เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 2 ธันวาคม 2564 ที่โรงพยาบาลสนาม 2 “ศูนย์มรกต” อาคารแวร์เฮ้าส์ นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นพ.ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ สสจ.อุดรธานี พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี และบุคลากรทางการแพทย์ มอบกระเช้าผลไม้ให้นายสุวิชย์ พิพัฒน์วิลัยกุล และครอบครัว เจ้าของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี และกล่าวแสดงความขอบคุณ ในโอกาสใช้สถานที่ตั้ง“ศูนย์มรกต” โดยไม่คิดมูลค่าติดต่อกันมากว่า 3 เดือนครึ่ง และได้ปิดลงอย่างเป็นทางการวันนี้
โรงพยาบาลสนาม 2 “ศูนย์มรกต” อาคารแวร์เฮ้าส์ เป็นอาหารคลังสินค้าขนาดใหญ่ 3 หลังๆละ 9,100 ตรม. หลังแรกใช้เป็นอาคารผู้ป่วยแยกชาย/หญิง 808 เตียง อาคารที่ 2 ครึ่งอาคารใช้เป็นส่วนแพทย์ ในการปฏิบัติหน้าที่และพักผ่อน เปิดรับผู้ป่วยมาตั้งแต่ 19 ก.ค.64 – 30 พ.ย.64 มีผู้เข้ารับการรักษา 2,913 คน รักษาหาย 2,733 คน ส่งต่อ รพ.อุดรธานี 174 คน ปัจจุบันอุดรธานีสามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโควิด-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย จน รพ.สามารถกลับมาดูแลผู้ป่วยได้ตามปกติ บุคคลากรฯหลายคนน้ำตาคลอ
นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุด อุดรธานีต้องประสบกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขณะนั้นเรามีภาระดูแลผู้ป่วยสูงสุดถึง 3,000 คน เราได้รับอนุเคราะห์จากหลายภาคส่วน รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ ซึ่งช่วงนั้น รพ.ทั้งหมายไม่สามารถรองรับได้ ต้องขอบพระคุณอย่างใจจริง เพราะตอนนั้นหันหน้าไปทางไหนก็ไม่เจอทางออก จนกระทั่งได้รับอนุเคราะห์สถานที่นี้
“ ทีมงานหมอ-พยายาล , ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย , โยธาธิการและผังเมือง , ประปา , ไฟฟ้า และอีกหลายหน่วยงานจนพร้อม รวมทั้งความอนุเคราะห์จากภาคเอกชน เราช่วยกันมาต่อเนื่องหลายเดือน ทำให้เรามีเวลาไปดูแลสถานการณ์ เฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค จากผู้ป่วยเพิ่มวันละใกล้ 400 คน รวมแล้วสูงสุด 3,000 คน วันนี้เราพบผู้ป่วยรายใหม่ไม่ถึง 100 คนมากว่า 1 เดือน และลดต่ำลงมาน้อยกว่า 50 คน รพ.สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จึงได้ปิด รพ.สนามทั้งหมด 5 แห่ง ศูนย์มรกตเป็นแห่งสุดท้าย จึงถือโอกาศมาขอบพระคุณ
นพ.ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ สสจ.อุดรธานี กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดระบาดมาหมอประชุมทุกวัน รวบรวมข้อมูลประเมินดู ก็จำเป็นต้องเพิ่ม รพ.สนาม เพิ่มแล้วก็ต้องเพิ่มอีก เพราะต้องรับผู้ป่วยจากกรุงเทพฯด้วย ก็มีท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้นำความช่วยเหลือจากภาครัฐ และเอกชนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จากนั้นก็มี “โฮสพิเทล” เพิ่มมาอีก เครื่องมือแพทย์ ตลอดจนออกซิเจน ได้การประสานและช่วยเหลือไปด้วยดี พอผู้ป่วยเริ่มลดก็มีเสียงสะท้อน อยากจะเห็นการเปิดเมือง ก็ระดมเรื่องวัคซีนในทุกอำเภอ จนอุดรธานีถึงเกณฑ์เปิดเมืองก่อน เราพร้อมที่จะสู้เต็มที่ เพราะที่คนมาคอยช่วยเหลือเราอยู่
พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี กล่าวว่า “ศูนย์มรกต” ทำให้เกิด 3 เรื่องดี ๆ คือ 1. คนอุดรไม่ทิ้งกัน ภาครัฐเองหากไม่มีเอกชนมาช่วย มันจะไม่คล่องตัวต่อไปลำบาก , 2.ที่นี่ทำให้เกิด “สมาร์ทเปเปอร์เลท” คือไม่ใช้กระดาษ ใช้เทคโนโลยีแทน และจะส่งผลไปถึง รพ.ศูนย์อุดรธานี จะต้องใช้ในอนาคต ถ้าไม่มีศูนย์มรกตจนทำให้เราเปลี่ยนระบบได้ กรณีเกิดระบาดในเรือนจำ 5,000 คน เราได้นำเอาระบบนี้ไปใช้ และ 3.ศูนย์มรกตแห่งนี้ เป็นจุดในการเรียนรู้ของหมอ-พยาบาล ที่จะต้องดูแลผู้ป่วยโควิดใน รพ.สนามทั้งจังหวัดอุดรธานี เขาต้องมาผ่านการฝึกงานที่นี่ เพื่อกลับไปดูประชาชนในพื้นที่
นายสุวิชย์ พิพัฒน์วิลัยกุล และครอบครัว เจ้าของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี กล่าวว่า ขอบคุณที่มีโอกาสได้รับใช้ และน้ำคลอจนพูดต่อไม่ได้ บุตรชายได้มากล่าวแทนว่า คุณพ่อและครอบครัวติดตามข่าวสารตลอด ตั้งแต่การระบาดแรกๆ ส่งรถไปรับลูกหลานอุดรฯจาก จ.ภูเก็ต กลับบ้าน ตอนนั้นก็คิดว่าทำเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังเห็นคนอุดรธานียังทำอยู่ ทำตู้ปันสุข การโอนเงิน การมอบสิ่งของ จนสถานการณ์รุนแรงขึ้น ท่านถามว่าเราจะให้ที่นี่ทำอะไรได้บ้าง เรายินดีที่จะให้ใช้พื้นที่ ส่วนตัวก็รู้อยู่ว่าจะมีคนมาเช่า แต่ก็ขอทำตามพ่อดีกว่า เราจึงเปลี่ยนแผนบอกลูกค้าขอหยุด ขอทำให้คนอุดรฯรอดก่อน มาถึงวันนี้เห็นว่าทุกอย่างดีขึ้นแล้ว ก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วย ”…