วันจันทร์, พฤศจิกายน 11, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมPM 2.5 อุดรฯพุ่ง 4 วันต่อเนื่องช่วงบ่ายสีแดงเริ่มมีผลต่อสุขภาพ

PM 2.5 อุดรฯพุ่ง 4 วันต่อเนื่องช่วงบ่ายสีแดงเริ่มมีผลต่อสุขภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ กรมควบคุมมลพิษ ตั้งอยู่ริมหนองประจักษ์ศิลปาคม ด้านถนนเพาะนิยม เทศบาลนครอุดรธานี รายงานคุณภาพอากาศแบบเรียวไทม์ ตรวจสอบได้จากเวฟไซด์ “แอร์4ไทย” พบว่าบ่ายวันนี้ค่ามลพิษวัดได้ 202 AQI และค่าคุณภาพอากาศ PM 2.5 วัดได้ 92 ไมโครกรัมต่อ ลบม. ขยับเข้าสู่สถานการณ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ หลังจากช่วงเช้าที่ผ่านมา ค่ามลพิษวัดได้ 185 AQI หรือเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น

เมื่อตรวจสอบย้อนหลังพบว่า ค่ามลพิษของอุดรธานีสูงขึ้นเร็วมาก จากต้นเดือนเมษายนอยู่ในระดับ “สีฟ้า” หรือดีมาก เพราะช่วงนั้นมีพายุฝนติดต่อกันหลายวัน จากนั้นเริ่มมีการสะสมของฝุ่นละออง และหมอกควันเพิ่มมากขึ้น จากลมมีกำลังอ่อนและไม่มีฝนตก ทำให้วันที่ 5 เมษายนก็เริ่มขยับสูงขึ้นเป็น 29 AQI (เขียว) , 33 AQI AQI (เขียว) , 55 (เหลือง) , 147 AQI (ส้ม) , 124 AQI (ส้ม) , 159 AQI (ส้ม) และวันนี้สูงสุด 202 AQI (แดง) เมื่อครบ 24 ชม. ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 190 AQI (ส้ม)

มีคำแนะนำให้ประชาชนทั่วไป เฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันหากจำเป็น , ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรลดระยะเวลบาทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันหากจำเป็น ถ่มีอาการ ไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ปวดศีระษะ หัวใจเต้นไม่ปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์

นายธีระภัทร์ ผิวสวัสดิ์ ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า อุดรธานีได้กำหนดแผนรณรงค์ รับมือคุณภาพอากาศตั้งแต่ต้นปี ตั้งแต่ลดการเผาอ้อยส่งโรงงาน , รณรงค์ไถกลต่อซัง ไม่เผาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร , การตรวจจับควันดำ , การป้องกันไฟป่า (ชิงเผาชิงเก็บ) , ลดเหตุไฟไหม้ริมทาง รวมทั้งกวดขันโรงงานอุตสาหกรรม และฝุ่นที่เกิดจากการก่อสร้าง ทำให้ปีนี้สถานการณ์ก่อนหน้านี้ไม่รุนแรง พอเริ่มค่าคุณภาพอากาศสูงขึ้น ในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก็มีฝนตกลงมาต่อเนื่องค่าตรวจวัดก็ลดลง

“ วันนี้เราไม่มีการเผาอ้อย เพราะโรงงานน้ำตาลปิดหีบหมดแล้ว ตรวจพบจุดความร้อนที่เกิดจากไฟป่า และการเผาพื้นที่เกษตรกรรมน้อยมาก บางวันพบเพียง 2-3 จุด และสูงสุดเกินวันละ 10 จุดเพียงไม่กี่ครั้ง ค่าคุณภาพอากาศที่สูงขึ้น เกิดบริเวณจุดอับลมอาการนิ่ง ไม่มีลมพัดเปลี่ยนลมมา เกิดการสะสมของ PM 2.5 เรายังไม่ประกาศเตือนภัย โดยคิดว่าสถิติของอุดรธานี น่าจะต่ำกว่าที่รายงาน จากที่สถานีฯตั้งอยู่ริมถนน รถวิ่งไปมาฝุ่นและไอเสียรถ น่าจะเป็นสาเหตุให้สูงขึ้น และช่วงสงกรานต์อาจะมีฝนตก หากไม่ตกคงต้องใช้ล้างถนน กำจัดฝนออกจากถนนไม่ให้ลอยขึ้น ”

นายสายัณห์ หมีแก้ว ผอ.ส่วนควบคุมมลพิษ สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 9 จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า สภาพอากาศลักษณะนี้ เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ บริเวณจุดเป็นพื้นที่อับลม ฝุ่นก็จะสะสมเพิ่มขึ้น อย่างเช่น จ.หนองคาย ที่มีสถิติสูงมากต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสภาพของ PM 2.5 ทุกปีในเดือนเมษายน จะลดลงและน่าจะหมดไปแล้ว แต่ปีนี้กลับยังคงอยู่ หากมีลมหรือฝนมาช่วง สถานการณ์ก็จะดีขึ้น เหมือนช่วงปลายมีนาคม มาจนถึงต้นเดือนเมษายนมีที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เดิมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ของกรมควบคุมมลพิษเพียง 2 สถานี คือ จ.ขอนแก่น และ จ.นครราชสีมา ทำให้ที่ผ่านมาค่าคุณภาพอากาศ ของพื้นที่อื่นจึงอาศัยเครื่องเอกชน หรือเครื่องต้นแบบของสถาบันการศึกษา 2 ปีก่อนเริ่มติดตั้งสถานีที่ จ.หนองคาย และปีที่แล้วติดตั้งสถานีที่ จ.อุดรธานี และ จ.เลย ทำให้เป็นตัวชี้วัดสำคัญ ที่จะนำข้อมูลมาใช้ในการแก้ไขปัญหาจริงจัง

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments