วันพุธ, ธันวาคม 4, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมลุ้นพืชสวนโลกอุดร“ขอไปต่อ”

ลุ้นพืชสวนโลกอุดร“ขอไปต่อ”

กรมวิชาการเกษตรชง “ธรรมนัส” พืชสวนโลกอุดรผังแม่บทช้า ปรับพื้นที่สร้าง+จัดสวน ไม่ทันส่งมอบ AIPH ส่งปลัดเกษตรฯชง “จะหยุดแค่นี้ หรือไปต่อ” สั่ง 3 เดดไลน์ ผู้ว่าฯอธิบดีคุยกัน-หาข้อสรุปก่อนประชุม-ให้เวลา7วันปรับผังแม่บท

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 ครั้งที่ 2/2567 ผ่านระบบออนไลน์ จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนายประยูร อินทรสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรฯเป็นประธาน นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และกรรมการที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมกับคณะกรรมการจากศาลากลาง จ.อุดรธานี มีนายณัฐพงศ์ คำวงศ์ปิน และนายณฐพล วิถี รอง ผวจ.อุดรธานี นำคณะกรรมการและคณะทำงาน เข้าร่วมประชุม

ก่อนการประชุมนายประยูร อินทรสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้หารือกับรอง ผวจ.อุดรธานี และอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ถึงข้อสั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากข้อห่วงใยหลังจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ทำบันทึกข้อห่วงใยการเตรียมงาน มหกรรมพืชสวนโลก จ.อุดรธานี ถึง รมว.เกษตรฯ จึงจำเป็นต้องพูดคุยกันก่อนว่า “งานมหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี เราจะเดินต่อกันไหม ถ้าไม่เดินต่อก็เลิก” ก่อนจะเริ่มประชุมครั้งนี้ โดยให้อธิบดีกรมว่าการเกษตรแจ้งรายละเอียดบันทึก

นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ชี้แจงว่า กรมวิชาการเกษตรในฐานะ เลขาฯคณะกรรมการบริหารพืชสวนโลก จ.อุดรธานี ได้หยิบประเด็นสาระสำคัญ เรื่องระยะเวลาในการดำเนินงาน และการประชุมคณะอนุฯภูมิสถาปัตย์ และคณะอนุฯกลั่นกรอง เรื่องข้อจำกัดในระยะเวลาการส่งมอบมาสเตอร์แปลน หลังจากกรมวิชาการเกษตร ได้รับมาพร้อมกับเอกสารแนบเมื่อ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา แล้วให้สถาบันวิศวเกษตรได้ตรวจ มีข้อสังเกตห่วงใย 7-8 ข้อ

“ เบื้องต้นพอเห็นมาสเตอร์แปลน พบมีหลายนัยสำคัญไม่เรียบร้อย รวมถึงระยะเวลาในการถมดิน จึงรายงานให้ปลัดกระทรวงฯ และรัฐมนตรีรับทราบ ระยะเวลาถมดินใช้เวลาถึง 240 วัน ซึ่งกว่าจะถมเสร็จก็เข้าฤดูฝน ก็อาจจะทำให้การถมล่าช้าถึง ก.พ.68 ดังนั้นข้อจำกัดเรื่องเวลา เกินระยะเวลาในการก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น อาคารหลักใช้เวลาถึง 600 วัน รวมไปถึงการถอดแบบตาม BOQ มีหลายรายการที่เราตรวจพบว่า ไม่ตรงกับเงื่อนไขของกรมบัญชีกลาง ถ้าเรารับมาทำให้เสียเวลาเข้าไปอีก งานจะไม่เสร็จทันส่งมอบให้ AIPH ”

นายประยูร อินทรสกุล ปลัดกระทรวงเกษตร ให้กรมวิชาการเกษตร แจ้งถึงข้อสั่งการ รมว.เกษตร ที่กระทรวงฯส่งมาให้กรมฯนานแล้วด้วย ซึ่งต่อมามีการแจ้งข้อสั่งการของ รมว.เกษตรฯว่า เห็นควรให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประสานงานกับ จ.อุดรธานี และกรมวิชาการเกษตร บูรณาการปรับแผนแม่บท ให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่เหลือ เพื่อให้ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนต่อไป

ปลัดกระทรวงเกษตรฯ กล่าวต่อว่า เพราะเห็นว่าการประชุมทุกครั้ง อุดรธานีกับกรมวิชาการเกษตร ก็คุยกันไม่รู้เรื่องซักครั้ง แล้วก็มาทำงานด้วยกัน ผู้หลักผู้ใหญ่ที่สูงขึ้นไปก็ไม่สบายใจ รมว.เกษตรฯ จึงกำชับให้มาคุยกันก่อนประชุม เลิกกันไหม ถ้าเลิกก็ให้เสนอขึ้นมา ว่าทำตามกรอบไม่ได้ก็ชะลอไปก่อน ให้ประเทศอื่นจัดไปก่อน แล้วเราค่อยไปขอจัดใหม่

นายณฐพล วิถี รอง ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า อุดรฯได้ชี้แจงทำความเข้าใจ กับกรมวิชาการเกษตรมาตลอด โดยเฉพาะความล่าช้าของแผนงาน ในส่วนมาสเตอร์แปลน คงจะไปปรับเปลี่ยนไม่ได้ แต่สามารถปรับแผนดำเนินการได้ เช่น การปรับพื้นที่เริ่มในเดือนนี้ เมื่อได้ผู้รับจ้างจังหวัดจะบริหารโครงการ ด้วยขอให้กรมวิชาการเกษตรมาร่วมกันดู ว่าพื้นที่ไหนควรปรับก่อน เพิ่มเริ่มก่อสร้างจุดนั้นได้ โดยยืนยันไม่อยากจะให้ยกเลิก เพราะมีเรื่องการใช้จ่ายงบฯไปแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือความคาดหวัง ของประชาชนชาวอุดรธานี เป็นเรื่องความรู้สึกที่จะตามมา ขอใช้คำว่า “วิงวอน” พร้อมที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาของทุกฝ่าย

จากนั้นจึงได้เริ่มทำการประชุม ในกรองการเดินหน้าโครงการต่อ จากวาระรายงานความคืบหน้า มาจนถึงวาระที่พิจารณา กรมวิชาการเกษตรได้รายงานรายละเอียด ข้อปัญหาและห่วงใย ขอลดเวลาการปรับพื้นที่ , รายละเอียด BOQ ของ อาคารเฉลิมพระเกียรติ และหมู่บ้านอีสาน ไม่สอดคล้องกัน , วัสดุ+ค่าแรง ไม่ตรงกับราคาของกรมบัญชีกลาง , หลังคาเมทัลชีสไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และค่าแฟรกเตอร์ ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า มีรายละเอียดย่อยที่ตรวจสอบได้ อาทิ แผ่นเมทัลชีสแบบยาว 30 ม. และสร้างสูงจากพื้นมาก ทำให้ราคาต่างกับบ้านทั่วไป และผู้รับจ้างยังมีสัญญา เข้ามาปรับแก้เพิ่มเติมอยู่

นายประยูร อินทรสกุล ปลัดกระทรวงเกษตร มีข้อสั่งการให้ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี และอธิบดีกรมวิชาการเกษตร หาเวลามาจับเข่าคุยกัน เพื่อเพิ่มความคล่องตัว , ให้คณะทำงานย่อยประชุมร่วม เพื่อหาข้อยุติในเรื่องต่างๆ ก่อนนำเข้าที่ประชุม และให้กรมวิชาการเกษตร ส่งคณะทำงานมาที่ จ.อุดรธานี เพื่อร่วมกันปรับผังแม่บท ให้สอดคล้องกับเวลาที่มีอยู่ ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน ทำงานกันแบบไม่ต้องมีวันหยุด เพื่อนำข้อสรุปเข้าประชุม 24 พ.ค.ที่จะถึงนี้

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments