วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมรพ.มะเร็งอุดรรุกลดมะเร็งท่อน้ำดี

รพ.มะเร็งอุดรรุกลดมะเร็งท่อน้ำดี

รพ.มะเร็งอุดรธานี ติวเข็มแพทย์-พยาบาล-บุคลากรทางการแพทย์ จัดการมะเร็งท่อน้ำดี-มะเร็งตับ ที่อีสานตอนบนเป็นแชมป์มานาน เตรียมจับมือ อปท. ซ่อม-สร้างบ่อปฏิกูล นำเทคโนโลยี+นวัตกรรม กำจัดพญาธิต้นต่อปัญหา ไม่ให้หลุดออกจากบ่อ

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมชั้น 8 โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ถ.มิตรภาพ อ.เมือง อุดรธานี เรืออากาศเอกสมชาย ธนะสิทธิชัย ผอ.รพ.มะเร็งอุดรธานี เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการด้านโรคมะเร็ง 2567 ในหัวข้อ Redefining a new ERA of cholangiocarcinoma เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ และความก้าวหน้าด้านการดูแลรักษาโรคมะเร็ง ให้กับแพทย์และบุคลาทั้งในและนอกสถาบัน 200 คน โดยมีความเชี่ยวชาญจาก รพ.มะเร็งอุดรธานี , รพ.รามาธิบดี , รพ.ราชวิถี , รพ.ศรีนครินทร์ , คณะแพทย์ศาสตร์ ม.ขอนแก่น , คณะพยาบาล ศาสตร์ ม.อุบลราชธานี , รพ.สกลนคร , รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ และ สนง.ป้องกันและควบคุมโรคที่ 8 อุดรธานี มาร่วมให้ความรู้

นพ.วรินท์ อิงศิโรรัตน์ รอง ผอ.รพ.มะเร็งอุดรธานี กล่าวว่า มะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma) เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ของเซลล์เยื่อบุท่อทางเดินน้ำดี พบมากที่สุดในเขตพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 (อีสานตอนบน) พ.ศ. 2560 พบอุบัติการณ์มะเร็งท่อน้ำดีในตับ 14.6 ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี ผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการ จะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้ว เช่น ปวดท้อง น้ำหนักลด อาการจากการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดี ได้แก่ อาการเหลือง คันตามตัว ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด หรือมาด้วยภาวะติดเชื้อในท่อทางเดินน้ำดี ซึ่งมักพบว่าเป็นระยะลุกลามแล้ว ทำให้โอกาสการรักษา ให้หายขาดลดลง การผ่าตัดในมะเร็งระยะต้นเป็นทางเดียว จะเพิ่มโอกาสให้มีชีวิตระยะยาวได้

“ รพ.มะเร็งอุดรธานี ได้เล็งเห็นความสำคัญจากสถานการณ์โรคดังที่กล่าว ได้จัดโครงการประชุมวิชาการด้านโรคมะเร็ง พ.ศ. 2567 เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ทางวิชาการ และความก้าวหน้าด้านการรักษาผู้ป่วยมะเร็งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการในทุกภาคส่วน พัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ในแต่ละระดับให้ได้มาตรฐาน เผยแพร่วิทยาการความก้าวหน้าทางการแพทย์ด้านศัลยกรรม เปิดโอกาสให้แพทย์และพยาบาลผู้สนใจ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาชีพ สามารถนําความรู้จากการอบรม ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของศัลยแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ”

เรืออากาศเอกสมชาย ธนะสิทธิชัย ผอ.รพ.มะเร็งอุดรธานี กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่รุนแรงระดับโลก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบอัตราตายด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 3 ในเพศหญิง ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ถึงแม้จะพบในระยะเริ่มต้นอัตราการหายขาดก็ยังต่ำมาก การผ่าตัดในมะเร็งระยะต้นเป็นทางเดียวที่จะเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตระยะยาวได้ ซึ่งในปัจจุบันความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้การผ่าตัดรักษาผู้ป่วย มีการพัฒนาไปมาก ผู้ป่วยมีโอกาสหายและกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ จึงจำเป็นที่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการรักษา ด้วยการผ่าตัดที่เป็นปัจจุบัน

แต่จากอัตราการป่วยกลับไม่ลดลง จึงต้องนำมาประชุมทางวิชาการ ตอบสนองนโยบายกการบริการด้านโรคมะเร็งครบวงจร ครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่การส่งเสริม ป้องกัน คัดกรอง การตรวจวินิจฉัย การรักษา จนถึงการรดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เพิ่มการเข้าถึงการบริการ การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งกับนโยบาย Cancer Anywhere ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ให้ได้รับบริการการรักษาครอบคลุมทุกกระบวนการ ใน ร.พ.ที่มีศักยภาพ และใกล้บ้านโดยเร็วที่สุด สามารถรักษาข้ามเขต ข้ามจังหวัดได้ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าสู่ระบบบริการ และได้รับการรักษาด้วยความรวดเร็ว

เรืออากาศเอกสมชาย ธนะสิทธิชัย ผอ.รพ.มะเร็งอุดรธานี เปิดเผยว่า มะเร็งตับมะเร็งและท่อน้ำดี มีมากในภาคเหนือและอีสาน แต่ภาคอีสานมีความ รุ่นแรงมากกว่า รพ.มะเร็งอุดรธานี รับผิดชอบในเขตสุขภาพที่ 8 เมื่อเรามาดูตัวเลข “บ่อปฏิกูล” ขององค์กรปกครองท้องถิ่น ที่ทั่วประเทศเรามีเพียง 4 % เท่านั้น ทำให้วงจรของโรคมันไม่จบ ถ้าจะทำพร้อมกันทั้งหมดคงลำบาก เราจึงจะสร้างรูปแบบเพื่อให้เห็นเป็นอย่างไรบ้าง ทำเหมือนกรณีศึกษาจริงๆขึ้นมา โดยจะเริ่มที่อุดรธานี 2 แห่ง แห่งแรก ทต.นาข่า อ.เมือง ที่คุยกันมาแล้ว และ ทต.หนองไผ่ อ.เมือง เริ่มคุยกันในวันนี้ จากนั้นก็เป็นจังหวัดติดแม่น้ำโขง

ในกรณีศึกษาจะเกิดโมเดล 2 แบบ คือ 1.แบบที่มีบ่อปฏิกูลอยู่แล้ว แต่ยังต้องทำการปรับปรุง ให้สามารถกำจัดพญาธิตัดวงจรของโรค 2.สำหรับ อปท.ไม่มีบ่อปฏิกูล โดยสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบ ด้วยงบประมาณไม่สูงเกินไป สร้างขึ้นมาใหม่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ที่ท้องถิ่นหรือเอกชนจะเป็นผู้ลงทุน รพ.มะเร็งอุดรธานี จะให้เทคโนโลยีกับนวัตกรรม ที่สำคัญรูปแบบทั้ง 2 ลักษณะ จะต้องไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดพญาธิ โดยจะเริ่มได้ในปี 2568….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments