เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 29 มิถุนายน 2565 บริเวณวัดหนองบัวร้าง ริมสวนสาธารณะหนองบัววังมัจฉา ถ.นิตโย ต.หมากแข้ง อ.เมือง อุดรธานี ว่าที่ร้อยตรีจุลสัน ทันอินทร์อาจ ผอ.สนง.พระพุทธศาสนา จ.อุดรธานี พร้อมเจ้าหน้าที่จาก สำนักศิลปากร ที่ 8 จ.ขอนแก่น , สนง.โยธาธิการและผังเมืองอุดรธานี , สนง.เทศบาลนครอุดรธานี , สนง.ที่ดิน จ.อุดรธานี และนางฉายา ตยางคนนท์ เจ้าของโรงน้ำแข็งอุดรกิตติ อดีตประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี ร่วมกันชี้แนวเขตพัฒนาปรับปรุง “ เจดีย์หลวงปู่ วัดหนองบัวร้าง” โดยมีพระครูศาสนูปกรณ์ เจ้าคณะอำเภอเมือง (ธ) มาติดตามความก้าวหน้า
ว่าที่ร้อยตรีจุลสัน ทันอินทร์อาจ ผอ.สนง.พระพุทธศาสนา จ.อุดรธานี ได้แจ้งให้ทุกฝ่ายถึงแผนปฏิบัติว่า ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด พื้นที่นี้เป็นวัดร้างมีกรมการศาสนาดูแล ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ไม่มีผู้เช่า เป็นส่วนของเจดีย์ร้าง ศิลปะแบบลานช้าง และลานด้านทิศเหนือ ส่วนด้านทิศใต้มีผู้เช่า อยากจะให้ฝ่ายกรมศิลปากร เสนอแผนงานเบื้องต้นให้ผู้เช่า ต้องการจะใช้พื้นที่ใดบ้าง ซึ่งการพูดคุยเป็นไปด้วยดี ส่วนที่เหลือประสานกับ สนง.พระพุทธศนาอุดรธานี
หลังจากมีการพูดคุย และเข้าตรวจวัดพื้นที่จริง เปรียบเทียบกับแผนที่เดิมสรุปว่า กรมศิลปากรจะกลับไปกำหนดผัง ของที่ดินทั้งหมดที่เช่าแล้วและยังไม่เช่า ส่วนไหนเป็นถนน ส่วนไหนเป็นโบราณสถาน โดยโบราณสถานแบ่งเป็น 2 จุดๆแรก คือ “เจดีย์หลวงปู่ร้าง” จะกันแนวเขตไว้ในรัศมี 10 เมตร ห่างจากฐานเจดีย์ จุดที่สองที่ตั้ง “สิมโบราณ” จะกันพื้นที่ห่างจากแนวรั่วเหล็ก 2 เมตร หลังจากร่างผังพื้นที่เสร็จ จะนำเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณา แก้ไขปรับปรุงให้สมบูรณ์ แล้วกลับมาพิจารณาครั้งมี่สอง ก่อนส่งให้กรม…พิจารณา จากนั้นจึงจะกลับมาเป็นขั้นตอนของจังหวัดอุดรธานี และ สนง.พระพุทธศาสนา
ว่าที่ร้อยตรีจุลสัน ทันอินทร์อาจ ผอ.สนง.พระพุทธศาสนา จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี มอบหมายให้นายปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องหลายครั้ง ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชน และพระสงฆ์ โดยมี สนง.พระพุทธศาสนา จ.อุดรธานี เป็นผ่ายเลขาติดตามเรื่อง เพราะที่ดินผืนนี้เป็น “วัดร้าง” อยู่ในความดูแลของกรมการศาสนา เพราะร่วมปรับปรุงพัฒนา องค์เจดีย์หลวงปู่ และวัดหนองบัวร้าง ตามข้อเสนอของหลายฝ่าย เพื่อให้สถานที่แห่งนี้ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ
“ วันนี้ได้นัดหลายหน่วยงานลงพื้นที่ เพื่อมาดูพื้นที่จริงว่าเราจะปรับภูมิทัศน์อย่างไร เนื่องจากพื้นที่นี้มีทั้งส่วนที่ไม่มีผู้เช่า 2 ไร่เศษ และมีผู้เช่าอยู่แล้ว แต่ยังไม่หมดสัญญา จึงให้ผู้เช่ามาชี้แนวเขตยินยอมให้พื้นที่เช่าบางส่วน โดยกรมศิลปากรจะเป็นผู้กำหนดแนวเขต ของการอนุรักษ์และปรับปรุงโบราณสถาน ไม่ให้เกิดการพังทลาย และสอดคล้องกับการอนุ รักษ์ ทน.อุดรธานีมาดูแลออกแบบปรับภูมิทัศน์โดยรอบ ส่วนอื่นๆก็เข้าสนับสนุน กระบวนการของเรากำลังเริ่มออกแบบ ” …