วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมรพ.อุดรนำร่องคนไข้รับยา“5ร้านยาชุมชนอุ่นใจ”

รพ.อุดรนำร่องคนไข้รับยา“5ร้านยาชุมชนอุ่นใจ”

สปสช.เขต 8 อุดรธานี MOU นำร่อง 5 ร้านยา ผู้ป่วยสิทธิ์บัตรทองรับยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจ ลดความแออัดในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เริ่มให้บริการ 1 ตุลาคม นี้ เป็นวันแรก

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ที่ห้องตรวจผู้ป่วยเบาหวานและความดัน โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ทันตแพทย์กวี วีระเศรษฐกุล ผอ.สนง.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 8 อุดรธานี นพ.ณรงค์ ธาดาเดช ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี พร้อมเภสัชกร ร่วมเปิดโครงการ “ร้านยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจ” ตามนโยบายนายอนุทิน ชาญวีรกุล รมว.สาธารณสุข แก้ปัญหาโรงพยาบาลของรัฐ มีประชาชนเข้ารับการรักษาจำนวนมาก ส่งผลให้ระยะเวลาในการรอคอย ทั้งรอตรวจและรอรับยาหลายชั่วโมง จึงลดความแออัดในโรงพยาบาล และลดเวลาการรอคอย ให้ผู้ป่วยสามารถรับยาได้ที่ร้านขายยาแผนปัจจุบัน หรือ ขย.1 “ร้านยาชุมชนอุ่นใจ” ที่เข้าร่วมโครงการวันนี้เป็นแรก

โดยมีขั้นตอนต้องเป็นผู้ป่วย 3 กลุ่มโรค ได้แก่ 1.โรคเบาหวาน 2.โรคความดันโลหิตสูง 3.โรคหอบหืด โดยผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ที่โรงพยาบาลก่อน และแจ้งความจำนงกับเจ้าหน้าที่พยาบาล ว่าต้องการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน เมื่อแพทย์ทำการตรวจเสร็จ และจะประเมินว่าผู้ป่วยที่มารักษามีอาการคงที่ ไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน สามารถรับยาที่ร้านยาได้ แพทย์จะออกใบสั่งยาให้ จากนั้นผู้ป่วยสามารถถือใบสั่งยานั้น ไปรับยากับร้านใกล้บ้านได้เลย เงื่อนไขการรับบริการนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ป่วย ยาที่ผู้ป่วยได้รับจากร้านยาต้องเป็นตัวเดียวกันกับที่โรงพยาบาลจ่ายไว้เดิม โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

สำหรับผู้ป่วยช่วงแรกจะเป็นผู้ที่ใช้ “สิทธิบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” หรือ “บัตรทอง” สามารถเลือกขอรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน ที่มีเภสัชกรประจำอย่างน้อย 8 ชั่วโมง โดยมีร้านยานำร่องนี้ 5 ร้าน คือ 1.ร้านสมศักดิ์เภสัช บ้านห้วย เทศบาลนครอุดรธานี 2.ร้านยาเภสัชบอย ต.สามพร้าว อ.เมือง 3. ร้านบ้านยาดรักสโตร์ ต.บ้านเลื่อม อ.เมือง 4.ร้านนิตโยเภสัช ซอยบ้านเก่าจาน ถนนนิตโย เทศบาลนครอุดรธานี และ 5.ร้านยาลลิลภัทร ถ.พรหมประกาย เทศบาลนครอุดรธานี เปิดบริการ 08.00-20.00 น.

ทันตแพทย์กวี วีระเศรษฐกุล ผอ.สปสช.เขต 8 เปิดเผยว่า รพ.ศูนย์อุดรธานี ได้ร่วมกับร้านยา 5 แห่ง โดยคัดกรองคนไข้ที่มักการรักษาโรคเรื้อรัง 3 โรค ที่มีอาการคงที่ และคนไข้สะดวกในการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน โดยไม่ต้องมาพบแพทย์ ซึ่งก่อนหน้าคนไข้จะต้องมารับยาเมื่อยาหมด ที่ต้องมารับยาที่โรงพยาบาล ทำให้เกิดความแออัด ต่อไปคนไข้สามารถไปรับยาได้ที่ร้านยาใกล้บ้านได้เลย ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ได้ประสานกับร้ายยา 5 แห่ง รอบตัวเมืองอุดรธานี นำร่องไว้แล้ว โดยทางโรงพยาบาลจะจัดส่งยาไปรอที่ร้านยา เป็นการลดความแออัดของคนไข้ที่มาโรงพยาบาล และทำให้คนไข้ได้รับความสะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลามารอรับบาที่โรงพยาบาลด้วย

นพ.ณรงค์ ธาดาเดช ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี เปิดเผยว่า มีผู้ป่วยนอกมารับบริการที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี 3,500-4,000 คนต่อวัน กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน จะมีวันละ 200 คน กลุ่มผู้ป่วยหอบหืดอีกวันละ 200 คน กลุ่มจิตเวชอีก 200 คน เฉลี่ยประมาณ 800-1,000 คนต่อวัน หากสามารถกระจาย ผู้ป่วยกลุ่มเป็นโรคที่แพทย์นัดรับยาเท่านั้น ทางแพทย์จะแบ่งกลุ่มว่าผู้ป่วยคนนี้สามารถรับยาที่ร้านยาที่ร่วมโครงการได้ จะทำไห้ผู้ป่วยรับความสะดวกสบายไม่ต้องมารอคิวที่โรงพยาบาล สามารถนำใบสั่งยาไปรับยาที่ร้ายยาได้เลย ทั้งนี้จะเป็นผู้ป่วยที่สมัครใจต้องการรับยาที่ร้านยาเท่านั้น

ขณะที่“ร้านยาชุมชนอุ่นใจ” ร่วมโครงการ ร้านยาสมศักดิ์เภสัช และร้านยายาลลิลภัทร ที่เข้าร่วมโครงการ มีผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ ไปทดสอบการรับยาที่ร้านยา โดยเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืด และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน ไปรับยาที่ร้านยาทั้ง 2 ร้าน ที่ทางเภสัชกรประจำร้าน จะสอบถามอาการ พร้อมแนะนำวิธีการใช้ยากับผู้ป่วย ที่มารับยาที่ร้านยา

นายทองดี มูลคม 52 ปี ผู้ป่วยโรคหอบหืด ที่เข้าร่วมโครงการ เปิดเผยว่า รู้สึกดีเร็วที่ไม่ต้องไปรอรับยาที่โรงพยาบาล ซึ่งปกติหากมาโรงพยาบาล ต้องรอตรวจรอรับยาประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยต้องออกจากบ้านแต่เช้า ซึ่งต่อไปตนก็พร้อมที่จะมารับยาที่ร้านยา เพราจะได้ไปต้องเสียเวลา ที่ปกติหากมาโรงพยาบาลจะต้องเสียเวลาไปครึ่งวัน

เภสัชกรหญิง อัญชลี ตรีทิพย์สถิตย์ เภสัชกรประจำร้ายยาสมศักดิ์เภสัช บ้านห้วย เปิดเผยว่า ร้านมีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ เพราะเรามีเภสัชกรประจำร้านถึง 4 คน ที่มีความสามารถในการจ่ายยา การให้คำแนะนำผู้ป่วย เรามีความพร้อมค่อนข้างสูง โดยโรงพยาบาลจะตัดส่งมาให้ทางร้าน ที่เราจะแยกยาไว้ต่างหาก ไม่เกี่ยวกับยาของทางร้าน เพราะเป็นยาคนละส่วน ต่อไปหากมีผู้ป่วยเข้าโครงการจำนวนมาก และเกิดยาไม่พอจ่ายให้ จะต้องมีการประสานสายตรงไปยังโรงพยาบาล ให้ส่งยามาเพิ่ม แต่คิดว่าโอกาสแบบนี้คงเกิดได้น้อย หากขาดจริงทางร้านอาจจะจ่ายยาของร้านให้ไปก่อน โดยต้องทำระบบการขอยืมยา และเราต้องเบิกจากทางโรงพยาบาลคืน ซึ่งจะไม่มีเรื่องเงินเข้ามา เพราะเราจะรับยามาจากโรงพยาบาลเท่านั้น……

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments