วันจันทร์, มีนาคม 24, 2025
Google search engine
หน้าแรกสังคมอนุรักษ์ตะพาบน้ำทรงเลี้ยง“กรมหลวงประจักษ์”ย้ายตามวังตรอกสาเก

อนุรักษ์ตะพาบน้ำทรงเลี้ยง“กรมหลวงประจักษ์”ย้ายตามวังตรอกสาเก

นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา มูลนิธิกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้รายงานต่อนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ที่เดินทางมาเป็นประธาน พิธีวันคล้ายวันก่อตั้งเมืองอุดรธานี ถึงความคืบหน้าอาคาร “วังตรอกสาเก” หลังโรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ประทับสุดท้ายของ พลตรีพระเจ้าบรมวงเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ก่อนจะสิ้นพระชนม์ ซึ่งกรมธนารักษ์ได้ประกาศเปิดประมูล อาคารไม้ตลอดจนวัตถุอุปกรณ์ ของวังตรอกสาเกออกไป

มูลนิธิกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้รับการประสานจากกลุ่มธุรกิจศรีไทยใหม่อุดรธานี และร่วมกับวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ได้ขอใช้สิทธิ์เข้าไปเป็นเจ้าของไม้ ที่ถูกรื้อออกจากวังตรอกสาเก เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา ต่อพระผู้สร้างเมืองอุดรธานี ซึ่งไม้ที่ถูกรื้อย้ายออกมาจากวังตรอกสาเก ได้ถูกขนย้ายนำมาเก็บนรักษาไว้ที่ จ.อุดรธานี เพื่อนำกลับมาอนุรักษ์ แล้วก่อสร้างในรูปแบบเดิม ในรูปแบบของ “วังตรอกสาเกจำลอง” ไว้ที่ จ.อุดรธานี

ซึ่งความคืบหน้าได้มีการประชุม ของคณะทำงานที่จะอนุรักษ์อาคารของวังตรอกสาเก ของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เอาไว้นั้น คณะทำงานได้กำหนดแนวทางการหาพื้นที่ จะก่อสร้างวังตรอกสาเกจำลองขึ้นมาใหม่ และมีกำหนดที่จะเข้าหารือกับท่านผู้ว่าราชการ จ.ฮุดรธานี ในวันที่ 3 มีนาคมนี้ ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ศาลากลาง จ.อุดรธานี เพื่อให้จังหวัดผู้นำดำเนินโครงการ โดยขณะนี้ยังไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่า จะใช้พื้นที่ไหนในการก่อสร้างวังตรอกสาเกจำลอง ก็น่าจะเห็นความชัดเจนหลังจากการประชุมหารือ กับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดฯ

อย่างไรก็ตามจากสัญญาที่ระบุไว้ ระหว่างผู้รับสิทธิรื้อย้าย และกรมธนารักษ์ กำหนดให้ต้องรื้อย้ายทรัพย์สินทั้งหมด ออกจากวังตรอกสาเกภายในวันที่ 10 มีนาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งจากการสำรวจของคณะทำงานฯพบว่า นอกจากอาคารสถานที่ของวังตรอกสาเกแล้ว ยังมีสระน้ำที่อยู่ด้านข้างและด้านหลังของวังตรอกสาเก ปรากฏมีตะพาบน้ำจำนวนมากถูกเลี้ยงไว้ จากการสืบค้นหาเบาะแส และสอบถามข้อมูลพบว่า ตะพาบน้ำดังกล่าวซึ่งคาดว่าน่าจะมีประมาณ 30-50 ตัว อีกทั้งมีขนาดใหญ่ เป็นสายพันธุ์ไทยแท้ ถูกเลี้ยงมาตั้งแต่กรมหลวงประจักษ์ฯ ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ คณะทำงานฯจึงเห็นควรที่จะอนุรักษ์ และนำตะพาบน้ำดังกล่าว กลับมาอยู่ในพื้นที่ของวังตรอกสาเกจำลองที่ จ.อุดรธานี

ทั้งนี้คณะทำงานของมูลนิธิกรมหลวงจักรศิลปาคม และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมหารือมีการนัดหมาย ไปยังกรมประมง , สนง.ประมง จ.อุดรธานี และศูนย์วิจัยประมงน้ำจืด จ.อุดรธานี ให้ความอนุเคราะห์ขนย้ายตะพาบน้ำ จากวังตรอกสาเก กรุงเทพมหานคร มาที่ จ. อุดรธานี มีแผนนำไปอนุบาลชั่วคราวที่ ศูนย์วิจัยประมงน้ำจืด จ.อุดรธานี (อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง) ซึ่งเป็นบ่อคอนกรีตขนาด 50 ตารางเมตร การอนุบาลหรือการเลี้ยงไว้ชั่วคราว ตะพาบน้ำของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม จะอยู่ที่นั่นเบื้องต้นราวหกเดือน เพื่อรอการก่อสร้างอาคารวังตรอกสาเกจำลอง ขึ้นมาให้เสร็จสมบูรณ์เสียก่อน จึงจะย้ายตะพาบน้ำเหล่านั้นมาอยู่ในสระน้ำ วังตรอกสาเกจำลอง

ทั้งนี้เรื่องราวประวัติความเป็นมา ของวังตรอกสาเกถูกบันทึกไว้ ว่ามีอายุยาวนานตั้งแต่รัชกาลที่ 4 จนมาถึงยุคสมัยของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมมาประทับ ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานวังตรอกสาเก ให้เป็นที่ประทับของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม และพระองค์ท่านได้ประทับอยู่ จนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2468 และทายาทราชนิกุล “ทองใหญ่” ได้ใช้พำนักมาช่วงเวลาหนึ่งจนกระทั่งช่วงต้นเดือนธันวาคม 2567 กรมธนารักษ์ผู้ดูแลรักษาที่ดินของรัฐ ได้เปิดประมูลให้รื้อไม้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ออกจากบริเวณพื้นที่ดังกล่าว เพื่อนำที่ดินไปใช้ประโยชน์อื่น ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2568

นี่คือความคืบหน้าล่าสุดของการย้ายวังตรอกสาเก ที่พำนักแห่งสุดท้ายของ พลตรีพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้สร้างเมืองอุดรธานี ถึงเวลาที่พี่น้องชาวอุดรธานีทุกหมู่เหล่า มารวมพลังกันเพื่อจัดสร้าง “วังตรอกสาเกจำลอง” ขึ้นในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments