเช่นกัน

“ ปภ.อุดรธานี และชลประทานอุดรธานี ได้จัดทีมออกสำรวจเส้นทางน้ำ ตลอดลำห้วยหลวงไปจนถึง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ส่วนหนึ่งเพื่อค้นหาจุดขวางทางน้ำ แล้วทำการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว สองเพื่อเก็บข้อมูลน้ำท่วมครั้งนี้ ประกอบการศึกษาแผนป้องกันน้ำท่วม ลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนกลาง เบื้องต้นมีแนวคิดสร้างทางระบายน้ำ ให้ลำห้วยหลวงเพิ่มอีก เพื่อระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงเร็วขึ้น เพราะฝนที่ตกลงมามากกว่าปกติ ได้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง อนาคตก็จะเกิดขึ้นอีก ”

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments