เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2564 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน หรือ กกร.อุดรธานี มี พ.ท.วรายุต์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี นั่งเป็นประธานฯครั้งแรก มีนายวันชัย อนุตรชัชวาล ประธานหอการค้า จ.อุดรธานี นายโกวิท จะระคร ประธานชมรมธนาคาร จ.อุดรธานี นำคณะที่ปรึกษาฯ , คณะกรรมการฯ และตัวแทนองค์กรภาคเอกชน ร่วมติดตามความคืบหน้า 3 เรื่องสำคัญ
เรื่องแรก “โครงการถนนตามผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี” สาย จ. และสาย ง.8 ระยะทาง 15 กม. เป็นถนนคนกรีตเสริมเหล็ก 4 เลน จุดเริ่มต้นโครงการข้างโชว์รูม MG ถนนมิตรภาพ – จุดตัดทางรถไฟ (สร้างทางข้าม) – ถนนนิตโย ข้างปั้มน้ำมัน (สร้างทางต่างระดับจุดตัดสี่แยก) – อ้อมหนองตะไกล้ หลังค่ายเสนีย์รณรยุทธ – มาบรรจบถนนอุดรธานี-หนองใส – ย้อนกลับมาถนนวงแหวนตะวันออก กรมทางหลวงชนบทได้ศึกษา-ออกแบบ , ออกพระราชกฎษฎีการเวนคืน , สำรวจทำผังเขตถนน สำหรับการชดเชยแล้ว
และได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล 800 ล้านบาท เนื่องจากพระราชกฤษฎีกามีขึ้นในปี 62 มีอายุอยู่ได้เพียง 4 ปี ใกล้จะสิ้นสุดเวลาบังคับใช้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยเกิดปัญหาลักษณะนี้ ว่าจะสามารถขยายเวลาได้หรือไม่อย่างไร กกร.จึงมีความเห็นร่วมกันที่นำเรื่อวนี้ เข้าพิจารณาในการประชุม คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ. เพื่อขอให้ผลักดันให้ได้รับงบประมาณ มาก่อนที่พระราชกฎีกาเวนคืนจะหมดอายุ
เรื่องที่สอง “ปัญหาทางพาดรถไฟบ้านจั่น” ช่วงที่มีการศึกษาออกแบบ เอกชนขอให้ยกทางรถไฟข้ามเขต ทน.อุดรธานี ผู้ศึกษาก็รับปากและเราก็เชื่อตามนั้น จนเมื่อมีการศึกษาออกแบบ ทางต่างระดับทางหลวงหมายเลข 2 ตัดทางหลวงหมายเลข 216 (แยกบ้านจั่น) ทำให้รู้ว่าทางพาดรถไฟ จุดตัดทางหลวง 216 รถไฟความเร็วสูงยกระดับขึ้น แต่รถไฟทางคู่ยังอยู่พื้น เพื่อไปสู่งปูนซีเมนต์ให้เอกชน ทำให้รูปแบบถนนยกระดับ บนทางหลวง 216 มีความยาวกว่า 950 ม. เพื่อข้ามแยกบ้านจั่น-ข้ามรถไฟทางคู่-ลอดรถไฟความเร็วสูง
ซึ่งเป็นรูปแบบไม่เหมาะสม และกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน แม้ว่ามีผู้มีประสบการณ์มาบอกว่า หากจะมีการเปลี่ยนรูปแบบ จะทำให้โครงการล่าช้าไป 2-3 ปี ไม่เชื่อว่าจะล่าช้ามากขนาดนั้น แต่ถ้าหากล่าช้ามากกว่า 2-3 ปี ก็พร้อมให้ล่าช้าเพื่อได้รูปแบบดีที่สุด เพราะเรื่องเทคนิคและงบประมาณ เป็นเรื่องที่เจ้าของโครงการ คือ รัฐบาลรับผิดชอบ สำหรับเรื่องผลกระทบประชาชนๆจะเป็นผู้ตัดสิน ที่สุดที่ประชุม กกร.อุดรธานี ยกมือแสดงมติแก้ไขรูปแบบจากเดิม ให้ยกระดับรถไฟทั้งทางคู่ และความเร็วสูง ข้ามเขต ทน.อุดรธานี โดยไม่มีเสียงคัดค้าน
เรื่องที่สาม “การขอชะลอการโอนการบริหารสนามบินอุดรธานี” โดยก่อนหน้านี้ 12 องค์กรหลักของอุดรธานี ที่รวมทั้ว กกร.อุดรธานี ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ขอให้ชะลอการเปลี่ยนมือบริหาร ท่าอากาศยานอุดรธานี จากกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ไปเป็น บ.ท่าอากาศยานไทย จก.(มหาชน) หรือ ทอท. เพื่อขอให้ ทย. หรือ ทอท. มาพูดคุยชี้แจงรายละเอียดก่อนว่า “อนาคตท่าอากาศยานอุดรธานีจะเป็นอย่างไร” ตลอดจนการรับฟังคิดเห็นคนพื้นที่
โดยองค์กรภาคเอกชนอุดรธานีมองว่า …..“ ท่าอากาศยานอุดรธานี เป็นบริการสาธารณะ ไม่แสวงหาผลกำไร และเป็นเกรดเวย์เดียว ที่สามารถฟื้นคืนเศรษฐกิจ ได้เร็วที่สุดจากการบอบช้ำจากโควิด-19 เมื่อเปลี่ยนมือจำทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่ อาทิ ค่าสินค้าและบริการ , ค่าจอดรถ , ค่าธรรมเนียมสนามบินของผู้โดยสาร และเครื่องบินโดยสาร การเช่าพื้นที่ขายสินค้า และอื่นๆ ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า 1.ติดตามทวงถามหนังสือ ที่ยื่นไปยังนายกรัฐมนตรีไปแล้ว และ 2.ขอรับการสนับสนุน มรภ.อุดรธานี ศึกษาเบื้องต้นท่าอากาศยานอุดรธานี