วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรติดเครื่องวัดฝุ่นจิ๋วกลางเมือง 1 เดือน

อุดรติดเครื่องวัดฝุ่นจิ๋วกลางเมือง 1 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี พร้อมนายวันชัย จันทร์พร รอง ผวจ.อุดรธานี นำคณะ นายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายก ทน.อุดรธานี , สิ่งแวดล้อม ภาค 9 , ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด , ท้องถิ่นจังหวัด , เกษตรจังหวัด และหน่วยงานเกี่ยวข้อง รับฟังความรู้เกี่ยวกับปัญหาฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ รวมทั้งวิธีตรวจวัดคุณภาพอากาศ จากนายมนตรี ชุติชัยศักดา นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ กรมควบคุมมลพิษ ตลอดจนการสอบถาม

นายมนต์สังข์ ภู่ศิริวัฒน์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.อุดรธานี กล่าวว่า คุณภาพอากาศกำลังได้รับความสนใจ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ขณะที่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ของกรมควบคุมมลพิษ ยังไม่มีในทุกจังหวัด รวมทั้งอุดรธานี จึงต้องอาศัยการเทียบเคียง จากสถานีฯใกล้เคียงคือที่ จ.ขอนแก่น และ จ.เลย โดยมีรายงานผลทุก 1 ชม. ในเวฟไซด์ และแอฟพิเคชั้นของ “Air4Thai” ขณะเดียวกันก็มีการเผยแพร่คุณภาพอากาศของเวฟไซด์หนึ่ง และผลการตรวจคุณภาพอากาศจากเครื่องแบบพกพา ระบุว่าอุดรธานีบางวันมีคุณภาพอากาศกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดภาวการณ์ตื่นตระหนก จนกระทบในภาพรวมของจังหวัด

นายมนตรี ชุติชัยศักดา นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ กรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษมีสถานีตรวจคุณภาพอากาศ 8 สถานีทั่วประเทศ และมีรถตรวจคุณภาพอากาศหลายคัน ตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ ด้วยเครื่องตรวจ PM 10 ค่าต้องไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อ ลบม. และ PM 2.5 ค่าต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อ ลบม. ตรวจบันทึกและรายงานผลทุก 1 ชม. ดูข้อมูลย้อนหลังได้ 2 วัน เพื่อให้มีสถานีตรวจครอบคลุม มีนโยบายให้ท้องถิ่นเข้ามีบทบาทด้วย

“ สำหรับรายงานคุณภาพอากาศ ของเกือบทุกจังหวัดเวฟไซด์หนึ่ง รวมทั้งอุดรธานีนั้น เป็นเวฟไซด์ของผู้ผลิตและจำหน่าย เครื่องตรวจสอบคุณภาพอากาศ โดยจะเอาข้อมูลมาจาก สถานีตรวจคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ , ข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ ของลูกค้าที่ซื้อเครื่องมือไปใช้งาน แล้วนำข้อมูลมาคิดคำนวณเพิ่มเติม สำหรับคุณภาพอากาศหน่วย AQI จะคำนวณด้วยสมการมาตรฐานของอเมริกา ที่แตกต่างจากค่ามาตรฐานของไทย มีประโยชน์เพื่อการเฝ้าระวัง ไม่น่าจะนำมาอ้างอิงเป็นค่าทางราชการ ”

นายมนตรี ชุติชัยศักดา นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ กรมควบคุมมลพิษ ตอบข้อซักถามด้วยว่า คุณภาพอากาศใน กทม.ขึ้นอยู่กับไอเสียรถยนต์ แต่ในต่างจังหวัดขึ้นอยู่กับการเผาป่า , พื้นเกษตรกรรม และวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร การจัดการกับแหล่งกำเนิด จะเป็นแนวทางการแก้ไขดีที่สุด สำหรับค่าของโอโซนเพิ่มสูงขึ้น ในขณะนี้เกิดขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งอันตรายมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน เกิดจากออกไซด์ของไนโตเจน ทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ระเหย (เผาไหม้ไม่สมบูรณ์) และมีบางอย่างมากระตุ้น

พร้อมกันนี้ได้เยี่ยมชมรถตรวจสอบคุณภาพอากาศ กรมควบคุมมลพิษ บริเวณลานจอดรถประตูจีน สนามทุ่งศรีเมืองอุดรธานี ที่จอดตรวจสอบคุณภาพอากาศ มาตั้งแต่ 24.00 น.คืนที่ผ่านมา และต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน รถคันดังกล่าวมีเครื่องตรวจ PM 10 , PM 2.5 และตรวจสารต่างๆ มูลค่า 10 ล้านบาท แต่หากแยกจัดซื้อเฉพาะเครื่องตรวจ PM 2.5 ราคาเครื่องละ 1 ล้านบาท โดยได้บันทึกค่าตรวจวัด PM 2.5 เวลา 07.00 , 08.00 และ 09.00 น. ได้ค่า 7 , 1 และ 6 ไมโครกรับต่อ ลบม. เมื่อเทียบกับเวฟไซด์ของเอกชนวัดได้ค่า 15.1 , 11.8 และ 8.7 ในช่วงเวลาเดียวกัน

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า เมื่อครั้งเป็น ผวจ.แพร่ ที่เป็นพื้นที่ต้องแก้ไขหมอกควัน เคยเห็นสภาพอากาศที่ย่ำแย่ ต่างจากที่อุดรธานีซึ่งไม่น่ามีปัญหา แต่ตัวเลขในเวฟไซด์เอกชนกับสูง กรมควบคุมมลพิษระบุว่า เป็นตัวเลขเกิดจากการเทียบเคียง ไม่ใช่ตัวเลขตัววัดจริง และยังไม่เป็นค่ามาตรฐานประเทศไทย เมื่อถูกเผยแพร่ออกไปผู้คนก็แตกตื่น อุดรธานีซึ่งเป็นเมืองหลัก เป็นศูนย์กลางในภูมิภาค เป็นเมืองกีฬา จึงมีความจำเป็นต้องมีเครื่องวัดคุณภาพอากาศ เพื่อรายงานยืนยันผู้ที่จะเดินทางมา น่าจะเริ่มต้นจากตรวจฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ก่อน ทั้งจากกรมควบคุมมลพิษ จากท้องถิ่นที่มีความพร้อม และสถาบันการศึกษา

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments