วันอังคาร, ตุลาคม 15, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรยังเผาอ้อย รง.จ่ายเพิ่มอีก50บ./ตันไม่สน

อุดรยังเผาอ้อย รง.จ่ายเพิ่มอีก50บ./ตันไม่สน

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 นโยบายแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ รัฐบาลได้กำหนดในหลายแนวทาง หนึ่งในนั้นคือมาตรการลดการเผาอ้อย ก่อนส่งอ้อยเข้าโรงงานทั่วประเทศ โดยกำหนดให้ “อ้อยเผา” ที่ถูกส่งเข้าโรงงาน จะถูกหักเงินตันละ 30 บาท และอ้อยสดที่ถูกส่งเข้าโรงงาน จะได้รับเงินเพิ่มจากอ้อยถูกหัก ตันละ 30-70 บาท และหากโรงงานรับซื้ออ้อยเผาเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ โรงงานจะต้องถูกปรับตันละ 12 บาท แต่ก็มีอ้อยเผาถูกส่งเข้าโรงงานต่อเนื่อง

ล่าสุดคืนที่ผ่านมา มีชาวบ้านผู้ใช้สื่อโซเชียลชื่อ Tok Ky ไลฟ์สดไฟที่กำลังไหม้ไร้อ้อย เขตพื้นที่ อบต.หนองไฮ อ.เมือง อุดรธานี ระบุห่างจาก อบต.แค่ 500 เมตร มีเสียงผู้หญิงระบายความในใจว่า “นี่คือตำบลหนองไฮ” วันนี้วันที่ 29 มกราคม ดูสภาพที่ชาวบ้านต้องทนที่เถ้าแก่ไร่อ้อยมาเผาอ้อย อาชีพที่ทำความลำบากให้กับคนหมู่มาก จะทำยังไงดี ตอนนี้จะป่วยตายกันทั้งบ้านอยู่แล้ว ต้องดมต้องดมควันแบบนี้ทุกวันแล้วเผาแ***งทุกวัน ใครที่รับผิดชอบ ถามหน่อยประเทศไทย ห่างจากสถานบิน 20 กม.

มันเป็นอาชีพของคนกลุ่มน้อย ที่ทำความลำบากให้กับคนทั้งประเทศด้วยซ้ำ แล้วบอกว่าเผาแล้วจับถามหน่อยใครจับ ตอนนี้ไม่ไหวแล้วลูกหลานใส่หน้ากากกันทุกวันก็เอาไม่อยู่เพราะเผาทุกวัน แต่เราไม่สามารถถ่ายทอดสดให้คนทั้งประเทศได้ดูว่ามีการเผาทุกวัน เพราะมีการเผาทุกวันหลายที่ แต่ที่เกิดขึ้นนี้อยู่ข้างบ้านอยากให้โซเชียลได้รับรู้ ตื่นเช้ามาต้องใส่หน้ากากแทนที่จะได้อากาศดีบริสุทธิ์ นี่ประเทศไทยประเทศอื่นเขามีไวรัสเห….ยอะไรไม่รู้ แต่นี่ประเทศไทยเผาอ้อยกันทุกวันไม่ไหวแล้ว ไม่ไหวแล้วถึงทำแบบนี้

ร.ต.อ.วิชัย มิตราช รอง สวป.สภ.ห้วยหลวง อ.เมือง เปิดเผยว่า หลังรับแจ้งได้ไปยังที่เกิดเหตุ ขณะนั้นไฟยังไหม้ไร่อ้อยอยู่ ห่างจากบ้านผู้เสียหายไม่มาก ตั้งอยู่ฝั่งถนนเดียวกัน โชคดีกระแสลมพัดไปอีกด้าน จึงขอรถดับเพลิงมาสนับสนุน และเข้าตรวจสอบโดยรอบแปลงที่ไฟไหม้ ไม่พบมีใครอยู่บริเวณนั้น จึงมาสอบถามชาวบ้านที่มาดูเหตุการณ์ รวมทั้งสอบถามผู้แจ้งรู้ว่า ในบ้านมีทั้งเด็ก และผู้สูงอายุ ได้รับผลกระทบจากการเผาต่อเนื่อง แต่ครั้งนี้อยู่ใกล้บ้านมากจึงตกใจ ได้แนะนำให้มาพบพนักงานสอบสวน เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน ดำเนินคดีกับคนเผาไร่อ้อยครั้งนี้

จากข้อมูลศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยฯ ระบุว่า ตั้งแต่ต้นฤดูการเปิดหีบอ้อย 62/63 มีโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ 57 โรง ชาวไร่ส่งอ้อยเข้าโรงงาน จนถึงวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา 51.9 ล้านตัน ปรากฏว่าเป็นอ้อยสด 26.2 ล้านตัน และเป็นอ้อยไฟไหม้ 25.7 ล้านตัน โดยแต่ละโรงงานมีความแตกต่างกัน สำหรับอุดรธานีมีโรงงานน้ำตาล 4 โรง รายงานระบุ รง.น้ำตาลกุมภวาปี อ้อยสด 3.5 แสนตัน-อ้อยเผา 2.7 แสนตัน , รง.น้ำตาลเกษตรผล อ้อยสด 3.8 แสนตัน-อ้อยเผา 3.4 แสนตัน , รง.น้ำตาลเริ่มอุดม อ้อยสด 2.6 แสนตัน-อ้อยเผา 5.4 แสนตัน และ รง.น้ำตาลไทยอุดร อ้อยสด 4.1 แสนตัน-อ้อยเผา 1.1 ล้านตัน

สำหรับจังหวัดอุดรธานี ได้ยึดประกาศห้ามเผาอ้อยในปีที่ผ่านมา ที่ระบุมีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา แต่ไม่เน้นให้ความสำคัญมากนัก ขณะที่จังหวัดอุดรธานี ให้ความสำคัญกับการรณรงค์ ให้ตัดอ้อยสดส่งโรงงาน โดยนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี นำรองผู้ว่าฯ นายอำเภอ หน่วยงานรัฐ และจิตอาสา ร่วมทำกิจกรรม “จิตอาสาลงแขกตัดอ้อย” ทุกวันตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา

นายไกรสร สามเสน ผอ.สายงานด้านวัตถุดิบ รง.น้ำตาลไทยอุดรธานี ชี้แจงว่า โรงงานมุ่งมั่นรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างยั่นยืน แต่เพราะโรงงานใหม่มาตั้งได้เพียง 7 ปี และได้เพิ่มกำลังผลิตตอบสนองชาวไร่ จึงขาดความพร้อมในบางเรื่อง ขณะที่ชาวไร่เองก็เป็นชาวไร่ใหม่ เครื่องไม้เครื่องมือต่างกับชาวไร่ที่ทำมานาน อยู่ระหว่างการปรับตัวสู่ระบบอุตสาหกรรม มั่นใจว่าทั้งโรงงานและชาวไร่ จะมีความพร้อมมากขึ้นทุกปี

“ ไทยอุดรธานีได้นิ่งนอนใจ ได้สร้างแรงจูงใจให้ชาวไร่ ส่งอ้อยสด-อ้อยสวยเข้าโรงงาน จะได้รับเงินพิเศษเพิ่มอีก 50 บาทต่อตัน โดยไม่มีเงื่อนไขอื่น และทุกเดือนจะนำรายชื่อผู้ส่งอ้อยสด มาจับฉลากรับรางวัลพิเศษ รางวัลสูงสุดเป็นรถแทรคเตอร์ 26 แรงม้า และรางวัลอื่นๆ ซึ่งทำให้ชาวไร่ส่งอ้อยสดมากขึ้น แต่ก็ยังมีชาวไร่จำนวนมาก ไม่สามารถจัดการส่งอ้อยสดได้ เพราะมีข้อจำกัดอีกหลายเรื่อง ”

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ปีนี้อุดรธานีราคาอ้อยเบื้องต้น 750 บาท โดยจะมีเงินเพิ่มจากค่าความหวาน หรือ ซีซีเอส.ละ 45 บาท ซึ่งจนถึงขณะนี้ ซีซีเอส.อยู่ประมาณ 13.5 ขณะที่ลานรับซื้ออ้อย จากชาวไร่ที่ไม่มีโควต้าอยู่ที่ 1,150 บาท/ตัน……..

 

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments