วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรฯคุยนัดแรกป้องกันน้ำท่วมเมือง

อุดรฯคุยนัดแรกป้องกันน้ำท่วมเมือง

รองผู้ว่าฯนั่งหัวโต๊ะคุยรับมือน้ำท่วม สั่งเร่งเปิดทางระบายน้ำ เกาะติดพยากรณ์ฝนหนัก พร่องน้ำในเมืองก่อนฝนมา น้ำมามากเกินความสามารถ ไม่ต้องปิดกั้นให้ไหลตามธรรมชาติ

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตต์ ชั้น 2 อาคาร 2 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อม การป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมขังในเขตเมือง ที่ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย จ.อุดรธานี นัดหมายให้อำเภอเมือง , ทน.อุดรธานี , ทม.หนองสำโรง , ทต.หนองบัว , ทต.บ้านจั่น ซึ่งเป็นพื้นที่จะประสบภัยน้ำท่วม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม

โดยตัวแทนอุตุนิยมวิทยา จ.อุดรธานี รายงานว่า อุดรธานีเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว แต่ที่ผ่านมาปริมาณฝนน้อย และมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าปกติ โดยในช่วงนี้ยังมีฝนไปจนถึงปลายเดือนมิถุนายน จากนั้นจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ไปจนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้นแบบนี้ และจากผลของปรากฏกาลเอลนิลโย คาดว่าในช่วงปลายฤดูฝนปีนี้ ก็จะมีปริมาณฝนน้อย ทั้งนี้โอกาสที่ฝนตกจะเกิดจาก “เมฆก้อน” ที่สามารถทำให้เกิดฝนตกหนัก จนทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมได้

ส่วนการเตรียมความพร้อม ขององค์กรปกครองท้องถิ่น เริ่มจาก ทน.อุดรธานี รายงานว่า ทน.อุดรธานี มีระบบป้องกันน้ำท่วมที่ใช้งานมานาน มีทั้งการระบายน้ำตามธรรมชาติ และมีสถานีเครื่องสูบน้ำออกจากที่ลุ่มต่ำ และสูบออกไปนอกเมือง รวม 14 สถานี มีบางสถานีมีอายุใช้งานนาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ประกอบกับการเติบโตของเมือง พื้นที่รับน้ำส่วนใหญ่หายไป รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เกิดฝนตกหนักในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้เกิดสภาพ “น้ำรอระบาย”

“ ทน.อุดรธานี ได้จัดซื้อเครื่องสูบสถานีสูบน้ำใต้ดิน เชื่อมกับอุโมงค์ส่งน้ำตลาดหนองบัว รวมทั้งจัดซื้อเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ , ตั้งแต่ ก.พ.ที่ผ่านมา เริ่มทำการขุดลอกทางระบายน้ำ ตั้งแต่ทางหลักจนมาถึงท่อระบายน้ำ ขณะนี้ก็ยังคงดำเนินการ , ประสาน บน.23 ชะลอการระบายน้ำออกจาก สนามบิน 2-3 ชม.ช่วงเกิดฝนตกหนัก และกับ อปท.โดยรอบที่ ทน.อุดรธานี ระบายน้ำออกไป ขณะที่การก่อสร้างปรับปรุงห้วยหมากแข้ง ที่มีการปิดกั้นทางน้ำ จะประสานให้เปิดทางน้ำออก ”

ทต.บ้านจั่น รายงานว่า ปัญหาน้ำท่วมเกิดจาก “ลำห้วยขุ่น” เมื่อไหลมาถึงถนนมิตรภาพ จะระบายน้ำขนานถนนมิตรภาพ ลงไปยังคลองป้องกันน้ำท่วมเมือง บางส่วนที่ไหลลอดถนนมิตรภาพ นอกจากไหลขนานไปกับถนน จะไหลผ่านชุมชนอัมรินทร์ ซึ่งมีปัญหาการบุกรุกทางน้ำ จนเกิดเป็นคดีความยังไม่ยุติ จึงต้องขอระบายน้ำผ่านพื้นที่เอกชน เมื่อมีปริมาณน้ำมากจะเกิดน้ำท่วมชุมชนอัมรินทร์ และไหลล้นท่วมถนนมิตรภาพ ปีนี้ ทต.บ้านจั่น ได้ก่อสร้างยกระดับถนนชุมชนอัมรินทร์ และทางระบายน้ำใหม่ ฝนปีนี้จะเป็นการทดสอบมีประสิทธิภาพพอหรือไม่

ทต.หนองสำโรง รายงานว่า พื้นที่น้ำท่วมขังทั้งหมด อาทิ หมู่บ้านพลินวิลล์ , ชุมชนไทยสมุทร และชุมชนหนองหิน-ร่มเย็น เกิดจากการระบายน้ำออกจาก ทน.อุดรธานี 3 จุด คือ หน้าแจ่วฮ้อมมิตรภักดี , สถานีสูบน้ำตรงข้ามจัดหางานจังหวัด และสถานีสูบน้ำซอยโยธาวิจิตร ได้ร่วมกับ ทน.อุดรธานี และหน่วยงานเกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาทุกปี และน้ำท่วมถนนสายมิตรภาพ-บ้านทุ่งแร่ จากทางระบายน้ำถูกบุกรุก ต้องเข้าไปแก้ปัญหาทุกปี

ทต.หนองบัว และ อบต.สามพร้าว รายงานว่า มีชุมชนเชื่อมต่อกันน้ำท่วมทุกปี ที่ผ่านมายังแก้ไขได้ถาวร และในปีนี้น่าจะรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากมีการก่อสร้างของเอกชน ไปปิดกั้นทางระบายน้ำ ซึ่งได้รับรายงานล่าสุด ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อหาทางแก้ไขก่อนฝนตกลงมา

ขณะที่ อ.เมืองอุดรธานี และ อบจ.อุดรธานี รายงานด้วยว่า ที่ผ่านมาแต่ละพื้นที่แก้ปัญหา ด้วยการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตัวเอง ขณะที่น้ำทั้งหมดจะไหลผ่าน “ประตูน้ำบ้านสามพร้าว” แต่ก่อนน้ำจะไหลไปถึงมีอุปสรรค ล้ำห้วยหลายสายบางจุด มีการบุกรุก มีสิ่งปลูกสร้าง และขยะขวางทางน้ำไหล น่าจะต้องแก้ไขปัญหาในภาพรวม ส่วนจุดบุกรุกในเขต ทม.หนองสำโรง ทั้งจุดที่ไหลไปถึงถนนมิตรภาพ และก่อนพื้นที่ไหลออก เสนอให้ดำเนินคดีกับ “ผู้มากบารมี” แล้วขออำนาจศาลคุ้มครอง เข้าเปิดทางระบายน้ำ ระหว่างรอคำพิพากษาศาล

นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ในปีนี้จะให้ความสำคัญกับการป้องกันมากขึ้น ด้วยการเร่งรัดให้ขุดลอกทางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ ให้น้ำสามารถไหลผ่านได้สะดวก ควบคู่ไปกับการอาศัยพยากรณ์อากาศ หากพบว่าจะเกิดฝนตกหนัก จะต้องเร่งระบายน้ำออกจากเมือง ออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อรองรับน้ำฝนจะตกลงมา แต่หากปริมาณน้ำมีมากเกินคาดหมาย จนเกิดภาวะน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง จะให้ความสำคัญของการ “ไม่ปิดกั้นทางระบายน้ำ” เพื่อให้น้ำกระจายไหลผ่านไปโดยเร็ว

รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี มีคำสั่งให้ ปภ.อุดรธานี ตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันน้ำท่วม ในส่วนของพื้นที่เมืองอุดรธานี เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือ ในการแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ พร้อมกันนี้ให้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการณ์ระดับจังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการณ์ของ อปท.นั้น ๆ จัดทำฝังการไหลของน้ำ การกำหนดจุดเสี่ยงพื้นที่น้ำท่วม แผนในการป้องกัน ตลอดจนแผนในการแก้ไขปัญหา โดยทุกวันอังคาร เวลา 09.00 น. จะมีการประชุมติดตามความคืบหน้า หากเช้าติดภารกิจสำคัญก็เลื่อนเป็นบ่าย….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments