วันศุกร์, กันยายน 20, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมชงผุดพิพิธภัณฑ์กรมหลวงประจักษ์

ชงผุดพิพิธภัณฑ์กรมหลวงประจักษ์

มูลนิธิกรมหลวงประจักษ์ พร้อมควัก 6.2 ล้าน เนรมิตชั้น 2 อาคารโบราณใน สสจ.อุดร เป็นพิพิธภัณฑ์ 4 ห้อง เล่าเรื่องกรมหลวงประจักษ์ ผู้มีฝีมือเด่นชัด การทหาร ยุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ วรรณกรรม ตั้งเมืองอุดรเพื่อรักษาแผ่นดิน สู้ฝรั่งโหยหาลัทธิล่าอาณานิคม

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตต์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุม “คณะกรรมการมูลนิธิกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” มีนายกอบเกียรติ กาญจนะ , นายปราโมทย์ ธัญพืช อดีตรอง ผวจ.อุดรธานี นำคณะกรรมการจากภาครัฐ-เอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม และมีนางสัญใจ พูลทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บ.แปลน โมฟิต จก. พร้อมคณะทำงาน นำเสนอรูปแบบ “พิพิธภัณฑ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” ชั้น 2 อาคารโบราณ สนง.สาธารณสุข จ.อุดรธานี

โดยมูลนิธิกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้ขอให้ บ.แปลน โมทิฟ จก. ที่มีผลงานการจัดนิทรรศการของ พิพิธภัณฑ์หลวงตาพระมาบัวญานสัมปันโน เข้ามาศึกษาออกแบบและดำเนินการ “พิพิธภัณฑ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” ในวงเงิน 6.2 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน วันนี้มานำเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯว่า แนวคิด-รูปแบบ-นิทรรศการ ก่อนพิจารณาว่าจ้าง ในพิพิธภัณฑ์หลวงประจักษศิลปาคม จ.อุดรธานี มีรายละเอียดอย่างไร เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการฯ

คุณสัญใจ พูลทรัพย์ กก.ผจก. บ.แปลน โมทิฟ จก. ชี้แจงว่า กรมหลวงประจักษ์ฯ ได้นำทัพมาปราบโจรจีนฮ่อ โดยในช่วง รศ.112 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของบ้านเมือง ได้เลือกตั้งทัพที่บ้านเดื่อหมากแข้ง เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ปกปักรักษาแผ่นดิน ท่านมีความผูกพันกับชาวอุดรธานี เพราะประทับที่อุดรธานีนานถึง 6 ปี (พ.ศ.2436-2442) เมื่อครั้งเสด็จกลับไปกรุงเทพ ก็ยังส่งภาพถ่ายของพระองค์ มาไว้ที่วัดมัชฌิมาวาส ให้ชาวอุดรธานีที่คิดถึงมาดูภาพแทนได้ พิพิธภัณฑ์ฯจะอยู่บนชั้น 2 ของอาคารเหล่ากาชาดอุดรธานี ภายใน สนง.สาธารณสุข จ.อุดรธานี เป็นอาคารแห่งความทรงจำ ของการเริ่มสร้างเมือง

กก.ผจก. บ.แปลน โมทิฟ จก. มอบหมายให้ทีมงานเสนอต่อที่ประชุม พอสรุปได้ว่า การจัดนิทรรศการมีลักษณะเล่าเรื่อง เริ่มจากการสร้างเข้าใจบริบทพื้นที่ จุดกำเนินการตั้งเมือง สู่การมาอยู่ร่วมกันในปัจจุบัน , สนุกกับการเป็นส่วนหนึ่ง ของภาพสะท้อนเมืองต่างยุคสมัย ตามประสบการณ์ของแต่ละรุ่น , นำเข้าสู่เรื่องราวชีวิตและผลงาน ผ่านการจำลองบรรยากาศและผลงาน และพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ คือการวางรากฐานเมืองอุดรธานี จากความเป็นยุทธศาสตร์พื้นที่ทางการทหาร เพื่อปกปักรักแผ่นดิน สู่การพัฒนาเมืองอุดรธานีในปัจจุบัน

ห้องที่ 1 “มองเมืองอุดร” เดิมอาคารหลังนี้มีระเบียง แต่ถูกปิดทำเป็นห้องแทน จะเปิดเอาระเบียงกลับมาอีกครั้ง เสมือนว่าเมื่อมายืนที่ระเบียง มองออกไปหรือสังเกตการณ์ จะได้เห็นวัดมัชฌิมาวาส-โรงเรียนช่าง และหน่วยอื่นๆ ได้ เป็นจุดที่บ้านเมืองได้เริ่มที่นี่

ห้องที่ 2 “คิดถึงประจักษ์” ภาพของกรมหลวงประจักษ์ฯ ในอิริยาบถต่างๆ อันแสดงถึงพระปรีชา วิริยะ อุตสาหะ กล้าหาญ อดทน ต่อความยากลำบาก ไม่ท้อถอย สมกับพระนามชื่อ ประจักษ์+ศิลปะ+อาคม = ชัดแจ้ง เด่นชัด ชัดเจน + ฝีมือ มีฝีมือ + การมาถึง การมา

ห้องที่ 3 “ผู้มีฝีมือเด่นชัด” มารู้จักกรมหลวงประจักษ์ฯ ผ่านห้องทำงานที่มีผลงาน การปราบฮ่ฮ งานยุทธศาสตร์(แผนที่) , วิทยาศาสตร์ , ดาราศาสตร์ , วรรณกรรม นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน เครื่องเงินรมดำ และนวัตกรรมสายชนวนจุดเทียนแท่นบูชา และตอนหนึ่งของบันทึก กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุว่า “กรมหลวงประจักษ์มีอุปนิสัย ทำอะไรทำจริงไม่ยอมท้อถอย เป็นผู้ซื้อสัตย์สุจริต โดยรับสั่งเสมอว่า อดตาย เสียดีกว่าเป็นคนโกง”

ห้อง 4 “ตั้งเมืองได้เป็นที่ประจักษ์” นับตั้งแต่กรมหลวงประจักษ์ฯ เป็นแม่ทัพมาปราบโจรจีนฮ่อ ได้ปักปันทำแผนที่เขตแดน ช่วงเริ่มการุกรานจากลัทธิล่าอาณานิคม รับรู้และเข้าใจในยุทธศาสตร์แถบนี้ดี เมื่อมีเหตุการณ์ รศ.112 ก็ถอยกองทหารมาตั้งเมืองที่บ้านเดื่อหมากแข้ง โดยมีบันทึก กรณีโทรเลข รศ.125 ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จากบ้านหมากแข้งไปถึง ร.5 ยืนยัน “ที่บ้านหมากแข้งไชยภูมิดี มณฑลอุดรควรตั้งอยู่บ้านหมากแข้ง ไม่ต้องย้ายไปที่อื่น ”

นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ในวันที่ 15 กรกฎาคมปีนี้ จะมีพิธีเปิดห้องรับบริจาคโลหิต ของสภากาชาดไทย บริเวณชั้น 1 อาคารเดียวกัน ขอให้จัดแสดงพื้นที่บริเวณทางขึ้น ไปยังพิพิธภัณฑ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เพื่อให้ผู้มาร่วมงานได้รับรู้ว่า อนาคตจะมีพิพิธภัณฑ์ฯอยู่บนชั้น 2 ด้วย ขณะที่ไม่มีข้อเสนอแนะอื่นเพิ่มเติม…

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments