วันพุธ, ธันวาคม 4, 2024
Google search engine
หน้าแรกเศรษฐกิจแบงค์ชาติอีสานเร่งขับเคลื่อนภาคเกษตร

แบงค์ชาติอีสานเร่งขับเคลื่อนภาคเกษตร

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ที่โรมแรมเซ็นทารา อ.เมือง อุดรธานี ธนาคารแห่งประเทศไทย สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดให้สัมมนาสัญจร “พลิกมุมคิด สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีด้วยภาคเกษตร” มีตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทย สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำเสนอข้อมูลประกอบด้วย “เปิดประตูสู่การยกระดับภาคเกษตรอีสาน” โดยนายทรงธรรม ปิ่นโต ผอ.อาวุโสฯ , “จับชีพจรความเป็นอยู่ชาวอีสาน” โดยนายปุญญวิชญ์ เศรษฐสมบูรณ์ ผู้วิเคราะห์อาวุโสฯ , และ “พาเบิ่ง..พฤติกรรมการก่อหนี้เกษตรกรอีสาน” โดยนายมนัสชัย จึงตระกูล รองผู้อำนวยการฯ

ส่วนการเสวนา“พลิกมุมคิด สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีด้วยภาคเกษตร” วิทยากรเป็นผู้ประสบความสำเร็จด้านการเกษตร ประกอบด้วย นายจิรภัทร คาดีวี จากวิศวกรโยธา มาเป็นเจ้าของแสนบุญฟาร์ม จ.กาฬสินธุ์ , นายเสกสรร โพธิสาร เจ้าของ “พอดีฟาร์ม” จ.อุดรธานี เกษตรกรเปลี่ยนปลูกข้าวดังเดิมเป็นข้าวญี่ปุ่น , นายวิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร สัตวแพทย์จากศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องจากพระราชดำริ จ.สกลนคร โดยมี รศ.ธีระวัฒน์ เจริญราษฎร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย” เป็นผู้ดำเนินการเสวนา มีผู้สนใจมาร่วมเวทีเสวนากว่า 300 คน

นายทรงธรรม ปิ่นโต ผอ.อาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า เป็นความพยายามต่อเนื่อง ที่จัดสัมมนามาตลอดสองปี ขอนแก่นสองครั้ง อุบลราชธานีหนึ่งครั้ง วันนี้ที่อุดรธานี หัวข้อก็เป็นเรื่องต่อเนื่อง ทำอย่างไรจึงจะยกระดับคุณภาพชีวิตภาคเกษตร เพราะมีข้อมูลชี้ว่าภาคเกษตรของเรากำลังมีปัญหา และหนักขึ้นจากปัญหารายได้น้อยรายจ่ายสูง และปัญหาหนี้สินเรื้อรังมากขึ้น และมีแนวโน้มส่งต่อหนี้ไปยังลูกหลาน นำมาซึ่งการเสวนาในวันนี้ ข้อหลักๆก็คือจะแก้หนี้เกษตรกร 1.รายจ่ายที่สามารถประหยัดลงได้ 2.สถานะการเงินจะปรับเป็นอย่างไร จึงจะเกิดการวางแผนทางการเงินมากขึ้น และ 3.เป็นเรื่องสำคัญมาก ทำอย่างไรจะยกระดับรายได้เกษตรกรให้สูงขึ้นได้ เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ยางพารา-ปศุสัตว์-อ้อย-มันสำปะหลัง-ข้าว

“เกษตรกรภาคอีสานต้องพึ่งฟ้าฝน เพราะเราไม่มีระบบชลทานที่ดี ทำให้ภาระเกษตรกรมีมากกว่าภาคอื่น เราจะใช้การนำผู้ที่ประสบความสำเร็จ แล้วปรับตัวแล้วมาถ่ายทอด เผยแพร่ให้กับเกษตรกร ครั้งก่อนเราก็มีเรื่องของการทำนาหยอด คนที่ทำสำเร็จเพิ่มผลผลิตได้เป็นเท่าตัว เป็นการทำนาแบบปรานีต การเป็นเกษตรกรแบบปรานีต จากเดิมที่เราปลูกเลยทิ้งเลย ก็ขอให้เรามีการใส่ใจจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ วันนี้เราก็เชิญผู้ที่ประสบความสำเร็จมาอีก ว่าจะนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ อย่างเช่นการปฏิรูปการปลูกข้าวให้เป็นข้าวญี่ปุ่น ซึ่งต้องอาศัยการทำที่ปรานีตมากขึ้น ทั้งปศุสัตว์ที่เป็นแหล่งรายได้ในอนาคต เราจะต้องช่วยกันเผยแพร่กันออกไป จะทำให้ชาวนาพลิกแนวคิด จริงแล้วหากเราใส่ใจเราก็จะเพิ่มผลผลิตได้”

นายทรงธรรม ปิ่นโต ผอ.อาวุโส ตอบข้อซักถามว่า เงินหมื่นจากรัฐบาลก้อนแรก ห้าวันหลังกันยายน-ตุลาคม ให้ผู้มีความเปราะบางคนยากจน อีสานได้มากที่สุด 40% ของทั้งหมด ระยะสั้นช่วยให้การบริโภคปรับดีขึ้น ด้านท่องเที่ยวก็ปรับเยอะขึ้น บางส่วนเอาไปลงทุน อย่างไรก็ตามระยะยาวเราต้องแก้ที่พื้นฐานทำอย่างไรให้เราสามารถพลิกคิดเพิ่มผลผลิต จะทำให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ต้องยอมรับว่าหลังโควิดเกษตรกร ได้รับผลทั้งประเทศเงินก้อนนี้ก็ช่วยให้ขยับขึ้นมาได้ จากนั้นก็ต้องช่วยเหลือตัวเอง รัฐบาลก็น่าจะมีนโยบายระยะยาวมากขึ้น ทำให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น ไม่ใช้เงินโอนหรือเงินฟรีตลอด ขณะเดียวกันเราก็พบว่ายอดขายจักรยานยนต์ดีขึ้น ส่วนรถยนต์ รถปิกอัพ หรือบ้าน ต้องอาศัยพื้นฐานเศรษฐกิจดีกว่านี้

“ สถานการณ์การเลิกจ้าง หรือปิดโรงงานในภาคอีสานไม่รุนแรง ไม่เหมือนกับสถานภาคอื่น เพราะอีสานพึ่งเกษตรฯ อุตสาหกรรมก็เป็นเกษตรอุตสาหกรรม โรงงานน้ำตาล โรงสีข้าว อุตสาหกรรมหลักๆ ไม่ค่อยมีใครมาแข่งกับเรา ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์แม้จะไม่แต่ก็ยังไปได้ สิ่งทอเรามีความสามารถพิเศษ สามารถทำให้กับยี่ห้อดังๆได้ หรือแม้กระทั่งโรงงานเครื่องประมง สำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีบางส่วนจากญี่ปุ่นก็เริ่มมีผลกระทบ แต่ก็มีจุดดีเริ่มเห็นแล้ว ยังคงต้องใช้เวลานั่นคือเรื่องท่องเที่ยว เมื่อก่อนเราเห็นเรื่องท่องเที่ยวเราเที่ยวกันเอง ตอนหลังเริ่มมีคนต่างถิ่นมาเที่ยวเราเยอะขึ้น มีต่างชาติด้วยแต่ยังน้อยอยู่ เห็นว่าเป็นการปรับโครงสร้างด้านการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น น่าจะเป็นตัวมาช่วยนอกเหนือจากภาคเกษตรอุตสาหกรรมที่ไม่มี ”…

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments