วันอาทิตย์, กันยายน 15, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมคุยศึกษาพัฒนาลุ่มห้วยหลวงบน-กลาง

คุยศึกษาพัฒนาลุ่มห้วยหลวงบน-กลาง

เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ศึกษาพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง 150 กม. อนุรักษ์ฟื้นฟูป่า-พัฒนาแหล่งน้ำ-พัฒนาพื้นที่ชลประทาน-พัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน แต่ยังไม่มีแผน “ลำห้วยหลวง2”

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ที่ห้องประชุมอำเภอเมืองอุดรธานี กรมชลประทาน จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง จ.อุดรธานี ดำเนินการโดย บ.พี แอนด์ ซี แมเนจเมนท์ จก. และ บ.ปัญญา คอนซัลแตนท์ จก. มีนายพงษ์สิทธิ์ เปรยะโพธิเดชะ รักษาการนายอำเภอเมือง นำนายก อบจ.อุดรธานี , ผู้บริหาร อปท. , กำนัน , ผญบ. , ผู้ใช้น้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวง อ.เมืองอุดรธานี เข้าร่วมประชุม-สอบถาม-แนะนำ โดยเป็นเวทีที่ 3 ต่อจาก อ.หนองวัวซอ และ อ.กุดจับ

นายวุฒินนท์ คำเดช ผู้จัดการโครงการ ชี้แจงว่า ลำน้ำห้วยหลวงอยู่ในระหว่าง การพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง ตั้งแต่ประตูควบคุมน้ำ ปากน้ำห้วยหลวง ก่อนไหลลงแม่น้ำโขง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย มาจนถึงประตูควบคุมน้ำ บ.สามพร้าว อ.เมือง จ.อุดรธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาต่อ ในลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง ที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ ตามการร้องขอของที่ประชุม กรอ.สัญจร พ.ศ.2561 มีเป้าหมายศึกษาจัดทำแผนหลัก , ศึกษาความเหมาะสมโครงการสำคัญเร่งด่วน และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

 

โครงการนี้ครอบคลุมพื้นที่ อ.เมือง อ.กุดจับ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี บางส่วนของ อ.บ้านผือ อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี และ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ระยะทางกว่า 150 กม. สภาพปัญหาเกิดจาก แหล่งเก็บกักน้ำไม่เพียงพอ , ขาดระบบส่งน้ำ , แหล่งน้ำตื้นเขิน , วัชพืชปกคลุม , เกิดการบุกรุกพื้นที่ลำน้ำ และมีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และขาดแคนน้ำอุปโภคบริโภคในบางพื้นที่ อีกทั้งยังเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม

ผู้ศึกษามีแผนเข้าดำเนินการ 540 วัน ตั้งแต่ 11 มิ.ย.63 – 2 ธ.ค.64 ซึ่งจะมีการประชุมลักษณะนี้อีก 5 ครั้ง และในการศึกษาเบื้องต้นพบว่า จากพื้นที่ 1,231,600 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 741,036 ไร่ เป็นพื้นที่ชลประทาน 113,016 ไร่ เหลือพื้นที่เกษตรน้ำฝน 628,020 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำห้วยหลวง และยังมีน้ำฝนตกลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และมีศักยภาพในการใช้น้ำบาดาลปานกลาง จึงwม่ความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทาน และจัfการพื้นที่เกษตรน้ำฝน ทั้งบ่พัฒนาแก้มลิง , บ่อน้ำไร่นา และเกษตรบาดาล

มีการศึกษาในการพัฒนาลุ่มน้ำ 8 โครงการ คือ การพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน , การพัฒนาแหล่งน้ำ , การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม , การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค , การพัฒนาพื้นที่ชลประทาน , การจัดการคุณภาพน้ำและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ตลอดจนการระบายน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัย โดยขอนำเสนอแผนงาน 15 โครงการ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง 3 เวที โหวตให้คะแนนเพื่อจัดอันดับ 4 โครงการ เลือกศึกษาพิจารณาด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐศาสตร์ ในการประชุมครั้งแรกทันที

นายวิเชียร ขาวขำ นาย อบจ.อุดรธานี สอบถามในเวทีถึงแผนงาน 15 โครงการ ได้รับคำตอบว่าเป็นโครงการใหม่ ไม่ใช่โครงการซ้ำซ้อนที่ภาครัฐดำเนินการอยู่แล้ว จึงเสนอแนะให้มีการศึกษา การเชื่อมโยงแหล่งน้ำต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว และสร้างขึ้นมาให้เข้าหากัน และขอให้เน้นการศึกษา ช่วงที่ลำน้ำห้วยหลวงผ่าน อ.เมือง เพราะเป็นพื้นที่มีชุมชนหนาแน่ มีทั้งกลุ่มผู้อยู่อาศัย และภาคการเกษตร

ขณะที่ผู้เข้าร่วมประชุม ได้สอบถามละแสดงความคิดเห็น ด้วยการแสดงตัวในที่ประชุมหลากหลาย ประกอบด้วย 1.น้ำล้นคันดินลำห้วย เข้าท่วมพื้นที่ไร่นาทุกปี บางปีท่วมถนนและบ้านเรือน ทำยังไงจะไม่ให้น้ำล้นคันคู , ร้องเรียนปัญหาต่าง ๆไม่มีคำชี้แจง หรือเข้ามาแก้ไขปัญหา , ในฤดูฝนมีสภาพน้ำท่วม แต่หน้าแล้งไม่มีน้ำ , ที่ประตูน้ำบ้านสามพร้าว จะเปิดน้ำออกเพื่อป้องกันน้ำท่วมเมือง ทำให้ชาวบ้านไม่มีน้ำทำนาต้นฤดูฝน , คลองไส้ไก่ประตูน้ำสามพร้าว พังเสียหายมานานอยากให้ซ่อม และขอให้กำจัดน้ำเสียจาก ต.หนองนาคำ ก่อนลงลำห้วยหลวง

นอกจากนี้ยังมีปัญหาใหญ่ที่ บ.หนองคอนแสน ต.สามพร้าว ซึ่งเป็นหมู่บ้านสุดท้ายของ อ.เมือง สภาพลำห้วยเป็นช่วงน้ำลึก มีการสร้างสถานีสูบน้ำ 3 สถานี เป็นการสร้างใหม่ 2 สถานี แต่สถานที่ 1 สร้างมา 2 ปี ยังไม่สามารถทำงานได้ และสถานีที่ 2 มีระดับน้ำต่ำมากมีปัญหา ดำเนินการไม่ได้เช่นกัน และทุกปีราวเดือน พ.ค. จะมีปัญหาน้ำเสียจากเมืองอุดรธานี ไหลมาทำให้ปลาตายจำนวนมาก และความอุดมสมบูรณ์ลดลงทุกปี อยากจะมีให้แก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้

ขณะการแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะผ่านทางเอกสาร มีข้อเสนอแนะว่า จะแก้ไขปัญหาฝายน้ำล้นเดิม ที่มีสภาพเป็นเขื่อนกั้นน้ำ ทำให้เกิดปัญหาน้ำระบายไม่ทัน ต้องยกตั้วไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ด้านข้าง หากมีการก่อสร้างประตูควบคุมน้ำ จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้(เหมือนกรณีประตูน้ำสามพร้าว) , ขอให้ศึกษาปัญหา “คอขวด” สิ่งปลูกสร้างของนรัฐ และการบุกรุก ทำให้เกิดสภาพคอขวดจะแก้ไขอย่างไร และปัญหาเสียชุมชน ที่ไหลลงลำห้วยหลวง เสนอให้ทำบำบัดน้ำเสียชุมชน ด้วยบ่อบำบัดธรรมชาติอ หรือเวสแลนด์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมไม่ได้มีการพูดถึงแนวคิด “ลำห้วยหลวง 2” จากปัญหาสิ่งปลูกสร้างภาครัฐ และการบุกรุกพื้นที่ทางน้ำไหล ทำให้การระบายน้ำขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดสภาพ “คอขวด” น้ำไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่าง ๆ และยังมีสภาพที่แก้ไขปัญหายาก หากไม่มีทางระบายน้ำเพิ่มเติม ปัญหาน้ำท่วมยังจะคงอยู่ต่อไป………………..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments