วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมซากจอกหูหนูยักษ์ปลูกผักปลอดภัยได้ดี

ซากจอกหูหนูยักษ์ปลูกผักปลอดภัยได้ดี

จอกหูหนูยักษ์เอาขึ้นจากน้ำปีก่อน ชาวสวนผักปลอดภัยกุดลิงง้อ นำมาทดลองปลูกผักได้ผลดี ไม่น่ากลัวเหมือนอยู่ในน้ำ ทั้งซากจอกหูหนูยักษ์ล้วน ผสมดิน ผสมปุ๋ยคอก หนุนเอาขึ้นมาไว้ปลูกในปีหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ประกาศจะดำเนินการกำจัด “จอกหูหนูยักษ์” หรือ “ปีศาจเขียว” พืชลอยน้ำเอเลี่ยนสปีชีส์ ภายในอ่างเก็บน้ำกุดลิงง้อ ต.นาดี อ.เมือง โดยให้ชลประทานอุดรธานี ร่วมกับโยธาธิการและผังเมือง , ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย , อบต.นาดี และ อบจ.อุดรธานี เพื่อป้องกันน้ำท่วมเพราะไปกีดขวางทางน้ำไหล และเป็นตัวอย่างกำจัดจอกหูหนูยักษ์ ในแหล่งน้ำอื่นๆที่มีปัญหาเช่นกัน

อ่างเก็บน้ำกุดลิงง้อ เป็นอ่างเก็บน้ำแห่งเดียว ที่คันดินใช้แรงงานคนสร้าง มีความจุ 6.4 ล้าน ลบม. มีประโยชน์ป้องกันน้ำป่าไหลเข้าเมือง รวมทั้งใช้เป็นแห่งอาหาร , ปลูกข้าว , พืชสวน และแหล่งปลูกผักปลอดภัยนานาชนิด แต่ขณะนี้จอกหูหนูยักษ์เกิดเต็มพื้นที่ ไม่สามารถลงหาปลาได้ และสภาพน้ำเน่ามีกลิ่นเหม็น แม้ สนง.ชลประทาน จ.อุดรธานี เคยกำจัดโดยนำขึ้นจากน้ำ แต่ก็เจริญเติบโตกลับมาอีก และมีปัญหาสำคัญคือ “การนำขึ้นมาจากน้ำ”

อุดรธานีกำหนดเก็บใหญ่ครั้งแรก โดยใช้เครื่องจักรแบบลอยน้ำ ตัดจอกหูหนูยักษ์ออกเป็นกลุ่ม ใช้กำลังคนและเรือดันเข้าฝัง ใช้รถแบคโฮลอยบนโป๊ะ ของชลประทาน และรถแบคโฮแขนยาวของ อบจ.อุดรธานี ตักจอกหูหนูยักษ์ขึ้นมาบนฝัง ใช้รถคีบเข้ามาใส่เครื่องย่อยของ อบจ.อุดรธานี แจกจ่ายให้ชาวสวนที่ต้องการ ที่ จะนำรถมาบรรทุกไปเอง รวมทั้งขอรับการสนับสนุนเรือเก็บวัชพืช จากกรมโยธาธิการมาช่วย จากนั้นจะมีการเก็บกลาง และเก็บเล็กต่อเนื่อง

นางตวงพร พาแสง ประธานวิสาหกิจชุมชนปลูกผักนาดี บ.กุดลิงง้อ ม.3 ต.นาดี เปิดเผยว่า เรามีแปลงปลูกผัก(ปลอดภัย)ขนาดใหญ่ 1 แปลง สมาชิก 40 ราย บางรายมีพื้นที่ปลูกที่อื่นด้วย และยังมีกลุ่มย่อยๆอีก ผักที่นี่ไม่ใช้สารเคมีมานานแล้ว มีตลาดรองรับ คือ โรงพยาบาลอุดรธานี , ตลาดร่มเขียว และตลาดจริงใจ เมื่อปีก่อนชลประทานเอาจอกหูหนูยักษ์ ขึ้นจากอ่างฯมากองไว้ในโครงการ และอนุญาตให้เกษตรกระเอามาใช้ได้

“ แรกๆเราก็เอามาทดลองเท่านั้น เมื่อเห็นว่าใช้ปลูกพืชผักได้ทุกชนิด ก็ไปเอามาใช้กันทุกแปลง มีทั้งเอามาแบบล้วนๆ เอามาใส่กระถาง หรือกระบะ บ้างก็เอามาผสมกับปุ๋ยคอกและดิน ปลูกลงแปลงขนาดใหญ่ เป็นประเภทผักพื้นบ้านตลอดปี พริก , กระเพรา , โหระพา , มะเขือเปาะ , มะเขือเทศ , ผักค้างทุกชนิด และอื่นๆ ส่วนที่ปลูกขึ้นใหม่สลับกับพืชปติก็มีมี มะเขือเทศราชินี , กระเจียวสายน้ำผึ้ง ที่ทดลองปลูกใหม่ก็มีหน่อไม้ฝรั่ง ”

นางตวงพร พาแสง ประธานวิสาหกิจชุมชนปลูกผักนาดี กล่าวอีกว่า จอกหูหนูยักษ์อยู่ในน้ำน่ากลัว พอเอามันขึ้นมากองไว้บนบก นานไปก็แห้งลงไปเรื่อยๆ ชาวสวนก็เอามาปลูกผักได้จริงๆและดีด้วย ที่ชลประทานเอาขึ้นมาปีก่อนยังเหลืออยู่ ทางจังหวัดจะเอาขึ้นมาอีกก็ดีใจ กองไว้อีกสักปีก็ปลูกผักได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มไม้กระถาง มาเอาไปทดลองปลูกด้วย แต่ยังไม่รู้ได้ผลดีแค่ไหน……

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments