วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมศูนย์กำจัดขยะที่ 4 เชียงหวางสะดุด

ศูนย์กำจัดขยะที่ 4 เชียงหวางสะดุด

แผนเปลี่ยนขยะเป็นไฟฟ้า 4 ศูนย์อุดรธานีช้ากว่าเป้า นครอุดรเริ่มเดินเครื่องปลายปี 66 ทต.กงพานพันดอน-อบต.บ้านยา ถึงขั้นตอนศึกษาออกแบบ ส่วนเชียงหวางผ่านทุกขั้นตอน แต่รอขายไฟฟ้าได้จึงสร้าง

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตต์ อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย จ.อุดรธานี โดยนายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รอง ผวจ.อุดรธานี นำคณะกรรมการฯ , ผู้แทนท้องถิ่น 20 อำเภอ , ผู้แทน 4 กลุ่มพื้นที่ (คลัสเตอร์) ศูนย์กำจัดขยะ และที่ปรึกษาคลัสเตอร์เข้าประชุม

นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี แจ้งว่า ประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้า การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเจ้าภาพของ 4 คลัสเตอร์ ของ ทน.อุดรธานี , ทต.กงพานพันดอน อ.กุมภวาปี , อบต.บ้านยา อ.หนองหาน และ อบต.เชียงหวาง อ.เพ็ญ รวมทั้งรับทราบแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก

โดยตัวแทนจาก 4 คลัสเตอร์ รายงานคืบหน้าตามลำดับ เริ่มจาก ทน.อุดรธานี มีศูนย์จัดการขยะมูลฝอยที่ในพื้นที่ ต.หนองนาคำ อ.เมือง อุดรธานี จากเดิมเป็นศูนย์กำจัดขยะแบบฝังกลบ ปัจจุบันมี 51 อปท.นำขยะมากำจัด รวมวันละ 351 ตัน โดยได้ร่วมทุนกับเอกชน ทำการแยกขยะเป็น “แท่งพลังงาน” หรือ อาร์ดีเอฟ. โดยทางพลังงานที่ผลิตได้ ส่วนหนึ่งนำส่งขายที่ จ.สระบุรี อีกส่วนเก็บไว้ใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า (ได้รับคาร์บอนเครดิตมาแล้ว 2 รอบ)

ทน.อุดรธานี ชี้แจงต่อว่า ขณะนี้ผู้ร่วมทุนกำลังดำเนินโครงการ นำขยะพลาสติกรวมทั้งแท่งพลังงาน มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยเทคโนโลยีที่นำมาใช้ คือ “ไพโดรไรซีส” การเปลี่ยนพลาสติกเป็น “น้ำมันดีเซล” เพื่อนำน้ำมันฯ และแท่งเชื้อเพลิงมาผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง มีความคืบหน้าไปมากกว่า 86 % คาดว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ กลางถึงปลายปี 2566 ทั้งนี้ยังได้ปรับแก้ปัญหากลิ่น-น้ำเสีย-ควัน ไปพร้อมกัน

สำหรับคลัสเตอร์ที่ 2 และ 3 ประกอบด้วย ทต.กงพานพันดอน อ.กุมภวาปี และ อบต.บ้านยา อ.หนองหาน มีที่ปรึกษาโครงการรายเดียวกัน และใช้เทคโนโลยีเดียวกัน รายงานว่า เอกชนเข้ามาดำเนินการต้องหาพื้นที่เอง การกำจัดขยะมูลฝอยเป็นระบบ “ปิด” ขยะที่ขนเข้ามายังศูนย์ฯ จะถูกเทลงไปในบ่อเก็บขยะ ที่สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก รับขยะสะสมได้มากกว่า 15 วัน น้ำเสียจะถูกแยกไปบำบัด ขยะจะถูกนำไปเผาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ที่เรียกกันว่า “เผาสด” เหมือนกับโรงขยะ “หนองแขม” กทม. โดยทั้ง 2 โรงมีกำลังผลิตไฟฟ้า 9.2 และ 7.2 เม็กกะวัตต์ ตามลำดับ และทั้งสองแห่งจะนำเสนอ คกก.ระดับจังหวัดต่อไป

แต่สำหรับคลัสเตอร์ที่ 4 อบต.เชียงหวาง อ.เพ็ญ ที่มีปริมาณขยะใกล้เคียงกับ ทน.อุดรธานี ได้ดำเนินโครงการไปมากแล้ว ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้-ออกแบบ-หาผู้ร่วมทุน-ลงนามสัญญาไปเมื่อปี 64 ขณะนี้ติดอยู่ที่ภาคเอกชน กำลังยืนขอขายไฟฟ้าให้ภาครัฐ หรือในกระบวนการ (COP) ซึ่งตามขั้นตอนที่ภาครัฐกำหมดใหม่ ทำให้ภาคเอกชนต้องรอใบอนุญาต เร็วที่สุดเอกชนจะเข้าดำเนินการ จนสามารถรับกำจัดขยะได้ในราวปี 69-70

ทำให้ที่ประชุมมีความห่วงใยว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบการมาเสนอตัว เพื่อขอเข้ารับงานกำจัดขยะ ต่างยืนยันมีความตั้งใจ ต้องการเข้ามาลงทุนโครงการนี้ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาขยะ คณะกรรมการฯจึงให้ความเห็นชอบให้ทำ แต่มาวันนี้ผู้ประกอบการเหมือนจะบอกว่า ต้องขายไฟฟ้าได้ก่อนจึงจะลงทุน นั่นหมายความว่าถ้าไม่มีใครซื้อไฟฟ้า ก็จะปล่อยให้ขยะล้นเมืองใช่หรือไม่ แล้วสัญญาที่ให้ไว้กับชาวอุดรธานีเอาไว้ไหน

ที่ประชุมยังห่วงใยด้วยว่า สัญญาที่เอกชนทำไว้กับ อบตเชียงหวาง อ.เพ็ญ ผู้รับผิดชอบคลัสเตอร์ 4 ผูกพันนานกว่า 25 ปี หากเอกชนรายนี้ทำไม่ได้ หรือไม่ได้ดำเนินการ จะสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบการได้หรือไม่ ขณะเดียวกันคณะกรรมการแนะนำว่า จะสามารถลงทุนในส่วนของ การกำจัดขยะด้วยการแยกเป็น “แท่งพลังงาน” ไปก่อนได้หรือไม่ เหมือนกรณีของผู้ลงทุนของ ทน.อุดรธานี….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments