วันจันทร์, กันยายน 9, 2024
Google search engine
หน้าแรกท้องถิ่นแก้เหม็นโรงยางยักษ์หาที่จบไม่ลง

แก้เหม็นโรงยางยักษ์หาที่จบไม่ลง

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 27 มกราคม 2564 นายปราโมทย์ ธัญญพืช รอง ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมแก้ไขปัญหาชาวบ้าน ต.หนองนาคำ อ.เมือง ได้รับความเดือดร้อนจากกลิ่นเหม็น รุนแรงต่อเนื่องมามากกว่า 10 ปี จากโรงงานยางแท่งของ 2 ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมยาง บ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และ บ.วงษ์บัณฑิต จก.

โดยมีหน่วยงานราชการภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องดูแลรับผิดชอบ , อบต.หนองนำคำ , ตัวแทนโรงงานยางแท่งทั้ง 2 โรง และตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน เข้าร่วมนำเสนอแนวคิด หลังจากเดินทางไปดูโรงงานยางแท่งที่ อ.คำด้วง จ.เลย เปรียบเทียบการแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็น กับโรงงานยางแท่งที่ ต.หนองนาคำ นำข้อดีมาใช้แก้ไขอะไรบ้าง เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาที่อุดรธานี

ประธานที่ประชุม ให้แต่ละฝ่ายนำเสนอข้อมูล ที่ได้ร่วมเดินทางไปดูงาน สรุปเป็นข้อๆได้ว่า 1.เป็นโรงงานขนาดเล็ก มีกำลังผลิตต่างจาก รง.ที่ ต.หนองนาคำ อุดรธานี มากหลายเท่า , 2.ตั้งอยู่ห่างจากชุมชนราว 3 กม. , 3.เคยมีปัญหาร้องเรียน มีการแก้ไขจนปัญหาลดลง , 4.ใช้น้ำส้มควันไม้แก้ไขปัญหาในทุกระบบการทำงาน , 5.เก็บยางก้อนถ้วยซึ่งเป็นวัตถุดิบในระบบปิด ที่น่าจะนำมาใช้ที่อุดรธานี และควบคุมปริมาณสต็อก , 6.ระบบกำจัดกลิ่นการผลิตยางแท่ง มีระบบที่ต่ำกว่าของ 2 โรงงานที่ ต.หนองนาคำ และ 7.ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่นำระบบปิดมาใช้กับบ่อหมัก (แม้ไม่เอาพลังงานจากก๊าซชีวะภาพมาใช้)

ตัวแทนชาวบ้านผู้เดือนร้อน ที่ระบุว่า ร่างกายมีสภาพแพ้กลิ่นต่อเนื่อง แพทย์แนะนำให้ย้ายบ้านไปที่อื่น เมื่อยังไม่สามารถย้ายไปไหนได้ เรียกร้องให้โรงงานแก้ไขปัญหา ด้วยการนำวิธีการของโรงงานที่ อ.นาด้วง จ.เลย มาใช้กับ 2 โรงงานที่ ต.หนองนาคำ โดยเห็นว่าโรงงานจะเล็กหรือใหญ่ ไม่น่าจะเป็นปัจจัยทำให้แก้ได้ เมื่อมีขนาดใหญ่ก็เพิ่มปริมาณ หรือขนาดการแก้ไขปัญหา และขอให้โรงงานทำพร้อมกัน ให้ทันกับสภาพอากาศ เพราะหากแก้ไม่ทันช่วงนี้ ก็ต้องไปแก้กันในปีหน้าอีก

ตัวแทน 2 โรงงาน ยินดีที่จะเอาเอา “น้ำส้มควันไม้” มาใช้ในการแก้ไขปัญหากลิ่น ซึ่งเคยนำมาใช้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ถูกนักวิชาการทักท้วงว่า น้ำส้มควันไม้มีสารก่อมะเร็ง จึงเลิกใช้น้ำส้มควันไม้ มาแก้ปัญหาจากคำแนะนำของนักวิชาการ ที่มีดีกรีเป็นดอกเตอร์หลายคน แต่ปัญหาก็ยังคงแก้ไขไม่ได้ โดยขอให้ทางการมากำหนดกรอบ ให้โรงงานดำเนินการอย่างไรบ้าง จะใช้น้ำส้มควันไม้ที่ไหน ตอนไหน และปริมาณเท่าใด โรงงานพร้อมจะปฏิบัติตาม

ขณะที่ศูนย์ดำรงธรรมอุดรธานี และสิ่งแวดล้อมภาค 9 มีความเห็นว่า ให้ทั้ง 2 โรงงาน ไปกำหนดวิธีการแก้ไขเอง ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของโรงงาน ที่ผ่านมาทางราชการต้องใช้เวลา กับการแก้ไขปัญหาที่นี่ต่อเนื่องแล้ว โดยการใช้น้ำส้มควันไม้ตามที่ไปดูงาน และเพิ่มเติมฉีดพ่นบริเวณโกดังเก็บ “ยางเครบ” ที่ยังคงส่งกลิ่นเหม็นเช่นกัน

นายปราโมทย์ ธัญญพืช รอง ผวจ.อุดรธานี สรุปให้ 2 โรงงานดำเนินการทันทีที่พร้อม และนัดที่จะเดินทางไปดูผลงาน ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments