วันพุธ, กันยายน 18, 2024
Google search engine
หน้าแรกธุรกิจสภาพัฒน์ฯดู“รถไฟรางคู่”ก่อนตอบ ครม.

สภาพัฒน์ฯดู“รถไฟรางคู่”ก่อนตอบ ครม.

รองเลขาฯสภาพัฒน์ฯ ลงพื้นที่อุดรธานี-หนองคาย ติดตามความพร้อม “รถไฟรางคู่” ก่อนชงเข้า ครม.หลัง เม.ย.นี้ สนใจนิคมอุตสาหกรรมอุดร ลงทุนศูนย์ฯขนส่งทางรางเชื่อม-ลาว-จีน ขณะ อบจ.จับมือภาคเอกชน ขอยกทางรถไฟรางคู่-ควาเร็วสูงข้ามเมือง 100 %

ผู้สื่อข่าวรายงาจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ที่ห้องประชุมกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ชั้น 5 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ให้การต้อนรับนางธิดา พันธธรรม รองเลขาฯสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ พร้อมคณะชุดใหญ่ พร้อมนำส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย , ผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เข้าร่วมประชุมในหัวข้อ “ความต้องการขอรับการสนับสนุน การขับเคลื่อนพัฒนาจังหวัดอุดรธานีในอนาคต”

นางธิดา พันธธรรม รองเลขาฯสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ในการเดินทางมาครั้งนี้เพื่อติดตาม “โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย” ซึ่งมีแผนจะนำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเดินหน้าโครงการ โดยข้อมูลได้ส่งมาที่สภาพัฒน์ฯแล้ว จึงเดินทางลงมาติดตามรายละเอียด ตั้งแต่ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย จะได้รวบรวมข้อมูลในทุกเรื่อง นำเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด ที่มีท่านสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายรัฐมนตรี เป็นประธานราวปลายเดือนเมษายนนี้

ที่ประชุมได้รายงานประเด็น 1.นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ขอรับการสนับสนุนทางรถไฟ จากสถานีหนองตะไก้ถึงทางเข้านิคมฯ , 2.นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ขอสนับสนุนทางแยกถนนมิตรภาพ เข้ามานิคมฯเพื่อลดความเสี่ยง , 3. เหมือนโพแทชอุดรธานีมีแผนสร้างทางรถไฟ จากสถานีหนองตะไก้เข้าไปยังพื้นที่เหมือง , 4.แผนงานสร้างคอเทเนอร์ยาร์ดของการรถไฟที่สถานีหนองตะไก้ และ 5.โครงการถนนขนานทางรถไฟ สถานีหนองตะไก้-ทางหลวง 216 โดยมีแผนเดินทางลงพื้นที่จริง

ขณะในที่ประชุมภาคเอกชนอุดรธานี และตัวแทนองค์การบริหารส่วน จ.อุดรธานี ขอให้แก้ไขรูปแบบการก่อสร้าง รถไฟทางคู่บริเวณทางพาดรถไฟ ตัดกับทางหลวง 216 หรือรอบเมืองตะวันออก ที่มีรูปแบบอยู่ระนาบกับพื้นเดิม แต่รถไฟความเร็วสูงจะยกสูงขึ้น ทำให้ต้องถนนเป็นสร้างทางข้ามรถไฟทางคู่ และลอดรถไฟความเร็วสูง จะส่งผลกระทบกับผู้ใช้รถจักรยาน-จักรยานยนต์-สามล้อ อีกทั้งจะเกิดปัญหาการจราจร จากปริมาณรถที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ต้องการให้ยกระดับทางรถไฟ ทั้งทางคู่และความเร็วสูงขึ้น รถยนต์และรถอื่นๆจะใช้การวิ่งลอด ซึ่ง สภา อบจ.อุดรธานี มีมติเป็นเอกฉันท์ให้แก้ไข และ กกร.อุดรธานี ก็เช่นเดียวกัน

ต่อมานางธิดา พันธธรรม รองเลขาฯสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่ “นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี” เริ่มตั้งแต่การขอสร้างทางแยก ถนนมิตรภาพเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมฯ เพราะอนาคตจะมีรถจำนวนมาก และมีขนาดใหญ่ จะเข้าไปในนิคมอุตสาหกรรมฯ ต้องใช้การยูเทินทำให้มีความเสี่ยง ต่อด้วยการดูความคืบหน้าการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค , ถนนในโครงการ , สถานีผลิตประปา , สถานีไฟฟ้าย่อย , การปักเสาพาดสายไฟฟ้า

บริเวณจุดก่อสร้างทางรถไฟเข้านิคมอุตสาหกรรมฯ ติดกับทางรถไฟขอนแก่น-อุดรธานี มีแผนในการดำเนินโครงการ จัดตั้ง CY-ICD-Free Zone , คลังสินต้า S-M-L , ลานวางตู้คอนเทเนอร์ เฟส 1 และ เฟส 2 โดยหลังจากรถไฟจีน-ลาว เปิดเดินรถ มีผู้ประกอบกาสนใจที่จะเข้าลงทุนในส่วนนี้ ทั้งการขนส่งสินค้าของไทย ประเภทผลไม้ หรือสินค้าจากจีน จะมาพักสินค้าที่นี่ก่อนส่งต่อ จึงขอเลื่อนแผนงานสร้างทางรถไฟ เข้ามาในนิคมฯเร็วขึ้น

ซึ่งนิคมฯขอรับการสนับสนุน ทางรถไฟจากสถานีหนองตะไก้-ทางเข้านิคมฯ ระยะทาง 2.8 กม. มูลค่า 76 ล้านบาท ส่วนทางรถไฟในเขตนิคมฯจะดำเนินการเอง ซึ่งการรถไฟอนุญาตใช้พื้นที่ แต่งบประมาณของให้จังหวัดอุดรธานีจัดหา แต่อุดรฯไม่มีหน่วยดำเนินการ สภาพัฒน์ฯแนะให้เอาเข้าแผนรถไฟทางคู่ และนิคมฯยังขอให้สนับสนุน จนท.ศุลกากรมาประจำที่ CY-ICD-Free Zone ส่วนถนนขนานทางรถไฟ สถานีหนองตะไก้-ทางหลวง 216 ยังไม่แผนงานเร่งด่วน

และบริเวณสถานีรถไฟบ้านหนองตะไก้ จุดการก่อสร้างคอเทเนอร์ยาร์ด (CY) ของการรถไฟในแผนงานรถไฟทางคู่ ปัจจุบันมีเอกชนเช่าพื้นที่ รับขนส่งสินค้า เกษตรแปรรูป “น้ำตาลทรายขาว” และ “ยางแท่ง” ในระบบรางอยู่แล้ว จึงถูกตั้งคำถามว่า “ทำไมมีคอนเทเนอร์ยาร์ด 2 แห่งใกล้กัน” และที่สถานีหนองตะไก้ จะเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างทางรถไฟ ไปยังนิคมฯ และโครงการเหมืองโพแทชอุดรธานี ที่พร้อมที่จะลงทุนหากได้รับใบอนุญาต หลังรับอนุญาตใช้เวลา 2 ปี จะนำสินแร่ขึ้นมาในเชิงพาณิชย์ จึงจะลงทุนสร้างรางรถไฟ….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments