วันจันทร์, ธันวาคม 2, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมลุ่มน้ำห้วยหลวงวิกฤตเร่งแก้“คอขวด”

ลุ่มน้ำห้วยหลวงวิกฤตเร่งแก้“คอขวด”

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนกลาง มีฝนตกลงมาทุกพื้นที่ไม่เกิน 10 มม. แต่ยังมีน้ำค้างจากฝนวานก่อน ไหลลงสู่อ่างฯห้วยหลวง ต้นทางของลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนกลาง 9.8 ล้าน ลบม. ทำให้มีน้ำในอ่างฯ 134 ล้าน ลบม. จากความจุสูงสุด 135.5 ล้าน ลบม. หรือ 99.17 % ของความจุ ทำให้อ่างฯเปิดประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้นจาก 6 ล้าน ลบม./วัน เป็น 7.1 ล้าน ลบม./วัน (เปิดประตู 3 บานสูง 60 ซม.) จากแผนเดิมจะเปิด 8 ล้าน ลบม./วัน หลังจากประเมินต้นน้ำไม่มีฝนตกเพิ่ม ซึ่งยังเปิดระบายน้อยกว่า 17 ก.ย.2566 ที่เปิดระบายสูงถึง 17 ล้าน ลบม./วัน ทำให้น้ำท่วมลุ่มน้ำกว่า 1 สัปดาห์

น้ำที่ไหลออกจากอ่างฯห้วยหลวง ได้ไหลไปรวมกับลำห้วยเชียง , ลำห้วยลี , ลำห้วยทราย และลำห้วยสาขา จากน้า ฝนตกหนักใน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี วัดปริมาณน้ำได้สูงถึง 175 มม. เมื่อคืนวันที่ 23 ก.ย.2567 แล้วไหลผ่านประตูระบายน้ำบ้านหัวขัว ต.เมืองเพีย อ.กุดจับ ที่ยกบานประตูทั้ง 3 บานขึ้นสูงสุด 8 เมตร มีน้ำระบายผ่านไป 15.57 ล้าน ลบม. โดยมีชาวบ้านนำเอาอุปกรณ์หาปลา อาทิ สวิง , แห , ตาข่าย, ยอ และยอยักษ์ มาจับปลาบริเวณท้ายประตูน้ำ ได้ปลากันจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็น “ปลาขาว” บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนาม

ขณะที่น้ำไหลผ่านประตูน้ำบ้านหัวขัว ได้ไหลล้นตลิ่งลำห้วยหลวง และลำห้วยสาขา เข้าท่วมพื้นที่เลือกสวนไร่นา ตลอดสองข้างลำห้วยหลวง บางจุดไหลท่วมทับคลองส่งน้ำ ตั้งแต่ ต.เมืองเพีย ต.เชียงเพ็ง อ.กุดจับ โดยเฉพาะที่บ้านหนองบึงมอ ต.เชียงเพ็ง น้ำไหลตลิ่งลำห้วยหลวง และลำห้วยสาขา มีน้ำท่วมสูงและกระแสน้ำแรง ท่วมบ้านเรือนประชาชน และถนนสายเชียงยืน-เชียงเพ็ง เป็นช่วงๆรถเล็กผ่านไม่ได้ ระดับน้ำเท่ากับน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ต้องนำรถและเรือมาอำนวยความสะดวก ขนทั้งคนและรถ จยย. เพื่อเข้าออกมาทำงานในตัวเมือง

ลำน้ำห้วยหลวงได้ไหลผ่าน ต.เชียงยืน ต.นากว้าง ต.หมูม่น อ.เมือง มาสมทบกับน้ำที่ระบายจากอ่างฯหนองสำโรง ความจุ 11.5 ล้าน ลบม. แก้มลิงที่รับน้ำจากคลองป้องกันน้ำท่วมฝั่งตะวันตก จนน้ำเต็มความจุต้องระบายออก 0.63 ล้าน ลบม./วัน ไหลลอดทางรถไฟอุดรธานี-หนองคาย และไหลลอดสะพานบ้านท่าตูม ถ.มิตรภาพ ต.หมูม่น อ.เมือง อุดรธานี ซึ่งมีสภาพลำห้วยแคบเป็นคอขวด ระดับน้ำขึ้นติดถึงใต้ท้องสะพาน ซึ่งสะพานนี้ติดตั้งมาตรวัดอัตโนมัต ได้เปลี่ยนจาก “ธงเหลือง” เป็น “ธงแดง” เตือนภัยว่าน้ำล้นตลิ่ง โดยไหลเข้าท่วมพื้นที่ ต.นาข่า , ต.กุดสระ และ ต.สามพร้าว อ.เมือง อุดรธานี

สำหรับประตูน้ำบ้านสามพร้าว ต.สามพร้าว อ.เมือง ที่ถือเป็นจุดสิ้นสุดของ “ลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนกลาง” ได้เปิดประตูน้ำสูงสุดทั้ง 4 บาน ระดับน้ำหน้าประตูและหลังประตูสูงเท่ากันคือ 169.23 รทก. สภาพน้ำท้ายประตูหนุนสูง ทำให้น้ำระบายช้ากว่าปกติ สามารถระบายน้ำผ่านไปได้เพียง 9.8 ล้าน ลบม./วัน เท่านั้น ทั้งที่มีการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 8 เครื่อง บริเวณสะพานหลังประตูระบายน้ำ โดยประตูน้ำบ้านสามพร้าว เป็นจุดการระบายน้ำเดียว ของการระบายน้ำลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนกลาง ทำให้น้ำยังคงตกค้างสะสมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

ขณะการปกป้องย่านเศรษฐกิจอุดรธานี มีปัญหาที่อ่างกุดลิงง้อ ด้านตะวันตกของเมือง ความจุ 6.4 ล้าน ลบม. น้ำเต็มความจุมากว่า 1 สัปดาห์ วันนี้ล้นปริงเวย์ออกมา 0.62 ล้าน ลบม. ทางระบายน้ำขนานถนนไปลง “คลองป้องกันน้ำท่วมฝั่งตะวันตก” ไม่ทัน น้ำไหลล้นถนนวงแหวนเข้า ทน.อุดรธานี , น้ำจากลำห้วยขุ่นมีปริมาณมาก ไหลมาถึงถนนมิตรภาพ ช่วง ทต.บ้านจั่น ก่อนเข้าเมืองอุดรธานี เกิดสภาพคอขวดช่วงไหลขนานถนนมิตรภาพ ไม่สามารถไหลลงคลองป้องกันน้ำท่วมฝั่งตะวันออกได้สะดวก จึงไหลท่วมถนนมิตรภาพระยะทางราว 500 เมตร น้ำส่วนนี้จะไปไหลรวมกับน้ำระบายออกมาจาก อ่างฯบ้านจั่น วันนี้ระบาย 1.42 ล้าน ลบม. ซึ่งจะไปรวมกับลำห้วยหลวงที่ประตูน้ำบ้านสามพร้าว

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า วันนี้มีการประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำห้วยหลวง ประกอบไปด้วย จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนกลาง ที่พบว่ามีปัญหาคือขวดที่สะพานบ้านท่าตูม น้ำไหลผ่านไปได้เพียง 50 % ทำให้น้ำตกค้างอยู่จำนวนมาก ต้องหาช่องทางระบายน้ำเพิ่มเติม และลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง สามารถระบายน้ำลงน้ำโขง ที่ปากน้ำ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ล่าสุดวันนี้น้ำโขงต่ำกว่านำห้วยหลวง 4 ซม. ระบายน้ำได้เพียง 14.7 ล้าน ลบม.เท่านั้น จึงมีน้ำสะสมล้นลำห้วยหลวง เข้าท่วมพื้นที่ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย , อ.สร้างคอม อ.เพ็ญ อ.บ้านดุง อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดรธานี โดยมีแผนจะใช้เครื่องผลักดันน้ำลงน้ำโขงเพิ่มเติม เกรงว่าน้ำจะท่วมเป็นเวลานาน….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments