วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรฯประกวดควายงามชิงถ้วยพระราชทาน

อุดรฯประกวดควายงามชิงถ้วยพระราชทาน

เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 บริเวณลานสนามทุ่งศรีเมืองอุดรธานี (ด้านประตูจีน) นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานประกวดควายสวยงาม ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ภายใต้งาน “อุดรธานี วิถีคน วิถีควาย มรดกไทย มรดกโลก” ระหว่าง 18-19 พ.ย. 2565 ที่สาธารณประโยชน์ทุ่งโป่งวัว ต.ทุ่งใหญ่ อ.ทุ่งฝน จ.อุดรธานี

มีผู้ร่วมแถลงข่าวประกอบด้วย นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี พล.ต.ต.พิษณุ อุณหเสรี ผบก.ภ.จว.อุดรธา นี นายวิบูลย์ เป็นสุข รองอธิการบดี มรภ.อุดรธานี นายสุมนชาติ แสงปัญญา ปศุสัตว์ จ.อุดรธานี นายทศพร ศรีศักดิ์ นายกสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย (อดีตรองอธิบดีกรมปศุสัตว์) และประธานเครือข่ายผู้เลี้ยงควายจังหวัดอุดรธานี

ในงานการแถลงข่าวได้นำควายงาม ระดับแชมป์ของอุดรธานีมาโชว์ ประกอบด้วย ควายงามเผือกพ่อพันธุ์ ที่ถือเป็นควายหายาก คือ “ทุเรียน” อายุ 4 ขวบ และ “บ่าวหัวแก้ว” อายุ 6 ขวบ ซึ่งมีผู้เสนอซื้อแล้วในราคา 5-6 ล้านบาท แต่เจ้าของยังไม่ขาย และควายงามพ่อพันธุ์อุดรธานีอีก 2 ตัว คือ “เพชรสงคราม” และ “เพิ่มทรัพย์” ที่มีผู้เสนอราคาสูงไม่ต่างกัน ทั้งนี้การจัดงานยังเอาหญ้าอัดก้อน “แพงโกล่า” ที่ถือเป็นหญ้าคุณภาพดีที่สุดขณะนี้ มาใช้จัดสถานที่แทน “ก้อนฟาง” ทั่วไป

นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานถ้วยรางวัลในการประกวด แก่เกษตรกรเจ้าของควายที่ชนะเลิศในรุ่นควายยอดเยี่ยม (Grand champion) เพศผู้ เพศเมีย และรุ่นรองควายยอดเยี่ยม (Reserve champion) เพศผู้ เพศเมีย รวม 4 รางวัล สร้างความปลาบปลื้มเป็นล้นพ้น แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงควายในจังหวัดอุดรธานี และที่มาจากทั่วประเทศ

หลังจากก่อนหน้านี้อุดรธานีได้ร่วมกันหลายฝ่าย จัดกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วิถีชีวิตพื้นถิ่นอีสาน เพื่ออนุรักษ์ควายไทยมาต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ แก้ไขปัญหาความยากจน และมาในครั้งนี้เมื่อสิ้นสุดการรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 31 ต.ค. 2565 มีเกษตรกรนำควายสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 530 ตัว แบ่งเป็น พื้นที่ จ.อุดรธานี 246 ตัว และจังหวัดอื่น 284 ตัว

นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวอีกว่า ควายไทยอยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวอุดรธานี ชาวอีสาน และชาวไทยมานานมาก จากการขุดค้นทางโบราณคดีบ้านเชียง ที่วัดโพธิ์ศรีใน ทต.บ้านเชียง อุดรธานี ระหว่าง ปี 2546-2548 ได้พบโครงกระดูกที่มีความสมบูรณ์ เช่น ควาย ปลา และสุนัข ส่วนของโครงกระดูกควายนั้นไม่พบส่วนหัว ซึ่งนักโบราณคดีให้ความเห็นว่า “น่าจะเป็นควายที่ถูกเลี้ยงไว้ใช้งาน”

“ เนื่องจากกระดูกกีบเท้ามีร่องรอยการลากไถ เหมือนกับกระดูกของควายในปัจจุบัน และจากการศึกษาวิเคราะห์หลักฐานประเภทกระดูกสัตว์ ที่พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงพบว่า มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์รู้จักเลี้ยงควายสำหรับไถนา และมีการใช้เครื่องมือที่ทำจากเหล็กตั้งแต่ 3,000-2,500 ปีมาแล้ว ขอเชิญชวนประชาชนชาวอุดรธานี ร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดี พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรม อุดรธานี วิถีคน วิถีควาย มรดกไทย มรดกโลก ”….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments