วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมชาวบ้านจ่อทวงคืนที่ดินบ่อขยะนครอุดร

ชาวบ้านจ่อทวงคืนที่ดินบ่อขยะนครอุดร

ส.อบต.ดอนภู่ ต.หนองนาคำ นำชาวบ้านโวย “ศูนย์จัดการขยะนครอุดร” ไม่ทำตามข้อตกลง เกิดปัญหาขยะ-น้ำเสีย-กลิ่น หลุดออกนอกศูนย์ฯ ลั่นแก้ปัญหาไม่ได้ขอพื้นที่คืน ขณะนครอุดรพร้อมจัดการ ติดอยู่ระหว่างขอใช้พื้นที่ต่อ ส่งงบพัฒนาพื้นที่ไม่ได้ ทำได้เพียงส่งซ่อมแซม รองผู้ว่าฯสั่งนครอุดร-อบต.หน่วยเกี่ยวข้อง แก้ปัญหาด่วน พร้อมเร่งสานต่อขอใช้พื้นที่

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ที่ห้องประชุมคำชะโนด ชั้น 2 อาคาร 2 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นางคณิตา ราษฎร์นุ้ย รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน “บ่อขยะเทศบาลนครอุดรธานี” ต.หนองนาคำ อ.เมือง อุดรธานี มีนายครรชิต ชิงจันทร์ รักษาการ ผอ.ศูนย์ดำรงธรรม จ.อุดรธานี นายยรรยง ตรีวัชรานนท์ หน.ฝ่ายจัดการคุณภาพน้ำ ทน.อุดรธานี รายงานและชี้แจงตอบคำถาม

โดยมีนายสิทธิศักดิ์ สุวรรณกูล นายก อบต.หนองนาคำ , นายพันธุ์ศักดิ์ ริมโพธิสาร ปลัด อบต.หนองนาคำ เจ้าของพื้นที่ ขณะฝ่ายร้องเรียนมีนายศรนรินทร์ วงศ์อนุ สมาชิกสภา อบต.หนองนาคำ อ.เมือง อุดรธานี พร้อมว่าที่ รต.จาตุรงค์ กาญจนคช รองกรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 4 และชาวบ้านเดือดร้อนที่ร้องเรียน เข้าร่วมให้ข้อมูลปัญหาอุปสรรค และความเดือดร้อน

นายศรนรินทร์ วงศ์อนุ สมาชิกสภา อบต.หนองนาคำ และผู้เดือดร้อน กล่าวว่า ทน.อุดรธานี ได้ขอเข้าใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ “โคกหนองหาด” 296 ไร่ เคยมีข้อตกลงกับชาวบ้านไว้ อาทิ การทำคันดินป้องกันน้ำเสีย , การสร้างรั้วรอบพื้นที่ , การสร้างถนนรอบพื้นที่ และการซ่อมสร้างถนนให้รถขนขยะเข้าบ่อขยะ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้

“ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจาก กลิ่นเหม็น-น้ำเสีย-ขยะ จากบ่อขยะมาถึงบ้านเรือน , น้ำเสียจากรถขนขยะที่ผ่านทำให้เหม็น-ถนนลื่น , รถดูดส้วมไปทิ้งสิ่งปฏิกูลในศูนย์ฯ (ไม่มีระบบบำบัด) , ถนนเข้าสู่บ่อขยะ ถนนข้างบ่อขยะเข้าโรงงานแยกขยะ และถนนเชื่อม ต.สร้ามพร้าว และ ต.หนองนำคำ ชำรุดเสียหายมากมานานแล้ว อีกทั้งมีจำนวนรถขนขยะมากขึ้น เคยรับปากจะแก้ไขก็ไม่ได้ทำ หากแก้ไขปัญหาไม่ได้ ชาวบ้านๆไม่ต้องการให้บ่อขยะอยู่ต่อ ”

นายยรรยง ตรีวัชรานนท์ หน.ฝ่ายจัดการคุณภาพน้ำ ทน.อุดรธานี ชี้แจงว่า ทน.อุดรธานี รับหน้าที่ดูแลบริหาร “ศูนย์จัดการขยะที่ 1” ปัจจุบันมี อปท.50 แห่งนำ ขยะมาให้กำจัดรวม 500 ตัน/วัน และยังมี อปท.ที่ศูนย์ฯอื่นยังไม่พร้อม ขอนำขยะมาให้กำจัดชั่วคราว โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตตั้งแต่ ปี 2537-2557 จากนั้นได้ขอใช้อีก 5 ปี ซึ่งการขอใช้พื้นที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ทำให้ศูนย์ฯขยะ ทน.อุดรธานี อยู่ในสภาพไม่ได้รับอนุญาต

“ ทน.อุดรธานี ไม่ได้นิ่งนอนใจแก้ไขปัญหา ได้ตั้งงบประมาณโครงการต่างๆไว้ทุกปี แต่ไม่สามารถเข้าดำเนินการได้ เพราะ ทน.อุดรธานี ยังรอการอนุญาตใช้พื้นที่ แต่ก็ได้เข้าแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่อเนื่อง มีเพียงช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา เครื่องจักรเข้าทำงานไม่ได้ แต่เมื่อฝนหยุดตกได้ส่งเครื่องจักรเข้าทำให้แล้ว เริ่มจากคัดดินป้องกันน้ำเสีย , ถนนข้าง ศูนย์ขยะ ทน.อุดรธานี ส่วนถนนจาก บ.ดอนภู่-ศูนย์ขยะ จะเข้าซ่อมแซมเร็วๆนี้ ”

นายยรรยง ตรีวัชรานนท์ กล่าวด้วยว่า ศูนย์ฯขยะ ทน.อุดรธานี เดิมเป็นแบบฝังกลบ ต่อมาร่วมลงทุนกับเอกชน แยกขยะไปทำแท่งพลังงาน (RDF) เพื่อขายให้โรงไฟฟ้าที่อื่น ระหว่างการรอการอนุญาตตั้งโรงไฟฟ้า และขณะนี้ได้ทำการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าระบบไพโดไรซีส หรือการเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเตา ตามแผนจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สิ้นปีนี้ หรือต้นปีหน้า แต่ก็ยังติดที่ใบอนุญาต

นายสิทธิศักดิ์ สุวรรณกูล นายก อบต.หนองนาคำ กล่าวว่า ปัญหาการอนุญาตใช้พื้นที่ยังไม่เรียบร้อย แต่ศูนย์ฯขยะ ทน.อุดรธานี ก็ยังคงดำเนินการอยู่ อบต.หนองนาคำ ก็ยังคงต้องรอกรมที่ดิน เมื่อมีปัญหาความเดือดร้อน อบต.ก็ต้องไปแก้ไขปัญหา ที่ผ่านมาไม่รู้ว่าอะไรผิดระเยียบไปบ้าง อยากจะขอคำแนะนำว่า อบต.หนองนาคำ จะปฏิบัติอย่างไร

นางคณิตา ราษฎร์นุ้ย รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ศูนย์ขยะฯเป็นนโยบายส่วนกลาง แต่เมื่อ อปท.เข้าไปดำเนินการแล้ว ประชาชนโดยรอบต้องไม่เดือดร้อน และน่าจะได้สิทธิพิเศษจากโครงการฯ ปัญหาที่เกิดขึ้นจะแก้ไข 2 ส่วนๆแรก ปัญหาความเดือดร้อน ทน.อุดรธานี จะต้องเร่งรัดแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ถนน-น้ำเสีย-กลิ่น ส่วนที่สอง เร่งรัดการขออนุญาตใช้พื้นที่ เพื่อนำงบประมาณเข้ามาแก้ไขระยะยาว แปลกใจล่าช้ามากเกินไป ขอให้ทุกหน่วยสรุปข้อมูลขออนุญาตมาด่วน ….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments