เวทีนัดสุดท้ายถนนอุดร-บึงกาฬ 155 กม.มูลค่า 2 หมื่นล้าน เจ้าของที่ดินหอบโฉนด-นส.3ก.-สปก. มาตรวจสอบ อยู่ในแนวเวนคืนหรือไม่
วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ที่ ห้องประชุมอุดรดุษฎี โรงแรมเจริญโฮเต็ล จังหวัดอุดรธานี นายศรัณย์ศักด์ ศรีเครือเนตร รอง ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการศึกษา โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวงแนวใหม่ เชื่อมโยงทางหลวงหมายเลข 2 – ทางหลวงหมายเลข 222 อุดรธานี – บึงกาฬ มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่แนวถนน ร่วมประชุมและนำเอกสารสิทธิที่ดินตนเอง มาตรวจเปรียบเทียบกับแนวถนน ว่าที่ดินตนเองจะอยู่ในแนวเวนคืนหรือไม่
นายศรัณย์ศักด์ ศรีเครือเนตร รอง ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงการจราจร จะช่วยให้การคมนาคมขนส่งสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ประชาชนมีความคล่องตัวในการเดินทางสัญจร เป็นการพัฒนาเพื่อรองรับการการขยายตัว และความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม เชื่อมโยงในภูมิภาค ตนเคยติดตามโครงการนี้ มาตั้งแต่เป็นนายอำเภอสร้างคอม เมื่อครั้งย้ายไป อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ก็ยังเฝ้าติดตามโครงการนี้อยู่ เมื่อกลับมาเป็นรองผู้ว่าฯอุดรธานี มีความคืบหน้าจนใกล้สำเร็จ หวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมวันนี้ จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ให้ที่ปรึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้าย
นายจินตวัฒน์ เจริญศรีศิริพงษ์ วิศวกรโครงการ บ.ที่ปรึกษาฯ ชี้แจงว่า ถนนอุดรธานี-บึงกาฬ หรือทางหลวง 222 ได้เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ปี 63-65 ได้แนวถนนที่มีความยาว 155 กม. เพื่อลดปริมาณรถที่มาจาก ขอนแก่น-สกลนคร ที่มุ่งหน้าไป จ.บึงกาฬ ระยะทาง 205 กม. หรือลดระยะทางลง 50 กม. โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองเมือง และหนองคาย มีความคุมค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 17 % ครั้งนี้เป็นการศึกษาออกแบบงานวิศวกรรม และจัดการกรรมสิทธิ์ (ที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง-พืชผลการเกษตร)เบื้องต้น ประชุมมาแล้ว 3 ครั้งๆนี้เป็นครั้งสุดท้าย
ทางหลวงหงายเลข 222 หรือ อุดรธานี-บึงกาฬ เป็นถนนมาตรฐานพิเศษ ตัดใหม่ขนาด 4 เลน มีการเวนคืนที่ดิน ไม่มีการเก็บเงินค่าผ่านทาง ไม่มีรั้วกั้นตามแนวถนน เริ่มต้นโครงการที่ “โค้งสล็อต” ถ.มิตรภาพ ต.ผาสุก อ.กุมภวาปี ไปสิ้นสุดบรรจบกับถนนวงแหวน จ.บึงกาฬ หรือทางหลวง 244 มีทางแยกต่างระดับ 3 จุด ในหลายรูปแบบตามความเหมาะสม 1.บริเวณเริ่มต้นโครงการ , 2 จุดตัดทางหลวง 22 อุดรธานี-สกลนคร อ.หนองหาน และ 3.จุดตัดสิ้นสุดโครงการ จ.บึงกาฬ
มีทางยกข้ามทางรถไฟ 1 จุด ใกล้กับจุดเริ่มต้นโคงการ , มีทางแยกย่อยรวม 7 แห่ง จะเป็นการสร้างถนนยกข้าม อุดรธานี 3 แห่ง , หนองคาย 2 แห่ง และบึงกาฬ 2 แห่ง , จุดกลับรถ(ยูเทิน)จะไม่มีที่เกาะกลางถนน แต่จะใช้จุดกลับรถบริเวณใต้สะพาน ที่มีทั้งสิ้น 61 สะพาน เป็นสะพานขนาดใหญ่ 11 สะพาน จะว่างท่อลอดถนน เป็นแบบท่อกลม 143 แห่ง ท่อเหลี่ยม 40 แห่ง เพื่อไม่ให้ถนนเป็นเขื่อนกั้นน้ำ นอกจากนี้ยังมีจุดพักรถที่ อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย