วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
Google search engine
หน้าแรกการศึกษามรภ.อุดรฯพบถั่วพันธุ์ใหม่ของโลกที่ป่าภูวัว

มรภ.อุดรฯพบถั่วพันธุ์ใหม่ของโลกที่ป่าภูวัว

คณะวิทย์ มรภ.อุดรฯ ค้นพบพืชพันธุ์ใหม่ของโลกอีก เป็นพืชวงษ์ถั่วในป่าภูวัว จ.บึงกาฬ และพืชใหม่ในประเทศไทย ในสวนยางพารา อ.สังคม จ.หนองคาย จ่อนำมาเพาะพันธุ์ มรภ.อุดรธานี

ดร.สไว มัฐผา ภาควิชาชีวะวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.)อุดรธานี เปิดเผยว่า มรภ.อุดรธานี ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน จนเป็นที่น่ายินดีจากการค้นพบ “พืชพันธุ์ใหม่ของโลก” ที่ไม่เคยค้นพบและถูกบันทึกไว้มาก่อน บริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ ระหว่างออกสำรวจกับ ดร.สมราน สุดดี ผู้เชี่ยวชาญหอพันธุ์ไม้แห่งประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการตีพิมพ์ เอกสารทางวิชาการในชื่อว่า “พรรณนารายภูวัว” ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Millettia phuwuaensis Mattapha & Suddee

“ ขณะเดียวกันก็ได้ค้นพบ พันธุ์ไม้ใหม่ของประเทศไทย ในสวนยางพาราใน อ.สังคม จ.หนองคาย โดยนายสถาพร ปัททุม นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการณ์ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 อุดรธานี ได้พบและสอบถามมาจึงลงพื้นที่ ตรวจสอบมีรายงานพบใน สปป.ลาว ก็อยู่ในระหว่างการตีพิมพ์ทางวิชาการเช่นกัน ชื่อ ชมพิศ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Millettia pierrei Gagnep ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ค้นพบพืชพันธุ์ใหม่ของโลก บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้รับการตีพิมพ์ไปแล้วคือต้นครามอุดร ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Indigofera udonthaniensis Mattapha & Chantaranothai ”

ดร.สไว มัฐผา กล่าวต่อว่า มรภ.อุดรธานี มีภารกิจสำคัญในพื้นที่ หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ และอุดรธานี ที่จะสืบค้นหาพืชพันธุ์ให้ประเทศ หรือโลก ซึ่งขณะนี้กำลังติดตามความหลากหลาย พืชวงศ์ถั่วในลุ่มน้ำโขง เพื่อศึกษาฤทธิ์ของพืชที่มีศักยภาพ และต่อยอดทางยาสมุนไพร , ความหลากหลายของสกุล และชนิด รวมถึงการกระจายพันธุ์ สถานะของพืช ตลอดจนการเพิ่มชนิดของพืชที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์ และกำลังทำงานวิชาการ “ดีเอ็นเอ.บาร์โค๊ต” ของพืชวงศ์ถั่วในลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นทุนจาก สนง.คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ดร.สไว มัฐผา ภาควิชาชีวะวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.)อุดรธานี พืชที่ค้นพบครั้งแรกในโลก และครั้งแรกในประเทศไทย 3 ชนิด พบเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ เกิดกระจัดกระจายในพื้นที่ บางส่วนมีเพียงหย่อมเดียว มรภ.อุดรธานี มีแผนจะติดตามพืชทั้ง 3 ชนิด นำมาปลูกหรือขยายพันธุ์ในพื้นที่ รวมทั้งการนำมาเพาะเลี้ยงที่ มรภ.อุดรธานีด้วย

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments