วันอังคาร, เมษายน 16, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมเร่งแก้ชนทางพาดรถไฟสลิงปาดคอ 3 ครั้ง 3 ศพ

เร่งแก้ชนทางพาดรถไฟสลิงปาดคอ 3 ครั้ง 3 ศพ

ผู้สื่อข่าวรายงานมาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม คณะทำงานศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุบนถนน จ.อุดรธานี จากป้องกันบรรเทาสาธารณภัย , ฝ่ายปกครอง , ตำรวจ , สาธารณสุข , แขวงการทาง และสารวัตรแขวงรถไฟอุดรธานี ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเกิดอุบัติเหตุบริเวณทางพาดรถไฟ บ้านพรานเหมือน ถนนบ้านดงไร่-บ้านผือ ต.บ้านขาว อ.เมือง จ.อุดรธานี เป็นเหตุรถ จยย.ชน อุปกรณ์ปิดกันของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทำให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และเคยเกิดลักษณะนี้มาหลายครั้ง

ครั้งล่าสุดเมื่อ 08.30 น วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายศราวุฒิ กองสุวรรณ์ อายุ 20 ปี ช่างทำสีรถยนต์ ชาวบ้านโคกลาน ม.5 ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ขี่รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้าเวฟ 125 ไอ สีชมพู-แดง ทะเบียน ขคท-515 เพชรบุรี ด้วยความเร็วมุ่งหน้าไปทาง อ.บ้านผือ แซงรถยนต์ที่จอดรอรถรถไฟผ่านและเจ้าหน้าที่ที่โบกธงสัญญาณ ไปชนแผงกั้นทางรถไฟที่ทำด้วยลวดสลิง และถูกลวดสลิงเกี่ยวที่คอหวิดขาด เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ขณะที่ก่อนหน้านี้ก็มีลักษณะเดียวกัน มีอุบัติเหตุมีผู้เสียชีวิตอีก 2 ราย

รายที่ 1 วันที่ 26 มกราคม 2561 เวลา 07.50 น. หญิงอายุ 20 ปี ขับ จยย.ชนลวดสลิงกั้นทางรถไฟ ขณะเดินทางไปเรียนหนังสือในตัวเมืองอุดรธานี มุ่งหน้าไปทาง ถ.มิตรภาพ , รายที่สองวันที่ 20 มกราคม 2562 เวลา 00.54 น. ชายอายุ 45 ปี ขับ จยย.ชนลวดสลิงกั้นทางรถไฟขณะเดินทางกลับบ้าน โดยทั้ง 3 รายที่เสียชีวิตล่าสุด สภาพศพเสียชีวิตจาก “ลวดสลิง” อุปกรณ์ปิดกั้น เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ “คอ” ผู้เสียชีวิตถูกเกี่ยว เกิดบาดแผลฉกรรจ์ จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตทั้ง 3 ราย

ตัวแทนของ รฟท. ชี้แจงว่า ถนนบ้านดงไร่-บ้านผือ มีการขยายถนนเป็น 4 ช่องทาง แต่ทางพาดรถไฟยังไม่มีการขยาย เพื่อรอกับแผนพัฒนารถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีความจำเป็นต้องรอแผนพัฒนา ระหว่างนี้จะเข้ามาดำเนินการ เปลี่ยนหลอดไฟส่องสว่างเครื่องกั้นทางรถไฟ (ภายในพรุ่งนี้) , เปลี่ยนป้ายแถบสีสะท้อนแสงใหม่(ภายในพรุ่งนี้) , ไม่สามารถเพิ่มเสียงสัญญาณเตือนได้ เพราะอยู่ในมาตรฐานที่กำหนดคือ 60 เดซิเบล

ผู้สื่อข่าวแจ้งว่า คณะทำงานได้มีข้อเสนอให้ สารวัตรแขวงรถไฟอุดรธานี ขยับแผงสลิงกั้นทางพาดรถไฟ จากระดับที่อยู่บริเวณคอพอดี ลงมาอยู่ที่ระดับตัวรถ จยย. จึงมีการประสานทางโทรศัพท์ไปยังฝ่ายรับผิดชอบ ได้รับการตอบปฏิเสธไม่สามารถดำเนินการได้ และเป็นมาตรฐานของแผงกั้นรถไฟลักษณะนี้ ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ และที่ จ.อุดรธานีก็มีอยู่หลายแห่ง….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments