วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกเศรษฐกิจ21 ปี เอพีพีซี.อยู่รอเหมืองโพแทช

21 ปี เอพีพีซี.อยู่รอเหมืองโพแทช

21 ปี เอพีพีซี.ยังปักหลักในพื้น เฝ้ารอจน ครม.ไฟเขียวให้อุตสาหกรรม เดินหน้าออกประทานบัตร “สุวิทย์ กุหลาบวงษ์”ถามไฟเขียวเหมืองโพแทช จะเอายังไงกับ อบต.ห้วยสามพาด สภาฯมีมติไม่เอา

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ที่สำนักงานศูนย์ประชาสัมพันธ์ บ.เอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์เปอร์เรชั่น จก. หรือ เอพีพีซี. บ.หนองตะไก้ ม.4 ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี ที่ก่อนหน้านี้ยังคงปักหลัก ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เมื่อคณะรัฐมนตรีไปเขียวให้ กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการขั้นตอน เพื่อออกประสานบัตรให้หลังจากรอมากว่า 21 ปี สำนักงานฯยังคงเปิดทำงานตามปกติ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นพิเศษ

โดยบริเวณพื้นที่โครงการที่ เอพีพีซี.จัดซื้อไว้ 1,681-1-49 ไร่ อยู่ด้านทิศเหนือของ บ.หนองตะไก้ ม.4 ต.หนองไผ่ บริเวณใกล้กับอ่างฯหนองตะไก้ มีการก่อสร้างซุ้มประตูและป้าย “โครงการอุดรโพแทช บริษัทเอเชีย แปซิกฟิก โปแตซ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด.” แนวเขตที่ดินของโครงการ จะใช้การล้อมรั้วด้วยเสาไม้ และไม้ไผ่ 2 ชั้น ที่นำมาจากพื้นที่ของโครงการ ระหว่างกลางปลูกต้นสนทะเล 2 แถว จากสภาพต้นไม้อายุน่าจะกว่า 5-10 ปี ขณะที่พื้นที่ยังไม่มีการปรับแต่ง

นางพิชญ์ วงศ์นันท์ อายุ 50 ปี บ้านเลขที่ 40 ม.4 บ.หนองตะไก้ เปิดเผยว่า อยากให้รัฐบาลผลักดันเหมืองแร่โพแทช เพื่อที่ลูกหลานในชุมชนได้มีงานทำ ไม่ต้องไปทำงานต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ พร้อมทั้งยังได้อยู่กับพ่อแม่ และลูกตัวเอง การค้าการขายจะได้คึกคัก เพราะเดี๋ยวนี้ในหมู่บ้านเงียบมากไม่ค่อยได้ขายของสักเท่าไหร่ และอีกอย่างปุ๋ยเมื่อก่อนราคา 700-800 บาท แต่ตอนนี้มีราคาสูงไป 1,700 บาท ปุ๋ยแพงแต่ข้าวมีราคาถูก อีกทั้งน้ำมันก็ยังขึ้นไปอีก เลยอยากให้เกิดเหมืองแร่โพแทช เพื่อที่จะได้เอาขึ้นมาทำปุ๋ย

นายภูมิภัส มัลเชษฐ์ หน.กลุ่มงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สนง.อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี ตอบข้อซักถามว่า เมื่อ ครม.รับทราบแล้วในแนวทางปฏิบัติ เรื่องจะถูกส่งมาที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาต โดยรัฐมนตรีฯจะแต่งตั้งคณะกรรมการแร่ ขึ้นมาพิจารณาเรื่องต่างๆ รวมไปถึงการกำหนดเวลา แล้วให้อธิบดี กพร.ลงนามประกาศ ส่งมายังจังหวัดแล้วนับประชุม ผู้มีส่วนได้เสียทั้งประชาชนในพื้นที่ และองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งจะมีขั้นตอนอีกพอสมควร จนต้องลงไปตรวจพื้นที่ ทั้งนี้ตั้งแต่รับประทานบัตร จะต้องทำการเจาะลงใต้ดินภายใน 2 ปี

หน.กลุ่มงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สนง.อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี ตอบข้อซักถามเรื่องคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นว่า เป็นการฟ้องกล่าวหา กพร. , อุตสาหกรรมอุดรธานี และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง 1.การประชุมกำหนดเงื่อนไข EIA ไม่ถูกต้อง และ 2.กระบวนการไต่สวนแนวเขตไม่ชอบ ซึ่งผู้ถูกฟ้องได้ชี้แจงให้กับอัยการ ยังรอศาลปกครองสูงสุดพิจารณา พร้อมระบุว่าไม่ต้องมานับหนึ่งใหม่ เพราะมีการสอบถามไปยังกฤษฎีกาแล้ว ว่าในขึ้นตอนการขออนุญาต เดิมได้ทำตาม พรบ.แร่ ปี 10 สิ่งที่ทำไปนั้นได้ครอบลุมแล้วตาม พรบ.แร่ ปี 60 ทั้งนี้เหมืองโพแทชอุดรธานี เป็นนโยบายจากภาครัฐเราก็ทำตามระเบียบขั้นตอน

นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ นายกสมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า (โทรศัพท์) โพแทชครั้งนี้เป็นเรื่องการเมือง เพราะตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา จะมี ส.ส.ทางฟากของพรรค พปชร. ออกมาพูดทั้งในและนอกสภาฯ เกี่ยวกับปุ๋ยแพงน่าจะเอาโพแทชที่อุดรฯมาใช้ ก็เชื่อว่าจะเปิดไฟเขียว ไม่คิดว่าจะเป็นเมื่อวานนี้ แต่ใช่ว่าวันสองวันจะเอาขึ้นมาได้เลย ยังมีขึ้นตอนของเอกสาร ยังมีข้อคาใจที่ต้องหาคำตอบชัดเจน อาทิ จะทำอย่างไรกับ อบต.ห้วยสามพาด ที่สภา อบต. เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย หรือจะทำอย่างไรเรื่อง EIA ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและเป็นเท็จ และอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ 1-2 ปี จะเอาแร่โพแทชมาใช้ได้ อาจจะมากกว่า 5- 7 ปีก็ได้….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments