เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 31 มีนาคม 2564 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายลลิต ถนอมสิงห์ รองเลขา สนง.คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) นายปราโมทย์ ธัญญพืช รอง ผวจ.อุดรธานี ร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการ “อ่างเก็บน้ำห้วยปากแบ่ง” อันเนื่องจากพระราชดำริ (กรมสมเด็จพระเทพฯ) บ.โคกสว่าง ม.10 ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี โดยมีผู้แทนกรมชลประทาน (ผู้ก่อสร้าง) , ผู้แทน มทบ.24 (เจ้าของพื้นที่) , ฝ่ายปกครอง , ผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนชาวบ้าร่วมประชุม
จากการประชุมครั้งก่อน (17 ก.พ.64) แผนงานการก่อสร้าง สนง.ชลประทานที่ 5 อุดรธานี สำรวจออกแบบเบื้องต้น จะมีการก่อสร้างอาคารระบายน้ำล้น 217 ม. , ทำนบดิน 469 ม. , ความสูงทำนบดิน 30 ม. , ความกว้างหลังทำนบดิน 8 ม. จะเกิดพื้นที่น้ำท่วม 103.44 ไร่ จะทำให้มีความจุน้ำ 1.66 ล้าน ลบม. ทั้งหมดอยู่ในเขตทหาร ส่วนระบบส่งน้ำผ่านพื้นที่ประชาชน ที่ส่วนใหญ่มีเอกสารสิทธิ หากเป็นไปตามแนวสำรวจจะเกิดพื้นที่ชลประทานฯ 1,000 ไร่ งบประมาณก่อสร้างราว 170 ล้านบาท ใช้เวลาในการดำเนินการ 2 ปี
โดยเสนอให้กองทัพบก คืนพื้นที่ให้กับกรมธนารักษ์ เพื่อมอบให้กรมชลประทาน เข้ามาดำเนินการก่อสร้าง ส่วนพื้นที่ใกล้เคียง มีราษฎรเข้าถือครองไม่ถูกต้อง 3 แปลงรวม 2,500 ไร่เศษ แปลงที่ 1 บ.โนนสมบูรณ์ ม.6 , 7 ประมาณ 340 ไร่ , แปลงที่ 2 บ.โคกสว่าง ม.1-2-8-10 ประมาณ 1,300 ไร่ และแปลงที่ 3 บ.ผาสิงห์ ม. 5 ประมาณ 880 ไร่ ให้ลงไปพูดคุยกับผู้ถือครองไม่ถูกต้อง ไปทำสัญญาเช่ากับกรมธนารักษ์ โดยมอบหมายให้ฝ่ายปกครอง , ชลประทาน และท้องถิ่น ไปทำความเข้าใจชาวบ้าน
แต่การประชุมวันนี้ ผู้แทน มทบ.24 แจ้งว่า จากการเดินทางมาของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจากกองทัพบก ได้รับทราบข้อเท็จจริง และลงดูพื้นที่มีความเห็นว่า กองทัพบกจะไม่คื้นพื้นที่ให้กรมธนารักษ์ แต่ก็ไม่ขัดที่กรมชลประทานจะเข้ามาก่อสร้างอ่างฯ ตามแบบที่มีการศึกษาไว้แล้ว โดยกองทัพพบจะมอบให้กรมชลประทาน ใช้พื้นที่รวมแล้วราว 400 ไร่ สามารถเข้าดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องรอขั้นตอนที่เคยมีแนวทาง ส่วนประชาชนที่เข้าถือครองที่ดินไม่ถูกต้อง กองทัพบกยินดีให้เช่าพื้นที่
ผู้แทน บทบ.24 ชี้แจงว่า พื้นที่นี้กองทัพบกใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีต มีราษฎรเข้าไปอาศัยและทำกิน บางพื้นที่ราชการยังใช้งาน ที่ผ่านมาราษฎรได้แสดงเอกสารสิทธิ แต่ทางราชการยึดหลักฐาน ภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ.2489 ในการพิสูจน์สิทธิการเข้าทำประโยชน์ มีแนวทางในการดูแลราษฎรทุกราย มีเพียง 200 รายถูกแจ้งความ และ 2 รายถูกดำเนินคดี สำหรับราษฎรที่เข้ามาประโยชน์ยังไม่ถูกต้อง ทางกองทัพบกได้ยึดแนวทางแก้ปัญหา ตามแนวทางรูปแบบ “สวนผึ้งโมเดล”
นายลลิต ถนอมสิงห์ รองเลขา สนง. กปร. กล่าวสรุปว่า การทำงานโครงการนี้เพื่อประโยชน์ของชาวบ้าน จะต้องทำงานกันอย่างเต็มที่ โดยให้เป็นไปตามระเบียบ-กฎหมาย ที่แต่ละหน่วยถือปฏิบัติ เมื่อฝ่ายทหารให้ใช้พื้นที่สร้างอ่างฯ ในการปฏิบัติต้องลงไปดูรายละเอียด อะไรมีปัญหาก็แก้ไขกัน เป้าหมายขอให้มีอ่างฯ หน่วยงานรัฐว่ายังไง ชาวบ้านจะเดินหน้าอย่างไร โครงการนี้เราทำได้หมด แต่ทุกคนต้องเคารพกติกา……………….