วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมไม่เกิน 4 ปี สิงคโปร์ย้ายฝึกบินไปน้ำพอง

ไม่เกิน 4 ปี สิงคโปร์ย้ายฝึกบินไปน้ำพอง

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 25 มีนาคม 2565 บริเวณโดมสนามเอนกประสงค์ ข้างโรงยิมเนเซียม มหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี นายศราวุธ เพชรพนมพร ส.ส.อุดรธานี ในฐานะประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานเปิดการสัมมนา “บทบาทและหน้าที่ กมธ.การต่างประเทศ ในการดูแลช่วยเหลือประชาชน” มีนายเกียรติ สิทธิอมร รองประธาน กมธ.การต่างประเทศ นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม โฆษก กมธ.การต่างประเทศ

ขณะเดียวกันนาวาอากาศเอกวิศรุต จันทประดิษฐ์ ผู้บังคับการกองบิน 23 และนายสายันต์ หมีแก้ว ผอ.ส่วนควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สนง.สิ่งแวดล้อม ภาค 9 อุดรธานี ได้ร่วมกับเวทีสัมมนาเพื่อชี้แจงทำความใจ และรับฟังปัญหาความเดือดร้อน จากเสี่ยงเครื่องบิน F16 ของกองทัพอากาศประเทศสิงคโปร์ มาทำการฝึกบินที่สนามบิน กองบิน 23 อุดรธานี โดยมีตัวแทนประชาชนในพื้นที่โดยรอบ และใกล้เคียงกว่า 400 คน ร่วมสะท้อนปัญหาและข้อเรียกร้อง

นาวาอากาศเอกวิศรุต จันทประดิษฐ์ ผู้บังคับการกองบิน 23 ชี้แจงว่า การฝึกบินของ 2 ประเทศ เป็นสัญญาความร่วมมือ กองบิน 23 และกองทัพอากาศ ไม่ได้นิ่งนอนใจแก้ไขปัญหา วิธีการและเทคนิคต่างๆ ได้นำมาปรับใช้ รวมไปถึงมีแผนการย้าย ไปฝึกที่สนามบิน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในอีก 3-4 ปีข้ามหน้า ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง-ปรับปรุง ซึ่งตามแผนปกติจะมีเครื่องบินฝึก 4 ลำ แต่ในเดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา เป็นกรณีฝึกร่วมมีเครื่องบินมาฝึก 12 ลำ ทำให้เสียงมีปัญหามากกว่าปกติ

นายสายันต์ หมีแก้ว ผอ.ส่วนควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สนง.สิ่งแวดล้อม ภาค 9 อุดรธานี ชี้แจงว่า ผลการตรวจวัดระดับเสียงหัว-ท้ายสนามบิน 4 จุด ระดับเสี่ยงเฉลี่ยกลางวัน-กลางคืน อยู่ในระดับไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ 3 แห่ง คือ บริเวณโรงเรียนอนุบาลค่ายประจัก์ศิลปาคมท ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง , โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์วิทยา ตรงข้ามท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี และวัดป่าบ้านถ่อน ถ.อุดรธานี-กุดจับ ม.4 ต.บ้านเลื่อม อ.เมือง ดีใจที่กองทัพอากาศจะย้ายการฝึก แต่ระหว่างรอการย้าย สนง.สิ่งแวดล้อม ภาค 9 จะมาร่วมแก้ไขปัญหาด้วย

ขณะที่ภาคประชาชนได้สะท้อนปัญหา และเรียกร้องแก้ไข 5 เรื่อง คือ 1.เคยสอบถามชาวบ้านก่อนมาฝึกบินหรือไม่ , 2.เสียงที่เกินมาตรฐาน ส่งผลต่อสุขภาพ ต้องมีบริการตรวจสุขภาพ ไม่ใช้ให้ประชาชนแบกรับความรับผิดชอบเอง , 3. ทำไมให้กองทัพอากาศสิงคโปร์ เลือกสถานที่ในการฝึก แทนที่ประเทศไทยเป็นเจ้าของบ้าน ต้องเป็นผู้เลือกให้เอง , 4.การย้ายจะมีขึ้นอีกใน 3-4 ปี ระหว่างนี้จะมีการสื่อสาร เพื่อลดผลกระทบอย่างไรบ้าน และ 5.ที่บอกว่าการฝึกบินของสิงคโปร์มีผลด้านเศรษฐกิจ อยากรู้ว่ารายจ่ายของนักบินและบุคลากรอื่นต่อหัวต่อคนเท่าไหร่

นาวาอากาศเอกวิศรุต จันทประดิษฐ์ ผู้บังคับการกองบิน 23 เปิดเผยว่า เรื่องเสียงของการฝึกบิน F16 สิงคโปร์ กองทัพอากาศก็ไม่ได้อยู่เฉย ได้พูดคุยหาแนวทาง เพื่อที่จะลดผลกระทบไม่ว่าจากการฝึกบินของกองทัพอากาศสิงคโปร์ และของกองทัพอากาศไทย ที่ใช้สนามบิน บน.23 อยู่เป็นประจำ โดยกองบิน 23 มีแผนจะย้ายไปใช้สนามบินน้ำพอง จ.ขอนแก่น ในการฝึกร่วมของทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสิงคโปร์

“ เราพยายามที่จะทำให้ได้ตามแผน ให้พี่น้องชาวอุดรธานีได้หายความกังวล ในเรื่องเสียงที่รำคาญใจมาตลอด ทางกองทัพอากาศไทยจึงได้รีบแก้ปัญหาในจุดนี้ให้ได้ โดยแผนที่วางไว้จะอยู่ในช่วงปี 2568-69 ที่ทางเราจะดำเนินการสร้างสนามบินที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งทางกองทัพอากาศไทยกับกองทัพอากาศสิงคโปร์ ก็ได้ร่วมกันเข้าไปในชุมชนต่าง ๆ และพบพูดคุยกับประชาชนให้ความช่วยเหลือ โดยเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีเครื่องบิน 12 ลำ แต่ในเดือนเมษายนนี้จะมีมา 4 ลำ ช่วงต่อไปก็ต้องอยู่ที่การหารือกันอีกครั้ง

นายศราวุธ เพชรพนมพร ส.ส.อุดรธานี และประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า วันนี้ลงพื้นที่อุดรธานีเป็นรอบสอง แต่กรรมการธิการฯนั้นได้ประชุมกันหลายรอบแล้ว ซึ่งมีความเป็นห่วงความคืบหน้าเรื่องนี้ หลังจากได้ดำเนินการไปแล้ว ทางกองทัพอากาศรับปากว่า จะย้ายฐานฝึกซ้อมบินไปยัง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ทางเราก็ต้องติดตามความคืบหน้า ว่าจะย้ายจริงหรือไม่ แล้วทาง อ.น้ำพอง การก่อสร้างคืบหน้าไปถึงไหน หลังจากรับปากหรือว่ารับปากไปเพื่อความสบายใจพ้นปัญหาไป

“ วันนี้ผู้บังคับการกองบิน 23 ได้เดินทางมารับปากด้วยตนเอง ว่าภายในปี 2568 จะย้ายไปฝึกบินที่ อ.น้ำพอง แน่นอน การเตรียมความในสนามบินน้ำพองก็คืบหน้าไปมาก ทั้งรันเวย์ -อาคาร ก็ยืนยันจะทำให้ทันตามที่ตกลงไว้ โดยการฝึกบินร่วมเป็นตามข้อตกลงตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันและก็มีการต่อสัญญา มีข้อตกลงใหม่ร่วมกันประมาณ 6-7 ปี การฝึกบินยังไงก็จะต้องเกิดขึ้น ความห่วงใยก็อยู่ในช่วงที่เหลือของการฝึกบินอยู่ 2-3 ปี โดยทางเราจะต้องทำอย่างไรในช่วงที่เหลือนี้ ”

นายศราวุธ เพชรพนมพร ส.ส.อุดรธานี ตอบข้อซักถามว่า กองทัพอากาศสิงคโปร์มีการดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แต่บางทีอาจจะไม่ได้ตรงเป้าหมาย และตามวัตถุประสงค์ หรือคนที่เดือดร้อนจริงแล้วเข้าไปไม่ถึง โดยวันนี้ก็มีประชาชนที่เสนอให้กองทัพอากาศสิงคโปร์เข้ามาดูแลผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางสุขภาพเรื่องหูของเด็กที่หูตึง ทางกองทัพอากาศสิงคโปร์ก็จะต้องเข้ามาดูแลเรื่องเหล่าด้วย เพราะถ้าเดือดร้อนอะไรก็จะต้องเข้ามาดูแลทั้งหมด….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments